Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55085
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้สูงอายุ
Other Titles: SELECTED FACTORS RELATED TO POSTOPERATIVE RECOVERY IN OLDER PERSON WITH TOTAL KNEE ARTHROPLASTY
Authors: ทาริกา บุญประกอบ
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Siriphun.S@Chula.ac.th,sisasat@gmail.com
Subjects: การดูแลหลังศัลยกรรม
ข้อเข่า -- ศัลยกรรม
Postoperative care
Knee -- Surgery
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นตัวในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและศึกษาปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ได้แก่ อายุ ภาวะโภชนาการ การมีโรคร่วม ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม ในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 116 คน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบประเมินความวิตกกังวล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินการฟื้นตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค .76, .90, .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้การแจกแจงความถี่กับข้อมูล อายุ เพศ สถานะภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ภาวะโภชนาการ ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมและการฟื้นตัวหลังผ่าตัด โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ระหว่างโรคร่วมและการฟื้นตัวหลังผ่าตัด โดยใช้ Point Biserial Correlation ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ส่วนใหญ่มีการฟื้นตัวหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในระดับดี ร้อยละ 97.4 2. อายุ ความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงและการมีโรคร่วมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการฟื้นตัวในผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r=-.506, -.532, -.414 ตามลำดับ) 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมีกับการฟื้นตัวในผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05, (r=.193) 4. ภาวะโภชนาการ ไม่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวในผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
Other Abstract: The purpose of this descriptive study research to study the recovery postoperative recovery in older person and the relationships between selected factors relate to postoperative recovery in older person with total knee arthroplasty which were age, neutrition, co-morbidity, anxity, and social support in Orthopidic Department, Tertiary care Hospital in Bangkok. Data were collected from 116 older persons who were selected with muti-stage sampling. Research instruments were STAI Form X-I, Social support questionnaire and postoperative of recovery with total knee arthroplasty instrument. The reliability were .76, .90, .86 respectively. Data were analysis by statistic methods, including mean, percentage, standard deviation, Pearson Correlation and Point Biserial Correlation. Major finding were as follows; 1. The recovery in older persons with total knee arthroplasty at good level of 99.1 percent. 2. Age, anxity were negative high score and co-morbidity was negative moderate score signifcantly related to postoperative recovery in older persons with total knee arthroplasty at the level of .05 (r=-.506, -.532, -.414 respectively) 3. Social support was positive low score signifcantly related to postoperative recovery in older person with total knee arthroplasty at the level of .05 (r=.193) 4. Neutrition has not related to postoperative recovery in older person with total knee arthroplasty
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55085
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.608
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.608
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777170836.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.