Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55092
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรลักขณ์ เอื้อกิจ-
dc.contributor.authorไพริน เจี่ยเพิ่มสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:25:36Z-
dc.date.available2017-10-30T04:25:36Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55092-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ เพศ ความปวด ภาวะแทรกซ้อนในระยะวิกฤต คุณภาพการนอนหลับ ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบเปิดทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 18-59 ปี จำนวน 123 คน ในช่วง 7 วันแรกหลังผ่าตัด เก็บข้อมูลในหอผู้ป่วยวิกฤตและหอผู้ป่วยในเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยและโรงพยาบาลราชวิถี ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลพื้นฐาน ความปวด ภาวะแทรกซ้อนในระยะวิกฤต คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ความวิตกกังวล การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยวิกฤตและคุณภาพการฟื้นตัวหลังผ่าตัด ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามเท่ากับ 1.00, 0.75, 0.80, 0.90, 0.86 และ 0.90 ตามลำดับ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84, 0.70, 0.80, 0.81, 0.86 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติทีและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การฟื้นตัวโดยภาพรวมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 126.17, S.D. = 10.61) 2. เพศไม่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวหลังผ่าตัดทำทางหลอดเลือดหัวใจ โดยเพศชายและเพศหญิงมีการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยรวมไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = .944, p = .347) 3. คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ความวิตกกังวลและการสนับสนุนทางสังคมในระยะวิกฤตมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .301, r = .469 และr = .430 ตามลำดับ) 4. ความปวด ภาวะแทรกซ้อนในระยะวิกฤตมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.183 และ r = -.205)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this correlational research were to examine factors (gender, pain, critical complications, sleeping quality, anxiety, and social support) related to patient’s recovery with post coronary artery bypass graft surgery. One hundred and twenty-three patients with diagnosis of coronary artery bypass graft surgery (males and females) aged between 18 and 59 after coronary artery bypass graft surgery 7 days were recruited from Ramathibodi hospital, King Chulalongkorn Memorial Hospital and Rajavithi Hospital with a multistage sampling technique. Questionnaires were composed of demographic information, pain, complications in the critical patients, sleeping quality in admitted patients, anxiety, and social support and recovery after surgery (QOR-40). With the validation of 5 experts, the content validity indexes of all tools were 1.00, 0.75, 0.80, 0.90, 0.86 and 0.90, respectively. The reliabilities of all scales were 0.84, 0.70, 0.80, 0.81, 0.86 and 0.90, respectively. Descriptive statistics, independent samples T test, and Pearson-product-moment correlation coefficient were used to analyze the data. Result showed as the followings: 1. The overall patients’ recovery score after post coronary artery bypass graft surgery was at the moderate level (Mean = 126.17, S.D. = 10.61). 2. There was no relationship between gender and recovery after coronary artery bypass graft surgery. There were no differences for overall recovery after coronary artery bypass graft surgery in males and females (t = .944, p = .347). 3. Sleep, anxiety, and social support in the critical phase were positively related to recovery among patients after coronary artery bypass graft surgery at the level of .50 (r = .301, r = .469 and r = .430, respectively). 4. Pain and critical complications were negatively related to recovery among patients after coronary artery bypass graft surgery at the level of .05 (r = -.183 and r = -.205).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.660-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectศัลยกรรมทางเบี่ยงหลอดเลือดโคโรนารีย์-
dc.subjectการพักฟื้น-
dc.subjectการดูแลหลังศัลยกรรม-
dc.subjectCoronary artery bypass-
dc.subjectConvalescence-
dc.subjectPostoperative care-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ-
dc.title.alternativeSELECTED FACTORS ASSOCIATED WITH RECOVERY AMONG PATIENTS POST CORONARY ARTERY BYPASS GRAFT SURGERY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.660-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777183036.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.