Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55100
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.advisorระพิณ ผลสุข-
dc.contributor.authorเอื้อมเดือน นิลพฤกษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:25:54Z-
dc.date.available2017-10-30T04:25:54Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55100-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ การรับรู้อาการเจ็บหน้าอก การรับรู้ภาวะคุกคาม ความกลัว การสนับสนุนทางสังคมกับภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่เข้ารับการตรวจรักษาในคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลตำรวจและโรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้อาการเจ็บหน้าอก แบบสอบถามการรับรู้ภาวะคุกคาม แบบสอบถามความกลัว แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมและแบบประเมินภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยทรงคุณวุฒิและหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือได้ 0.99, 0.92, 0.89, 0.83 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบพอยซ์ไบซีเรียล ผลการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างมีภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงจำนวน 32 คนคิดเป็นร้อยละ 25.4 โดยมีคะแนนเฉลี่ยภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง 28.03 คะแนน (SD = 9.79) และมีคะแนนเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยโรคเครียดจากเหตุการณ์รุนแรง 11 คน (คิดเป็นร้อยละ 8.7) 2. การรับรู้อาการเจ็บหน้าอก การรับรู้ภาวะคุกคาม ความกลัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .34, .59 และ .43) ตามลำดับ 3. การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to determine relationships among perceived chest pain, perceived threated, fear, social support and post-traumatic stress in patients after myocardial Infarction. One hundred and twenty six patients were recruited using a multi stage sampling technique. The assessments included a socio-demographic questionnaire, a perceived chest pain questionnaire, the cardiac threat questionnaire, the cardiac fear questionnaires, the ENRICHED social support Instrument, and the Posttraumatic Stress Checklists Specific Version (PCL – S). All questionnaires were tested for their content validity by 5 experts. Test retest reliability was 0.99 and Cronbach’s alpha were 0.99, 0.92, 0.89, 0.83 and 0.87, respectively. Statistical analysis included mean, standard deviation and Point Biserial correlation coefficient. Major finding were as follows 1. Thirty two patients (25.4 %) reported posttraumatic stress with the mean equal to 28.03, and SD=9.79. Eleven patients (8.7%) met the criteria of presumptive diagnosis of PTSD. 2. Perceived chest pain, perceived threated and fear were significantly related to post-traumatic stress in patients with acute myocardial infarction.(r= .34, .59 and .43 p< .05) 3. Social support were not significantly related to post-traumatic stress in patients with acute myocardial infarction.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.661-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectกล้ามเนื้อหัวใจตาย -- ผู้ป่วย-
dc.subjectเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงในชีวิต-
dc.subjectMyocardial infarction -- Patients-
dc.subjectLife change events-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน-
dc.title.alternativeSELECTED FACTORS RELATED TO POSTTRAUMATIC STRESS IN PATIENTS WITH ACUTE MYOCARDIAL INFARCTION-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.661-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777212536.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.