Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55152
Title: การเสริมสร้างความเป็นไทยโดยใช้การสอนแบบละครเป็นฐานแก่นิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Other Titles: THAINESS ENHANCEMENT USING DRAMA-BASED INSTRUCTION FOR UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: ธนสิน ชุตินธรานนท์
Advisors: อัจฉรา ไชยูปถัมภ์
พรรัตน์ ดำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Atchara.C@Chula.ac.th,atchara_cu@yahoo.com,atchara_cu@yahoo.com
Pornrat.D@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1)สำรวจสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความเป็นไทยแก่นิสิตนักศึกษาปริญญาบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษา 2)วิเคราะห์เนื้อหาสาระความเป็นไทยในรายวิชาการศึกษาทั่วไป และ3)พัฒนา และทดลองโปรแกรมการสร้างเสริมความเป็นไทยโดยใช้การสอนแบบละครเป็นฐานแก่นิสิตนักศึกษา ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน สามารถจำแนกได้ 3 ระยะ กล่าวคือ ระยะแรก ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลจากคณาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย ระยะที่สอง ผู้วิจัยใช้แบบวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา และระยะสุดท้าย การทดลองใช้โปรแกรมเสริมสร้างความเป็นไทยโดยใช้การสอนแบบละครเป็นฐาน ผู้วิจัยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน แบบสะท้อนตัวตน และแบบบันทึกข้อมูลภาคสนามในการเก็บข้อมูล อีกทั้งคำนวณสถิติวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1)ทัศนคติ และคุณสมบัติของผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไทยแก่นิสิตนักศึกษา ทั้งนี้การสอนแบบกิจกรรมเป็นฐานจำเป็นสำหรับการสอนนิสิตนักศึกษาเจเนอเรชั่น แซด ในปัจจุบัน 2)เนื้อหาสาระความเป็นไทยที่ปรากฏในรายวิชาการศึกษาทั่วไปพบเพียงร้อยละ 22 จาก 348 รายวิชา โดยเนื้อหาสาระที่ได้รับการนำมาสอนมาที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หมวดสังคมการเมืองการปกครอง หมวดภูมิปัญญา และหมวดศิลปะ ทว่าศักยภาพพื้นฐานของนิสิตนักศึกษาปัจจุบันกลับมีลักษณะย้อนแย้ง 3) เมื่อสิ้นสุดการทดลองนำโปรแกรมเสริมสร้างความเป็นไทยโดยใช้การสอนแบบละครเป็นฐานทั้ง 8 กิจกรรมไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยระหว่างแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนสูงขึ้นจาก 10.19 เป็น 18.54 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งยังมีระดับความภาคภูมิใจในความเป็นไทยสูงขึ้นจากระดับปานกลาง เป็นระดับมากที่สุด ผลการประเมินโปรแกรมฯโดยภาพรวมพบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The objectives of this study were 1) to survey the conditions and problems of Thainess enhancement instruction for undergraduate students, 2) to analyze Thainess contents which are contained in general education courses, and 3) to develop and try out the Thainess enhancement using drama-based instruction program for undergraduate students. This is a mixed methods research. The interview data, general education course descriptions and field observer data were analyzed using content analysis. The results of students' development were evaluated using pre-test/post-test examination and self reflection notes. SPSS version 22.0 for Windows was applied to calculate percentage, mean, standard deviation and a paired t-test. The findings of this study revealed the followings: 1) Instructors' attitude and qualifications were significant factors to transmit knowledge of Thai cultures to students. Activity-based instruction is needed for generation Z. 2) Thainess contents were found only 22% of overall 348 general education courses. The most popular contents are Thai politics and government, Thai wisdom, and Thai arts, contrasted with the students' basic capability nowadays. 3) At the end of an experimental program, students' post-test scores rised up dramatically form 10.19 to 18.54 at the .05 level of significance. The students' pride also increased sharply from average level to high-level. The overall score of this program was ranked at the most satisfaction level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55152
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1288
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1288
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784233827.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.