Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55181
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorณรัฐวรรณ ถิระวราวิสิฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:29:22Z-
dc.date.available2017-10-30T04:29:22Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55181-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ตามแนวคิดสัมมาทิฏฐิ” เป็นการผสานองค์ความรู้ทางด้านปรัชญาทางพุทธศาสนาในเรื่องสัมมาทิฏฐิ ศิลปกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหารูปแบบผลงานการแสดง และแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ตามแนวคิดสัมมาทิฏฐิ” งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สื่อสารสนเทศ การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการทดลองปฏิบัติการทางนาฏยศิลป์ จากนั้นจึงทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ แล้วสรุปเป็นผลการวิจัย จากผลการวิจัย พบรูปแบบที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบของการแสดงทางนาฏยศิลป์ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดเรื่องสัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ 2) ดนตรีประกอบการแสดง ใช้การแสดงดนตรีสดบรรเลงเพลงคลาสสิก โดยใช้เครื่องดนตรีเชลโล่และเปียโนไฟฟ้า เพื่อสะท้อนความรู้สึกของการแสดงในแต่ละองก์ 3) ลีลาทางนาฏยศิลป์ ใช้รูปแบบการเต้นบัลเลต์และนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) นักแสดง ใช้นักแสดงที่มีความสามารถทางบัลเลต์และนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 5) เครื่องแต่งกาย ใช้รูปแบบของการแต่งกายในชีวิตประจำวัน เน้นความเรียบง่าย 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้ตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า “สัมมาทิฏฐิ” เป็นฉากประกอบการแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ 7) พื้นที่แสดง ใช้การปรับสถานที่โดยการเคลื่อนย้ายตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า “สัมมาทิฏฐิ” ให้เข้ากับการแสดงในแต่ละองก์ 8) แสง เลือกใช้แสงในสีโทนร้อนและโทนเย็น เพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึกและบรรยากาศในการแสดง ส่วนแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงานการแสดง ได้แก่ 1) แนวคิดปรัชญาทางพุทธศาสนาเรื่องสัมมาทิฏฐิ 2) สัญลักษณ์และการสื่อสารในการแสดงนาฏยศิลป์ 3) ความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) ความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) ทฤษฎีนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ 6) การสะท้อนภาพทางสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ และ 7) การแสดงที่สร้างสรรค์เพื่อเยาวชน จากผลการวิจัยทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้วิจัยพบว่าได้ตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ-
dc.description.abstractalternativeThis thesis entitled “The Creation of a Dance Based on the Concept of Samma Ditthi” is an endeavor to combine knowledge in the Buddhist philosophy of Samma Dhitti (Right view) with those in the fine art and social science disciplines together with the objectives of identifying a performance format and the conceptions obtained from the production of “The Creation of a Dance Based on the Concept of Samma Ditthi”. The research employed creative and qualitative research methods. The research tools consist of documentary research on relevant materials and communicative information, interview of authorities on the subject and production of an experimental dance. Data collected through these research methods were compiled, analyzed and synthesized into the research results. The research results found the creative performance format of this dance to consist of eight components of dance performance: 1) Script - inspired by the Buddhist concept of Samma Ditthi which refers to the right views; 2) Music - the dance was performed to a live classical music performance of cello and electrical piano to convey the dance sentiments in each act; 3) Choreography - ballet and post-modern dance; 5) Costumes - daily life clothing with a special emphasis on simplicity; 6) Props - the crafted words “Samma Ditthi” which is placed on stage against the background throughout the performance; 7) Performing area - was altered to match the setting of each act by moving the crafted words “Samma Ditthi” around the stage; and 8) Lighting - both warm and cool tones were used to convey the different sentiments and atmosphere of the performance. The conceptions obtained from the production of this creative performance are: 1) Buddhist philosophy of Samma Ditthi; 2) Dance symbols and communication; 3) Post-modern concept of simplicity; 4) Creative ideas for a dance performance; 5) Theories of dance, music and visual art; 6) Reflection of social conditions through dance; and 7) Creative performance for youth. The research results confirm that all research objectives have been fulfilled.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1111-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectนาฏยประดิษฐ์-
dc.subjectสัมมาทิฏฐิ-
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต-
dc.subjectChoreography-
dc.titleการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ตามแนวคิดสัมมาทิฏฐิ-
dc.title.alternativeTHE CREATION OF A DANCE BASED ON THE CONCEPT OF SAMMA DITTHI-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorNaraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1111-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786808035.pdf22.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.