Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55331
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสมฉาย บุญญานันต์-
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ-
dc.contributor.authorประไพลิน จันทน์หอม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:35:32Z-
dc.date.available2017-10-30T04:35:32Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55331-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษามีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ผ่านรายวิชาเกี่ยวกับวิธีสอนมาแล้วจำนวน 30 คน โดยทำการจับคู่คะแนนผลการเรียนแล้วแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม ใช้รูปแบบวิจัยแบบสลับ-วัดซ้ำ ได้ผลการวิจัยมีดังนี้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1.1) หลักการของรูปแบบฯประกอบด้วยการใช้กรณีศึกษาที่หลากหลาย,การสอนทักษะการคิดและการกระตุ้นการรู้คิด1.2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบฯ 1.3) ขั้นตอนของรูปแบบฯ และ 1.4) การประเมินความสามารถในการถ่ายโยงองค์วามรู้ทางศิลปะก่อนและหลังใช้รูปแบบฯ ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2.1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถถ่ายโยงองค์ความรู้ให้เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ผลการพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ทำให้นักศึกษากลุ่มทดลองมีความคงทนในการเรียนรู้ 2.3) การปรับปรุงเวลาและใบกิจกรรมในการสอนตามรูปแบบฯรอบที่ 2 ไม่ได้ทำให้ผลการเรียนรู้ของนักศึกษากลุ่มควบคุมมากไปกว่านักศึกษากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความเข้าใจในเนื้อหาศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษาให้เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.5) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ของนักศึกษาศิลปศึกษาในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ให้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะ เป็นการใช้เนื้อหาศิลปะผนวกกับการสอนทักษะการคิด โดยนักศึกษากล่าวว่าสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และในการสอนนักเรียน เป็นการทบทวนความรู้เดิมและเสริมสร้างความรู้ใหม่ และ เป็นการฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to develop a learning management model to improve the ability in transferring art knowledge in art education students and 2) to study the effect of using this model. The finding were as follow: 1)The result of development of learning management model consists of 1.1) the principles of the model consist of using case studies, teaching thinking skills and, encouraging metacognition. 1.2) The objective was to develop the ability to transfer art knowledge, included the understanding of art content and the ability to transfer learning. 1.3) Steps of the model consists of teaching preparation and class teaching. 1.4) The assessment of the ability to transfer art knowledge before and after used the model. 2) The results of using the model, sample group were 30 of 4th year art education students from the Faculty of Education, Chiang Mai University. They were GPA sorting then randomly divided into two groups. The research design was Switch-Replication. The finding are as follow : 2.1) The Development of learning management model able to develop the ability to transfer of art knowledge with a statistical significance at .05 level. 2.2) There were retention of learning after used the model. 2.3) The additional time and detail in worksheet activities in the second-round study did not affect the learning of experimental group with a statistical significance. 2.4) The model could improve the understanding of art education content for students with a statistical significance at .05 level. 2.5) The model could improve the ability of art education students to transfer of learning with a statistical significance at .05 level. The students’ satisfaction to the model was at a high level. Since, they can apply their knowledge to their art classroom. The model can review pervious knowledge and establishes new knowledge, meanwhile practice the thinking process systematically.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1123-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโยงองค์ความรู้ทางศิลปะของนักศึกษาศิลปศึกษา-
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF LEARNING MANAGEMENT MODEL TO DEVELOP TRANSFER OF ART KNOWLEDGE ABILITY IN ART EDUCATION STUDENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSoamshine.B@Chula.ac.th,soamshine@gmail.com,Soamshine.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorDuangkamol.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1123-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584267027.pdf9.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.