Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5547
Title: เงินสกุลร่วมในกลุ่มประเทศอาเซียน
Other Titles: Common ASEAN currency
Authors: กรกรัณย์ กังพานิชกุล
Advisors: ชโยดม สรรพศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: chayodom.s@chula.ac.th
Subjects: สมาคมอาเซียน
เงินตรา
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
กลุ่มประเทศอาเซียน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เกิดแรงผลักดันวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้น นับตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สองของปี 1997 วิกฤตการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพ ของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่น ที่จะมีค่าอ่อนตัวลงเกินความเป็นจริง และส่งผลต่อเนื่องไปยังธุรกิจต่างๆ จนทำให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้นกลุ่มประเทศอาเซียนจึงจำเป็นต้องสร้างกรอบทางการเงิน ที่มีความเข้มแข็งกว่าเดิม ซึ่งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียได้เสนอให้มีการใช้เงินสกุลร่วม ในกลุ่มประเทศอาเซียน ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการใช้เงินตราสกุลเดียวกัน ของกลุ่มประเทศอาเซียนจะแบ่งออกเป็น การศึกษาเงื่อนไขตามทฤษฎีอาณาเขตทางการเงินที่เหมาะสม และการศึกษาลักษณะของช็อค (shock) ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน โดยนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศอาเซียน 5 ประเทศคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ในช่วงปี 1990 ถึง 1999 มาศึกษา ผลการศึกษาตามเงื่อนไขของทฤษฎีอาณาเขตทางการเงินที่เหมาะสม พบว่า กลุ่มประเทศอาเซียนมีปัจจัยเสริมจากระดับการกระจายของสินค้าที่สูง แต่ยังมีอุปสรรคในการกีดกันการเคลื่อนย้ายแรงงาน ระดับการเปิดประเทศที่ต่ำอยู่ และความแตกต่างในอัตราเงินเฟ้อ สำหรับการศึกษาลักษณะของช็อคนั้นพบว่า กลุ่มประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศยุโรปประกอบด้วยช็อคถาวร (permanent shock) เหมือนกันแต่ช็อคถาวรของกลุ่มประเทศอาเซียนมีความสมมาตรมากกว่า โดยสรุปแล้ว กลุ่มประเทศอาเซียนมีความเป็นไปได้ ที่จะเข้าร่วมใช้เงินตราสกุลเดียวกัน โดยมีปัจจัยเสริมจากความหลากหลายในการผลิตและลักษณะของ shock อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศอาเซียนยังคงมีปัญหาจากความแตกต่างในอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงระดับการเคลื่อนย้ายแรงงานและการเปิดประเทศที่ยังคงต่ำอยู่
Other Abstract: This thesis was inspired by the ASEAN economic crisis. ASEAN came to a crashing because of the financial crisis that hit the region in the second half of 1997. This ASEAN crisis has demonstrated the tendency of flexible exchange rates to overshoot, resulting in perfectly viable enterprises bankrupt and pushing their economies into recession. Thus, ASEAN needs to devote to devote to establishing a better monetary framework. Prime Minister of Malaysia proposed to study the use of single currency in ASEAN. This thesis is aimed at studying the possibility of using a common ASEAN currency by assessing whether ASEAN is an optimum currency area (OCA) when compared with Europe Union, and observing the nature of shock. The data set was obtained from international financial statistics of five ASEAN countries, namely: Malaysia, Indonesia, Philippines, Singapore and Thailand, covering the period from 1990 to 1999. According to OCA theory, the study detects a higher degree of product diversification, although some impediments remain in the mobility of labor, the inflation similatity, and degree of openness. Concerning the nature of shock, both ASEAN and Europe have permanent shock. However, ASEAN's permanent shock is more symmetric than Europe's. The study concludes that the use of a common currency in ASEAN is supported by product diversification and the nature of shock. On the other hand, the problems from the differences in inflation as well as the low level of labor mobility and the openness could be the major obstacles to the ASEAN common currency.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5547
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.395
ISBN: 9743469737
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.395
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kornkarun.pdf16.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.