Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55568
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorณรงค์ คุ้มมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:39:52Z-
dc.date.available2017-10-30T04:39:52Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55568-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์รูปแบบ และการค้นหาแนวคิดของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ เรื่อง “บทอัศจรรย์: นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากแนวคิดในวรรณคดีไทย” ถือเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ที่ควบคู่ไปกับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดหรือทฤษฎีในการสร้างสรรค์งานจากหลากหลายสาขา ได้แก่ คติชนวิทยา วรรณคดีเปรียบเทียบ พฤติกรรมศาสตร์ สัญญะวิทยา ศิลปะหลังยุคนวนิยม ศิลปะลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ศิลปะลัทธิจุลนิยม เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน นาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์ตะวันตก และศิลปกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ และศิลปะแขนงอื่น ๆ ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์การสังเกตการณ์ การปฏิบัติการภาคสนาม และการฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ใช้การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาประเด็นเรื่องตัณหาหรือกามวิสัยที่ปรากฏในบทอัศจรรย์จากวรรณคดีไทยในปัจจุบัน มักถูกนำไปสร้างสรรค์และออกแบบในลักษณะนาฏยศิลป์แบบราชสำนักหรือนาฏยศิลป์แบบประเพณีนิยม มักไม่นำเสนอลีลาการเคลื่อนไหวที่ตรงไปตรงมาอันเนื่องมาจากจารีตและประเพณีในการแสดง ซึ่งตรงกันข้ามกับบทประพันธ์ในวรรณคดีที่มีฉันทลักษณ์และการสื่อความหมายที่ไพเราะงดงามและสร้างจินตนาการให้ผู้อ่าน การแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ครั้งนี้จึงพัฒนาและออกแบบองค์ประกอบของการแสดงจำนวน 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างจากมุมมองเรื่องกามวิสัยที่ปรากฏในบทอัศจรรย์ จากวรรณคดีไทยเรื่อ งขุนช้างขุนแผน ลิลิตพระลอ และไกรทอง ทั้ง 3 เรื่อง มีบทประพันธ์ว่าด้วยเรื่องบทอัศจรรย์ที่เด่นชัดมากที่สุดในวรรณคดีไทย 2) นักแสดง เป็นการคัดเลือกผู้มีทักษะที่แตกต่างกันมาร่วมแสดงผลงานนาฏยศิลป์คือ ทักษะนาฏยศิลป์ไทย การละคร และการขับร้อง 3) ลีลานาฏยศิลป์ ใช้การเคลื่อนไหวทางนาฏยศิลป์ที่มาจากการเคลื่อนไหวในกิจวัตรประจำวันเป็นหลักในการออกแบบ การคำนึงถึงการสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา มุ่งเน้นอารมณ์และความรู้สึกของการควบคุมการเคลื่อนไหวในทุกอิริยาบถ 4) อุปกรณ์ประกอบการแสดง เลือกใช้อุปกรณ์การแสดงที่ทำหน้าที่หรือสื่อความหมายในตัวเอง และสื่อความหมายแฝง คือ เสาไม้ แท่นรองไม้ ผ้ามุ้ง ฝาผนังบ้านเรือนไทยจำลอง กระจกส่องทางจราจร โอ่งน้ำ น้ำ ขันน้ำ และคบไฟ 5) เสียงและดนตรีประกอบการแสดง สร้างสรรค์เสียงประกอบด้วยการบรรเลงดนตรีไทยจากวงมโหรีที่ผสมผสานกับเครื่องดนตรีตะวันตก ร่วมกับการขับร้องของนักแสดงด้วยบทขับเสภา และคีตศิลป์ไทย 6) เครื่องแต่งกาย นำเสนอเครื่องแต่งกายแบบร่วมสมัย ภายใต้เครื่องแต่งกายที่สร้างอารมณ์และความรู้สึกในบรรยากาศของวรรณคดีไทย และการก้าวล่วงเข้ามายังยุคสมัยปัจจุบัน การสร้างรูปแบบเครื่องแต่งกายตามสมัยนิยม การใช้สีโทนเย็นที่สร้างความราบรื่นในการมองของนักแสดงและผู้ชม 7) พื้นที่แสดง ปฏิเสธการจัดแสดงนาฏยศิลป์ในโรงละครแบบประเพณีนิยม แต่ใช้สถานที่โล่งแจ้งท่ามกลางผืนหญ้าสีเขียวที่รายล้อมด้วยสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ผู้ชมสามารถรับชมการแสดงได้ 2 ด้าน และ 8) การออกแบบแสง มีการเลือกใช้สีของแสงในการสร้างอารมณ์และความรู้สึกตามบทการแสดง ประกอบกับการเลือกใช้แสงจากธรรมชาติในบางช่วงของการแสดง และนอกจากนี้ในด้านแนวคิดของการแสดงนาฏยศิลป์ที่ปรากฏภายหลังจากได้สร้างสรรค์ผลงานแล้วพบว่า มีแนวคิดในนาฏยศิลป์ทั้งสิ้น 9 ประการ ได้แก่ การคำนึงถึงเนื้อหาของวรรณคดีไทย การคำนึงถึงการสื่อสารเรื่องราวไปสู่ผู้ชมที่เป็นคนรุ่นใหม่ การคำนึงถึงตัณหาในบริบทสังคมไทย การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในผลงานการแสดงนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงอุปกรณ์ประกอบการแสดงและสัญลักษณ์ การคำนึงถึงทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ การคำนึงถึงแนวคิดของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ การคำนึงถึงการสะท้อนสภาวะของสังคมปัจจุบันในงานนาฏยศิลป์ และการคิดคำนึงถึงเอกลักษณ์ไทย ทั้งหมดนี้ผู้วิจัยได้สร้างสรรค์และออกแบบการแสดงได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ โดยใช้กลยุทธ์สำคัญของรูปแบบการแสดงที่เกิดจากการสร้างสรรค์ผลงานด้วย “เรื่องของการแอบมอง” มาเป็นกลยุทธ์สำคัญของรูปแบบการแสดงในการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้วิจัยได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานนาฏยศิลป์ต่อสาธารณชน เปิดรับฟังความคิดเห็นด้วยการใช้แบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิดผู้เข้าร่วมชมผลงานทั้งสิ้น 250 คน ได้แก่ นักเรียน ครูอาจารย์ระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา และผู้สนใจทั่วไป และสัดส่วนผู้ชมมากกว่าร้อยละ 50 เป็นผู้มีความรู้ทางด้านนาฏยศิลป์ไทย นาฏยศิลป์ตะวันตก และดุริยางคศิลป์ จากการสำรวจความคิดเห็นพบว่า มุมมองเรื่องการนำแนวคิดจากกามวิสัยที่ปรากฏในบทอัศจรรย์จากวรรณคดีไทยมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย เป็นเรื่องที่แปลกใหม่และสร้างสรรค์ลีลาการเคลื่อนไหวที่ผสมผสานระหว่างนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์สกุลอื่น ๆ ที่นำเสนอแล้วไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกอนาจารต่อผู้ชม อีกทั้งยังได้แง่มุมในการเรื่องของกรอบวัฒนธรรมไทยและสังคมไทย สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเพศศึกษากับวรรณคดีไทย ซึ่งที่กล่าวมานี้ผู้วิจัยสามารถสรุปได้ว่า การสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการศึกษาและการวิจัยถึงกลวิธีของการแสดงนาฏยศิลป์ในบริบทต่าง ๆ ของสังคมไทยได้ต่อไปในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThe principal aim of this project was to transfer old traditional Thai sources (songs, poems, novels, dance movements) of erotic nature into a modern dance. This thesis explains the creative process in doing so, describes the resulting production, and draws conclusions, while using a sound theoretical framework throughout. EROTIC SCENE: A THAI CONTEMPORARY DANCE BASED ON ANCIENT IN THAI LITERATURE built on qualitative research, applying concepts and theories from a variety of fields: Folklore, Behavioral Sciences, Postmodernism, Art and Emotions, Martial Arts, Tradition of Thai and Western Dance. Data was collected through literature analyses and interviews with dancers and experts. Fieldwork and self-practice were important parts in the creative process as well. The research found that even today, when issues of passions or eroticism arise in dance performances, they are very often designed and directed in a classical or folk style way. Due to tradition, they do not offer straightforward movements. This is in contrast to modern literature, where erotic scenes are explicitly described. This dance show, however, used the following elements: 1) the script is based on three famous Thai poems, Khun Chang Khun Phaen, Lilit Phra Lor, and Krai Thong .2) The performers have to have skills in Thai dancing, acting, and singing. 3) The choreography uses everyday movements with a focus on emotions and feelings. 4) The stage props (the wooden pillars, cradles, wooden stucco walls, the Thai house, traffic mirror, water jar and jug, the torches) convey meaning themselves, reinforcing the main message. 5) The sound is a mix of Thai and Western music, played by a live orchestra, with voice improvisations of a female singer, and a male singer sets a traditional Thai text to music. 6) Costumes are simple and contemporary, presenting the dancers bodies in an erotic way. 7) The show arena is in open air, on a lawn at the University Campus, i.e. open green space surrounded by modern architecture. The audience is placed on two sides of the rectangular lawn. 8) The stage lights used during the night performance support the emotions and feelings in each scene and are carefully orchestrated. The key scene in the performance is a “peeping Tom” situation: While a couple is performing a sexual act in hiding, the audience can watch them via a mirror reflection. This scene reflects the current handling of erotism and sex by our modern society. In movies, bars, and social media, many people derive pleasure from secretly watching people undressing or engaging in sexual activity. The author organized a public exhibition of the dance performances presented on that event, and conducted a survey (open-end questionnaire) amongst the audiences. The two performances attracted 250 spectators, including junior high school and college students and teachers. More than 50% of the students were knowledgeable in Thai dance, Western dance, and music. Using eroticism, as it appears in traditional Thai literature, in a contemporary dance experience, results in a unique show, combining Thai and other dance genres. The presentation did not receive any obscene comments from the audiences, neither during the performances nor in the survey. In this study, we can conclude that the creation of a contemporary Thai dance is a very meaningful motivation for conducting relevant research in cultural fields.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1114-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectนาฏยประดิษฐ์-
dc.subjectนาฏยประดิษฐ์-
dc.subjectนาฏศิลป์ไทย-
dc.subjectChoreography-
dc.subjectDramatic arts, Thai-
dc.titleบทอัศจรรย์: นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากแนวคิดในวรรณคดีไทย-
dc.title.alternativeEROTIC SCENES: A THAI CONTEMPORY DANCE BASE ON ANCIENT IN THAI LITERATURE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorNaraphong.C@Chula.ac.th,naraphong.c@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1114-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786807435.pdf32.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.