Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55923
Title: Transmitting traditional Lanna music in the modern-day city of Chiang Mai
Other Titles: การสืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน
Authors: Akins, Joel Nathaniel
Advisors: Bussakorn Binson
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Advisor's Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th
Subjects: Folk music -- Thailand -- Chiang Mai
Dissemination of music
ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย -- เชียงใหม่
การแพร่กระจายของดนตรี
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: To study the transmission of traditional Lanna music in Chiang Mai, the urban center of northern Thailand. The first objective of this thesis is to provide a detailed record of the various ways traditional Lanna music is being passed on in the city of Chiang Mai. The second objective is to analyze the relationship between these different types of transmission and the spectrum of traditional and adapted styles of Lanna music in Chiang Mai. These objectives are addressed in this thesis through qualitative research. Interviews, observations and document research provide most of the information in this thesis. By corroborating the various accounts, the author has been able to present historical background on traditional Lanna music culture in Chiang Mai, followed by a detailed record of the different ways traditional Lanna music is currently passed on in the city. In reference to the first objective, it was determined that the activities for transmitting traditional Lanna music in Chiang Mai are both diverse and widespread. In considering the second objective, a non-causal link was observed between the increased variety of transmission - using such modern means as technology and formal classroom instruction - and the recent expansion of musical styles derived from traditional Lanna music. The final analysis presented in this thesis shows that the range of activities that transmit traditional Lanna music in Chiang Mai today can be organized on two scales: from informal to formal transmission, and from deliberate to incidental. At present, the main factor blurring the distinction between formal and informal transmission is the system of withayakon (lit. expert, in this case a teacher or accomplished musician/ensemble); the principle agent responsible for breaking down the division between deliberate and incidental transmission is technology. This research concludes that the traditional Lanna music environment in modern-day Chiang Mai is a diverse, vibrant and natural expression of Chiang Mai society today. The diversification of three key types of historical transmission - mukhapatha (master-pupil rote instruction), khru phak lak jam (observation and imitation) and transmission through music at events - show the extension in modern times of the foundations of traditional Lanna music transmission in Chiang Mai. This confirms that artists and academics have successfully found ways to incorporate traditional Lanna music into the living music culture of modern-day Chiang Mai.
Other Abstract: ศึกษาเรื่องการสืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือของไทย วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ประการแรกคือ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ใช้สืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันโดยละเอียด วัตถุประสงค์ประการที่สองคือ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวทางการสืบทอดดังกล่าวกับความหลากหลายของรูปแบบดนตรีพื้นเมืองล้านนา ทั้งแบบดั้งเดิมและประยุกต์ซึ่งมีอยู่ในเชียงใหม่ในปัจจุบัน วิทยานิพนธ์พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ทั้งสองประการโดยการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกตและการวิเคราะห์งานวิจัยที่มีอยู่แล้ว ผู้เขียนอาศัยการรวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลเหล่านี้ในการนำเสนอประวัติวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเชียงใหม่ และอธิบายวิธีต่างๆ ที่ใช้สืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันโดยละเอียด ในการตอบวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ประการแรก งานวิจัยชิ้นนี้เห็นว่ากิจกรรมการสืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเมืองเชียงใหม่ มีทั้งความหลากหลายและเป็นที่แพร่หลาย ประการที่สอง ผู้เขียนได้สังเกตความสัมพันธ์ระหว่างการสืบทอดซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี การสอนดนตรีพื้นเมืองในห้องเรียน กับการขยายรูปแบบดนตรีล้านนาที่สืบทอดมาจากดนตรีพื้นเมืองดั้งเดิม การวิเคราะห์สุดท้ายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า ความหลากหลายของการสืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเมืองเชียงใหม่ สามารถแบ่งได้เป็นสองระบบ ระบบแรกเป็นการระบุว่าการจัดกิจกรรมการสืบทอดนั้นๆ เป็นทางการหรือไม่ เพียงใด และระบบที่สองระบุว่าผู้สืบทอดกับผู้รับมีความประสงค์ที่จะสืบทองดนตรีล้านนาในกิจกรรมนั้นๆ เพียงใด ในปัจจุบัน สาเหตุหลักที่ทำให้การสืบทอดที่เป็นทางการกับการสืบทอดที่ไม่เป็นทางการมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นคือ ระบบวิทยากรดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเชียงใหม่ ส่วนสาเหตุที่กำลังทำให้กิจกรรมที่มุ่งสืบทอดกับกิจกรรมที่ไม่มีจุดมุ่งหมายในการสืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนา มีความคล้ายคลึงกันมากขึ้นคือ ระบบเทคโนโลยี ในส่วนสุดท้าย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ผลสรุปว่า สภาพดนตรีพื้นเมืองล้านนาในเมืองเชียงใหม่เป็นการแสดงออกที่หลากหลาย มีชีวิตชีวา และเป็นธรรมชาติในสังคมเชียงใหม่ปัจจุบัน หลักการสืบทอดที่มีการพัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีสามประเภท ได้แก่ มุขปาฐะ ครูพักหลักจำ และการสืบทอดที่มาจากดนตรีตามงานต่างๆ การขยายตัวของการสืบทอดสามวิธีนี้แสดงให้เห็นว่า วิธีการสืบทอดในปัจจุบันล้วนสืบเนื่องมาจากรากฐานการสืบทอดดั้งเดิมทั้งสิ้น ดังนั้น จึงสามารถยืนยันได้ว่ากลุ่มศิลปินกับนักวิชาการได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้ดนตรีพื้นเมืองล้านนา มีบทบาทในวัฒนธรรมดนตรีเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันอย่างแท้จริง
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Thai Studies
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55923
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.955
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.955
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Akins_joel.pdf18.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.