Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55932
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติมา วัฒนวิจิตรกุล-
dc.contributor.advisorสมชาย โตวณะบุตร-
dc.contributor.authorอัญชลี อรรถอินทรีย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-11-16T03:50:50Z-
dc.date.available2017-11-16T03:50:50Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55932-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบจำลองทางเภสัชจลนศาสตร์ประชากรที่ใช้ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ และหาปัจจัยที่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาฟีโนบาร์บิทาลในผู้ป่วยโรคลมชัก วิธีดำเนินการวิจัย เภสัชจลนศาสตร์ประชากรวิเคราะห์ได้จากผลตรวจวัดความเข้มข้นของระดับยา ฟีโนบาร์บิทาลในเลือดที่ได้จากการปฏิบัติงานประจำ 265 ตัวอย่าง ของผู้ป่วยโรคลมชักจำนวน 164 ราย ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา ถูกวิเคราะห์ด้วยวิธี nonlinear mixed effects modeling โดยใช้โปรแกรม NONMEM ลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาฟีโนบาร์บิทาลสามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองแบบหนึ่งห้อง ซึ่งมีการดูดซึมยาและการกำจัดยาแปรผันตรงกับความเข้มข้นของยา วิธี first-order conditional estimation method with interaction (FOCEI) ถูกใช้เพื่อวิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ร่วมกับหาปัจจัยที่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์จากวิธี stepwise forward addition และ stepwise backward elimination ความผันแปรระหว่างบุคคล และความผันแปรจากสาเหตุอื่นอธิบายโดยใช้แบบจำลอง proportional model และทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองด้วยวิธี bootstrap จากการสุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,000 กลุ่ม ผลการวิจัย ฟีโนบาร์บิทาลมีอัตราการกำจัดยา (apparent oral clearance, CL/F) เท่ากับ 0.214 ลิตรต่อชั่วโมง ปริมาตรการกระจายยา เท่ากับ 24.3 ลิตร และค่าคงที่อัตราการดูดซึมยา เท่ากับ 1.33 ต่อชั่วโมง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการกำจัดยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การใช้วัลโปรอิกแอซิด (valproic acid, VPA) ร่วม และน้ำหนักตัว (body weight, BW) อธิบายความสัมพันธ์ได้ดังสมการ CL/F (ลิตรต่อชั่วโมง) = 0.224 x (1 – (0.229 x VPA)) x (1 + 0.0105 x (BW - 57)) ค่าความผันแปรระหว่างบุคคลของอัตราการกำจัดยา และค่าความผันแปรจากสาเหตุอื่น เท่ากับร้อยละ 19.52 และ 24.15 ตามลำดับ ค่าพารามิเตอร์จาก final model และจากการทดสอบด้วยวิธี bootstrap มีค่าใกล้เคียงกัน และอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 สรุปผลการวิจัย การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาฟีโนบาร์บิทาลที่ได้ข้อมูลผู้ป่วยจากการปฏิบัติงานประจำ มีแบบจำลองที่เหมาะสมโดยอธิบายด้วยลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์แบบหนึ่งห้อง มีการดูดซึมยาและการกำจัดยาแปรผันตรงกับความเข้มข้นของยา ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการกำจัดยาของฟีโนบาร์บิทาล ได้แก่ การใช้วัลโปรอิกแอซิดร่วม และน้ำหนักตัวen_US
dc.description.abstractalternativeObjectives: To develop a population pharmacokinetic model to estimate the pharmacokinetic parameters and factors influencing phenobarbital pharmacokinetics in epileptic patients. Methods: Population pharmacokinetics of phenobarbital was analyzed from 265 clinically routine phenobarbital concentrations of 164 patients at Prasat Neurological Institute using the nonlinear mixed effects modeling approach as implemented in NONMEM program. Phenobarbital pharmacokinetics was best described by one compartment model with first-order absorption and elimination. First-order conditional estimation method with interaction (FOCEI) was used for parameter estimation. Covariate models were built using stepwise forward addition and stepwise backward elimination. Interindividual variability (IIV) and residual unexplained variability (RUV) were estimated using a proportional model. Model validation was performed using 1,000 bootstrap runs. Results: The apparent oral clearance (CL/F) of phenobarbital was 0.214 L/h, apparent volume of distribution (Vd/F) was 24.3 L and absorption rate constant (Ka) was fixed to 1.33 h-1. Co-administered valproic acid (VPA) and body weight (BW) were significant covariates on CL/F as follows: CL/F (L/h) = 0.224 x (1 – (0.229 x VPA)) x (1 + 0.0105 x (BW - 57)). The IIV of CL/F and RUV (%CV) were 19.52% and 24.15%, respectively. The parameter estimates from bootstrap procedure to range obtained 95% confidence interval and were comparable with the values obtained from final model. Conclusions: Phenobarbital pharmacokinetics from routine clinical data was best described by one compartment model with first-order absorption and elimination. Co-administered valproic acid and body weight were significant covariates on CL/F of phenobarbital.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1881-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectPhenobarbital -- Pharmacokineticsen_US
dc.subjectBarbiturates -- Pharmacokineticsen_US
dc.subjectPharmacokineticsen_US
dc.subjectEpilepsy -- Treatmenten_US
dc.subjectฟีโนบาร์บิทาล -- เภสัชจลนศาสตร์en_US
dc.subjectบาร์บิตุเรต -- เภสัชจลนศาสตร์en_US
dc.subjectเภสัชจลนศาสตร์en_US
dc.subjectลมบ้าหมู -- การรักษาen_US
dc.titleเภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาฟีโนบาร์บิทาลในผู้ป่วยโรคลมชัก ณ สถาบันประสาทวิทยาen_US
dc.title.alternativePopulation pharmacokinetics of phenobarbital in epileptic patients at prasat neurological instisuteen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThitima.W@pharm.chula.ac.th-
dc.email.advisorNo information provided-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1881-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchalee_At.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.