Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56037
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ | - |
dc.contributor.advisor | นงลักษณ์ วิรัชชัย | - |
dc.contributor.author | จันอารีย์ คีรีวรรณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2017-11-21T06:56:21Z | - |
dc.date.available | 2017-11-21T06:56:21Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56037 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ประมาณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ และ ระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ กับผลที่เกิดจากพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การจากงานวิจัยแต่ละเรื่อง 2.เปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 จำแนกตามตัวแปรเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านการพิมพ์ ด้านเนื้อหาสาระของการวิจัย ด้านวิธีวิทยาการวิจัย และด้านคุณภาพงานวิจัย 3.ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย ทั้ง 4 ด้าน ที่ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของงานวิจัยในประเทศไทย และต่างประเทศ 4.เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ว่าโมเดลของงานวิจัยตะวันตก มีความสอดคล้องกับโมเดลของงานวิจัยในประเทศไทยหรือไม่ เพียงไร และสรุปข้อค้นพบจากการสังเคราะห์งานวิจัยในแนวคิดของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์เป็นงานวิจัยต่างประเทศที่มีการพิมพ์เผยแพร่ในระหว่างปี ค.ศ. 1996-2007 จำนวน 29 เรื่อง ในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2550 จำนวน 29 เรื่อง เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ข้อมูลที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย และการสังเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามหลักการวิเคราะห์อภิมาน ผลการสังเคราะห์งานวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์งานวิจัยต่างประเทศ จำนวน 166 ค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.22 งานวิจัยในประเทศไทย จำนวน 152 ค่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.39 2.ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย ที่มีอิทธิพล อย่างมีนัยสำคัญต่อค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ในงานวิจัยต่างประเทศ ได้แก่ จำนวนหน้าทั้งหมด จำนวนตัวแปรตาม จำนวนเครื่องมือ และคุณภาพงานวิจัย งานวิจัยในประเทศไทย ได้แก่ ตัวแปรจำนวนตัวแปรตาม 3.ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างงานวิจัยต่างประเทศ และงานวิจัยในประเทศไทยพบว่า งานวิจัยทั้ง 2 ประเภท ศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวเป็นชุดตัวแปรทั้งสิ้น 42 ชุดโดยศึกษาชุดตัวแปรที่เหมือนกัน จำนวน 19 ชุด ซึ่งงานวิจัยในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในงานวิจัยต่างประเทศทุกชุด เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วย Z-test พบว่า ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลการตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ พบว่าโมเดลมีความตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิเคราะห์กลุ่มพหุ แสดงว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทั้งสองไม่แปรเปลี่ยนระหว่างกลุ่มงานวิจัยไทย และงานวิจัยต่างประเทศ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aimed 1) to estimate the correlation coefficients between related factors with Organizational Citizenship Behavior(OCB), and between OCB with consequences of OCB from each research report; 2) to compare the correlation coefficients obtained from the first objective among groups classified by printing characteristics, research content, research methodology and research quality; 3) to study the effect sizes of 4 aspects of research characteristics effecting the correlation coefficients and compare the means of the correlation coefficients between Western and Thai research; and 4) to validate the causal relationship model of OCB and check whether the correlation coefficients of Western research were equal to these of Thai research or not. The research to be synthesized consisted of 29 Western correlational research report published between AD 1996-2007 and 29 Thai correlational research report published between BE 2539-2550. The research instruments were research recording form and research quality evaluation form. Data were correlation coefficients and study characteristics variables from Western and Thai research, they were analyzed using descriptive statistics, and cumulative of correlation coefficients based on meta-analysis techniques. The synthesis of research revealed that : 1) The mean of 166 and 152 correlation coefficients from Western and Thai research were 0.22 and 0.39 respectively 2) The study characteristics having significant effects on correlation coefficients consisted of total number of pages, number of dependent variables, number of instrument and research quality in Western research; number of dependent variables in Thai research. 3)The comparison of correlation coefficients between Western and Thai research indicated that both research studies the 42 set of relationships between variables, the 19 sets of which were the same and the average correlation coefficients of Thai research were higher than those of the average Western research. Comparing the difference with z-test revealed that they were no significant difference between these 2 groups of correlation coefficients. 4) The results of the validation of causal relationship model of OCB indicated that the model was significantly valid. The multiple group analysis indicated that the two causal relation models of OCB were invariance across the two group of Western and Thai research. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1003 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมองค์การ | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์อภิมาน | en_US |
dc.subject | Organizational behavior | en_US |
dc.subject | Meta-analysis | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์อภิมานปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกขององค์การ : การเปรียบเทียบงานวิจัยตะวันตกและงานวิจัยในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Meta-analysis of factors related to organizational citizenship behavior : comparative study between western and Thai research | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Nonglak.W@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1003 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chanaree_ke_front.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanaree_ke_ch1.pdf | 5.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanaree_ke_ch2.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanaree_ke_ch3.pdf | 7.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanaree_ke_ch4.pdf | 634.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
chanaree_ke_ch5.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
chanaree_ke_back.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.