Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56311
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลตำรวจ
Other Titles: FACTORS AFFECTING MEDICATION ADHERENCE OF DIABETIC PATIENTS AT POLICE GENERAL HOSPITAL
Authors: ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์
Advisors: สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์
อลิศรา แสงวิรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: sutathip.p@chula.ac.th,sutathip.p@pharm.chula.ac.th
sangviroon@hotmail.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน และศึกษาความชุกของความไม่ร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ที่เข้ารับบริการที่คลินิกต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลตำรวจ ตั้งแต่เดือน สิงหาคม – ธันวาคม 2557 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา ผลการศึกษาในผู้ป่วย 168 ราย เป็นเพศหญิง 87 ราย มีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ย 37.4±2.2 คะแนน (เต็ม 40 คะแนน) ความชุกของความไม่ร่วมมือในการใช้ยาเท่ากับร้อยละ 16.7 (28 ราย) ปัจจัยด้านจำนวนโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย และดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์ในทางลบกับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา (r = -0.179; P = 0.020 และ r = -0.275; P = 0.000 ตามลำดับ) ผู้ป่วยที่มีอาชีพ รับจ้าง/ขับรถโดยสาร/ขับรถแท็กซี่ จะมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ป่วยที่มีอาชีพอื่น (P = 0.035) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) พบ 3 ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยา ได้แก่ อาชีพ รับจ้าง/ขับรถโดยสาร/ขับรถแท็กซี่ (P = 0.018) อาชีพ แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ (P = 0.030) และจำนวนโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย (P = 0.003) โดยสมการที่ได้คือ “คะแนนความร่วมมือในการใช้ยา = 37.962 - 2.347 รับจ้าง/ขับรถโดยสาร/ขับรถแท็กซี่ - 0.340 จำนวนโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย + 0.763 แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ” การศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความร่วมมือในการใช้ยา โดยผู้ป่วยที่มีจำนวนโรคเรื้อรังร่วมด้วยหลายโรค มีอาชีพรับจ้าง/ขับรถโดยสาร/ขับรถแท็กซี่ จะมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาเฉลี่ยต่ำกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งควรได้รับการจัดการดูแลและหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป
Other Abstract: The aim of this descriptive cross-sectional study was to assess factors affecting medication adherence and the prevalence of non-adherence in diabetic patients at endocrine clinic, Police General Hospital from August to December 2014. Data were collected from medical records and the patients were interviewed using the questionnaire. The relationship between the factors and the medication adherence score were analyzed. The total of 168 diabetic patients (87 female) had an average medication adherence score of 37.4±2.2, out of 40. The prevalence of medication non-adherence was 16.7% (28 patients). The number of co-morbid conditions and body mass index had negative relation with the medication adherence score (r = -0.179, P = 0.020 and r = -0.275, P = 0.000 respectively). The patients whose occupations were employee/bus driver/taxi driver had an average medication adherence score lower than the other occupation (P = 0.035). In addition, by doing multiple regression analysis, 3 factors were found to have effect on medication adherence. They were (1) employee/bus driver/taxi driver (P = 0.018), (2) housewife/househusband/retired (P = 0.030) and (3) the number of co-morbid conditions (P = 0.003) that were derived from the equation of medication adherence score = 37.962 – 2.347 employee/bus driver/taxi driver – 0.340 the number of co-morbid conditions + 0.763 housewife/househusband/retired. In conclusion, majority of patients had good medication adherence. The patients who had many co-morbid conditions and the patients whose occupations were employee/bus driver/taxi driver had the average medication adherence score significantly lower than the other groups. These 2 groups of patients need further evaluation, monitoring and strategic planning in order to solve the adherence problem.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56311
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5676204233.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.