Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.authorสุภา อินทร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialนครสวรรค์-
dc.date.accessioned2008-01-29T02:04:25Z-
dc.date.available2008-01-29T02:04:25Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741750331-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5636-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย ศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษาและรายได้พฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการออกกำลังกาย ความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลด้านสถานการณ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (2002) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคนในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 180 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 9 ชุด คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย แบบสอบถามการรับรู้ ประโยชน์ของการออกกำลังกาย แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการออกกำลังกาย แบบสอบถามความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบสอบถามอิทธิพลของครอบครัว แบบสอบถามอิทธิพลด้านสถานการณ์ แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงของแบบสอบถาม จำนวน 8 ชุดหลัง โดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .95, .87, .94, .78, .87, .74, .87, .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยแบบลอจีสติก ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการออกกำลังกายเท่ากับ 2.34 (+-1.12) คะแนน มีพฤติกรรมการออกกำลังกายร้อยละ 62 โดยเป็นการออกกำลังกายที่ถูกต้องร้อยละ 13.7 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษาและรายได้ พฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต การรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย อิทธิพลของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และสถานภาพสมรส การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการออกกำลังกาย ความรู้สึกนึกคิดที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อิทธิพลด้านสถานการณ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พฤติกรรมการออกกำลังกายในอดีต (OR = 1.14) และการรับรู้อุปสรรค์ต่อการออกกำลังกาย (OR = .926) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ใหญ่วัยกลางคนได้ร้อยละ 46.1 (Nagelkerke R[superscript 2] = .461)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study was to assess exercise behaviors, examine the relationships between personal factors, prior exercise behavior, perceived barriers of exercise, erceived benefits of exercise, perceived self-efficacy in exercise, exercise activity-related affect, family influences, situational influences, and exercise behaviors, and identify the predictors of exercise behavior of middle aged adults in Nakorn Sawan province. The theoretical framework was based on Pender's Health Promotion Model. A random sample of 180 middle aged adult participating in this study was obtained through a multi-stage sampling. Data were collected by using nine questionnaires, including the demographic questionnaires, prior exercise behavior, perceived barriers of exercise, perceived benefits of exercise, perceived self-efficacy in exercise, exercise activity-related effect, family influences, situational influences and exercise behaviors questionnaires. Content validity and reliability of the instruments were investigated. Cronbach's alpha coefficients of all measures, except demgraphic questionnaires were .95, .87, .94, .78, .87, .74, .87, .96 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square test, and logistic regression. The major findings were as follows: 1. The total mean score for exercise behaviors was 2.34 (+-1.12). Sixty-five percent of the participants reported that they performed exercise behavior, but only 13.7% correctly exercised. 2. Personal factors (education and income), prior exercise behavior, perceived barriers of exercise, and family influences were significantly correlated with exercise behavior of middle aged adults (p<.05). However, age, gender marital status, peceived beneived benefits of exercise, perceived self-efficacy in exercise, exercise activity-related affect, and situational influences were not significantly correlated with exercise behaviors. 3. Prior exercise behavior and perceived barriers of exercise were significant predicators, ane accounted 46.1% of the variance in the exercise behavior of middle aged adults.en
dc.format.extent1051306 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการออกกำลังกายen
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen
dc.subjectวัยกลางคน -- ไทย -- นครสวรรค์en
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย ของผู้ใหญ่วัยกลางคนในจังหวัดนครสวรรค์en
dc.title.alternativeRelationships between selected factors and exercise behaviors of middle aged adult in Nakhon Sawan provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsureeporn04@yahoo.com, Sureeporn.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supa.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.