Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56450
Title: PRECIPITATION OF PROTEINS AS SAMPLE PREPARATION FOR DETERMINATION OF IODINE CONTENT IN EGGS BY SANDELL-KOLTHOFF FLOW INJECTION METHOD
Other Titles: การตกตะกอนโปรตีนเพื่อการเตรียมตัวอย่างสำหรับการตรวจวัดปริมาณไอโอดีนในไข่ด้วยวิธีโฟลว์อินเจกชันแซนเดลล์-คอลทอฟฟ์
Authors: Todsaporn Srivorakul
Advisors: Pakorn Varanusupakul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Pakorn.V@Chula.ac.th,Pakorn.v@chula.ac.th
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: In this research, the sample preparation methods based on protein precipitation were investigated and developed for determination of iodine in egg samples. The protein precipitation methods such as adjusting pH, salting out at high salt concentration, sodium dodecyl sulfate (SDS) and trichlroacitic acid (TCA) were studied. After treated, iodine was determined by colorimetric method based on Sandell and Kolthoff reaction. According to the physical observation of treated egg samples, treatment method using SDS and TCA could satisfactorily remove most of egg matrix components yielding colorless solution. According to the signal of iodine obtained by the colorimetric flow analysis method, the treatment method using TCA was the most effective egg matrix removal method for determination of iodine in egg samples. A 400 µg of 1 g/mL TCA at room temperature was used for 0.5 g egg sample. The concentration of TCA, incubation time and temperature for egg matrix removal were optimized. The recoveries of spiked iodine in egg samples after treated with TCA were in the range of 84-109%, relative standard deviation less than 6.4%, method detection limit was 0.58 µg iodine/g egg and method quantitation limit was 0.94 µg iodine/g egg. The method provided more reliable results compared to the conventional alkali dry ashing method.
Other Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวิธีการเตรียมตัวอย่างสำหรับตรวจวัดปริมาณไอโอดีนในไข่โดยใช้วิธีการตกตะกอนโปรตีน วิธีการตกตะกอนโปรตีนที่ใช้ในการศึกษาในงานวิจัยนี้ได้แก่ การตกตะกอนโปรตีนที่พีเอชต่างๆ การตกตะกอนโปรตีนด้วยเกลือความเข้มข้นสูง การตกตะกอนโปรตีนด้วยโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตและการตกตะกอนโปรตีนด้วยกรดไตรคลอโรแอซีติก หลังจากนั้นตรวจวัดไอโอดีนโดยใช้เทคนิคการตรวจวัดเชิงสีด้วยปฏิกิริยาแซนเดลล์-คอลทอฟฟ์ จากการสังเกตลักษณะทางกายภาพของตัวอย่างไข่หลังผ่านวิธีการเตรียมตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างไข่ที่ผ่านวิธีการตกตะกอนโปรตีนด้วยโซเดียมโดเดซิลซัลเฟตและกรดไตรคลอโรแอซีติกได้สารละลายใสไม่มีสีและสามารถกรองผ่านกระดาษกรองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 0.45 ไมโครเมตรได้ ด้วยเหตุนี้ตัวอย่างที่ผ่านวิธีการเตรียมตัวอย่างทั้งสองวิธีจึงได้นำมาศึกษาปริมาณไอโอดีนโดยใช้เทคนิคการตรวจวัดเชิงสีด้วยปฏิกิริยาแซนเดลล์-คอลทอฟฟ์ พบว่าวิธีตกตะกอนโปรตีนด้วยกรดไตรคลอโรแอซีติก สามารถกำจัดตัวกลางที่รบกวนการวิเคราะห์ไอโอดีนในตัวอย่างได้ดีที่สุด จึงได้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่างด้วยกรดไตรคลอโรแอซีติกโดยศึกษาความเข้มข้นของกรดไตรคลอโรแอซีติก เวลาและอุณหภูมิ พบว่าที่ ปริมาตร 400 ไมโครลิตรของ 1 กรัมต่อมิลลิลิตรของกรดไตรคลอโรแอซีติก ต่อตัวอย่างไข่ 0.5 กรัมที่อุณหภูมิห้องเป็นภาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตรวจวัดไอโอดีนในตัวอย่างไข่ โดยมีค่าร้อยละการคืนกลับอยู่ในช่วง 84-109 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ ต่ำกว่า 6.4 เปอร์เซ็นต์ ขีดจำกัดการตรวจวัดของวิธีเท่ากับ 0.58 ไมโครกรัมไอโอดีนต่อกรัมไข่และขีดจำกัดการหาปริมาณของวิธีเท่ากับ 0.94 ไมโครกรัมไอโอดีนต่อกรัมไข่ ซึ่งวิธีนี้ถูกยืนยันให้มีความน่าเชื่อถือโดยการเปรียบเทียบกับการเตรียมตัวอย่างด้วยวิธีเผาให้เป็นขี้เถ้าที่อุณหภูมิสูง (Alkali dry ashing)
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Chemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56450
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5771995123.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.