Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56940
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา อุทิศวรรณกุล-
dc.contributor.authorกุลอนงค์ เกิดศิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-06T03:35:09Z-
dc.date.available2018-02-06T03:35:09Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56940-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาจากการใช้ยาต่อผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน และประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงภายหลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2550 ทำการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 119 ราย ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลมหาสารคาม โดยมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ชนิด จากปัจจัยที่ศึกษา 3 ชนิด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับยาตั้งแต่ 5 รายการขึ้นไปในคราวเดียว และได้รับการปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ยาตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไปในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สำหรับการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ เป้าหมายการรักษาเบาหวาน การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และปัญหาจากการใช้ยา โดยผู้ป่วยจะได้พบเภสัชกรเพื่อได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ตลอดจนการค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาเป็นจำนวน 3 ครั้ง จากการวิจัยพบความสัมพันธ์ของผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงด้านการปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ยาตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไปในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา มีโอกาสพบปัญหาจากการใช้ยาได้มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่พบปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว 3.524 เท่า (OR, 95% CI = 1.130-10.986).ผุ้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงทั้ง 3 ชนิด มีโอกาสที่ค่าแอลดีแอลคอเลสเทอรอลและไตรกลีเซอไรด์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้มากกว่าผู้ป่วยที่มีจำนวนปัจจัยเสี่ยงเพียง 1 หรือ 2 ชนิด เป็น 4.098 เท่า (OR, 95% CI = 1.177-14.262).และ 4.000 เท่า (OR, 95% CI = 1.026-15.599).ตามลำดับ แต่จำนวนปัจจัยเสี่ยง 2 ชนิดที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลลัพธ์ทางคลินิก สำหรับผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรม พบว่าร้อยละของผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสะสมตามเป้าหมายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p น้อยกว่า 0.05). ขณะที่เป้าหมายด้านระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ค่าแอลดีแอลคอเลสเทอรอล เอชดีแอลคอเลสเทอรอล และไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p มากกว่า 0.05) ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ความดันโลหิต ค่าแอลดีแอลคอเลสเทอรอล และเอชดีแอลคอเลสเทอรอลเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p น้อยกว่า 0.05) จำนวนครั้งในการเข้ารับการรักษา ณ แผนกฉุกเฉินและการเข้ารักษาแบบผู้ป่วยในลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p น้อยกว่า 0.05) สำหรับปัญหาจากการใช้ยาจากการพบผู้ป่วยครั้งแรก พบปัญหาจากการใช้ยา 151 ปัญหาในผู้ป่วย 99 ราย (ร้อยละ 83.2) และภายหลังผู้ป่วยได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมในครั้งที่ 3 พบจำนวนปัญหาลดลงเหลือ 49 ปัญหา (p น้อยกว่า 0.001)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to (1) determine the relationships between risk factors for drug-related problems (DRPs) and clinical outcomes, (2) evaluate clinical outcomes of diabetic patients with risk factors before and after providing pharmaceutical care services. The study was conducted from November 2006 to March 2007 at diabetic outpatient clinic of Mahasarakham hospital. One hundred and nineteen diabetic outpatients with at least one of risk factors including age sixty and over, five or more medications in present drug regimen, and regimen changed four or more times in the past year. The results of clinical outcomes including current American Diabetes Association (ADA) treatment targets, health care utilization, and DRPs. Diabetic patients received education and identified, prevented, and resolved their DRPs for three times by the pharmacist. The results showed a statistically significant relationship between regimen changed four or more times in the past year and DRPs was 3.524 times (OR, 95% CI = 1.130-10.986). Patients who had three risk factors were likely to obtain in inappropriate clinical outcomes included low density lipoprotein-cholesterol (OR = 4.098, 95% CI = 1.177-14.262) and triglyceride 9OR = 4.000, 95% CI = 1.026-15.599) as compared to patients who had only one or two risk factors. But there was no relationship between the two risk factors and clinical outcomes. For the outcomes of pharmaceutical care, the percentage of patients who reached goal for hemoglobin A[subscript 1C] increased significantly (p is less than 0.05), whereas goal for fasting plasma glucose, blood pressure, low density lipoprotein-cholesterol, high density lipoprotein-cholesterol, and triglyceride increased insignificantly (p is more than 0.05). Mean hemoglobin A[subscript 1C], blood pressure, low density lipoprotein-cholesterol, and high density lipoprotein-cholesterol level were significant better (p is less than 0.05). The number of visit the emergency department and admission were decreased significantly (p is less than 0.05).At the first visit, there were 151 DRPs in 99 patients (83.2%), and at the end of follow-up period (the third visit) DRPs decreased to 49 problem (p is less than 0.001). The conclusion is the regimen changed four or more times in the past year may be the first criteria for screening the patients, who would obtain the most benefit from pharmacy intervention, and pharmaceutical care can improves clinical outcomes of diabetic patients with risk factors.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.210-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการใช้ยาen_US
dc.subjectยา -- ผลข้างเคียงen_US
dc.subjectเบาหวาน -- ผู้ป่วยen_US
dc.subjectเบาหวาน -- ปัจจัยเสี่ยงen_US
dc.subjectการบริบาลทางเภสัชกรรมen_US
dc.subjectโรงพยาบาลมหาสารคามen_US
dc.subjectDrug utilizationen_US
dc.subjectDrugs -- Side effectsen_US
dc.subjectDiabetics -- Patientsen_US
dc.subjectDiabetes -- Risk factorsen_US
dc.subjectPharmaceutical servicesen_US
dc.subjectMahasarakham Hospitalen_US
dc.titleอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาจากการใช้ยาต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน ที่โรงพยาบาลมหาสารคามen_US
dc.title.alternativeThe Influence of risk factors for drug-related problems on clinical outcomes in diabetic outpatients at Mahasarakham Hospitalen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.210-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kul-anong_ke_front.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
kul-anong_ke_ch1.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
kul-anong_ke_ch2.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
kul-anong_ke_ch3.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
kul-anong_ke_ch4.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open
kul-anong_ke_ch5.pdf861.99 kBAdobe PDFView/Open
kul-anong_ke_back.pdf11.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.