Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57836
Title: ปัญหาจากการมีหลายสัญชาติและแนวทางการแก้ปัญหาตามอนุสัญญาว่าด้วยสัญชาติในระดับพหุภาคี
Other Titles: Legal questions relating to multiple nationality and its solutions under multilateral conventions on nationality
Authors: ลัลนา นนทรังสี
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Chumphorn.P@Chula.ac.th
Subjects: สัญชาติ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
ความมั่นคงแห่งชาติ
Citizenship -- Law and legislation
National security
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากผลการศึกษาพบว่าความหลากหลายของหลักเกณฑ์การให้สัญชาติ เป็นสาเหตุ ของการมีหลายสัญชาต การมีหลายสัญชาติก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐในเรื่อง ต่าง ๆ เช่น การรับราชการทหาร การให้ความคุ้มครองทางการทูต การบังคับใช้กฎหมายของรัฐ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง เนื่องจากไม่มีหลักทั่วไปหรือจารีตประเพณีใดๆ ทางกฎหมายระหว่างประเทศจำกัดอำนาจรัฐในเรื่องการกำหนดสัญชาติ รัฐจึงต้องใช้วิธีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศกำหนดแนวทางปฏิบัติระหว่างรัฐภาคีเพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การมีหลายสัญชาติอาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หากบุคคลหลายสัญชาติ มีพฤติกรรมที่ทำให้รัฐต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงภัย ตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลหลายสัญชาติมีส่วนร่วมในปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ บุคคลนั้นย่อมได้ประโยชน์จากการมีหลายสัญชาติในการเดินทางข้ามพรมแดนระหว่างรัฐต่าง ๆ เพื่อประกอบอาชญากรรมได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ในขณะที่รัฐใดรัฐหนึ่งแต่เพียงรัฐเดียวไม่อาจจัดการกับปัญหาดังกล่าวได้โดยลำพัง เพราะมีข้อจำกัด ในเรื่องอำนาจอธิปไตย ผู้เขียนเห็นว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาเกี่ยวกับการมี หลายสัญชาติฉบับใด แต่ก็สามารถนำแนวทางจากข้อตกลงฯ เหล่านั้นมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาการมีหลายสัญชาติในประเทศไทยได้
Other Abstract: People can get more than one nationality because law of States set up different criterion for obtaining nationality. Multiple nationalities cause the complicated operations on military service, diplomatic protection etc. Multiple nationalities may affect state security if people having nationality two or more of states concerned, commit Transnational crime, acrossing their borders making difficulties for arrest. In order to reduce these problems, a number of agreements have been concluded. Even Thailand does not becoming member of multilateral Conventions on Nationality, it does not prevent Thailand to pick and choose some concepts within these Conventions and introduce it to Thai legislation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57836
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.399
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lalana_no_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
lalana_no_ch1.pdf523.88 kBAdobe PDFView/Open
lalana_no_ch2.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
lalana_no_ch3.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
lalana_no_ch4.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
lalana_no_ch5.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open
lalana_no_ch6.pdf684.51 kBAdobe PDFView/Open
lalana_no_back.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.