Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57924
Title: อิทธิพลของการตระหนักในตนเองจากมุมมองภายนอกและการซึมซับค่านิยมความผอมในอุดมคติต่อความตั้งใจในการดูแลรูปร่าง โดยมีการรับรู้ตนเสมือนวัตถุเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Impacts of public self-awareness and thin-ideal internalization on intention to take care of your body : the mediating effect of self-objectification
Authors: ธิดารัตน์ เถลิงศักดานุวงศ์
นวลพรรณ ศรียานงค์
เพ็ญพิชชา วงศ์ประภาธิวัฒน์
Advisors: ประพิมพา จรัลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Prapimpa.J@chula.ac.th,prapimpa.j@gmail.com
Subjects: ความครุ่นคิดเกี่ยวกับตนเอง
ความผอม -- แง่จิตวิทยา
น้ำหนักตัว -- การควบคุม -- แง่จิตวิทยา
Self-consciousness (Awareness)
Leanness -- Psychological aspects
Body weight -- Regulation -- Psychological aspects
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดประสงค์ของการทำงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการทดสอบอิทธิพลของการตระหนักในตนเองจากมุมมองภายนอกและการซึมซับค่านิยมความผอมในอุดมคติต่อความตั้งใจในการดูแลรูปร่างโดยมีการรับรู้ตนเสมือนวัตถุเป็นตัวแปรส่งผ่านอิทธิพล กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวนทั้งสิ้น 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ มาตรวัดการตระหนักรู้ในตนเองจากมุมมองภายนอก มาตรวัดการซึมซับค่านิยมความผอมในอุดมคติ มาตรวัดการรับรู้ตนเสมือนวัตถุ และมาตรวัดการดูแลรูปร่าง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ โปรแกรม PROCESS for SPSS (Hayes, 2012) ผลการวิจัยพบอิทธิพลทางบวกของการตระหนักในตนเองจากมุมมองภายนอกที่มีต่อความตั้งใจในการดูแลรูปร่าง โดยการรับรู้ตนเสมือนวัตถุมีอิทธิพลส่งผ่านโดยสมบูรณ์ (Full mediation) กล่าวคือ เมื่อคนเรามีการตระหนักในตนเองจากมุมมองภายนอกสูงจะส่งผลให้บุคคลมีความตั้งใจที่จะดูแลรูปร่างมากขึ้นด้วยวิธีการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นเกิดการรับรู้ตนเสมือนวัตถุ นอกจากนี้ ยังพบอิทธิพลทางบวกของการซึมซับค่านิยมความผอมในอุดมคติต่อความตั้งใจในการดูแลรูปร่าง แต่ไม่พบการรับรู้ตนเสมือนวัตถุเป็นอิทธิพลส่งผ่าน กล่าวคือ เมื่อเราเกิดการซึมซับค่านิยมความผอมในอุดมคติที่สูง จะส่งผลทางตรงให้บุคคลมีความตั้งใจที่จะดูแลปรับเปลี่ยนรูปร่างด้วยวิธีการออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักโดยที่ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดการรับรู้ตนเสมือนวัตถุ
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the impacts of public self-awareness and thin-ideal internalization on intention to take care of your body with self-objectification as a mediator among 108 college students. Participants responded to the measures of public self-awareness, thin ideal internalization, intention to take care of your body and self-objectification. PROCESS for SPSS (Hayes, 2012) was employed for hypothesis testing. The results indicated that self-objectification fully mediated relationship between public self-awareness and intention to take care of your body, such that participant high on public self-awareness tend to have higher levels of self-objectification, which will result in higher intention to take care of your body. On the other hand, no mediation effect of self-objectification was found for the relationship between thin ideal internalization and intention to take care of your body. This suggests that participant high on thin ideal internalization tend to have a higher intention to take care of your body, but it might be unnecessary for them to engage in self-objectification.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57924
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thidarat_th.pdf949.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.