Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุษยรัตน์ สันติวงศ์-
dc.contributor.advisorเอมอร เบญจวงศ์กุลชัย-
dc.contributor.advisorจินตกร คูวัฒนสุชาติ-
dc.contributor.authorเบญจวรรณ เลิศปันณะพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-01T03:08:54Z-
dc.date.available2018-05-01T03:08:54Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58631-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractโรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง เนื่องจากแนวคิดของสาเหตุของโรคฟันผุมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดการป้องกันโรคฟันผุวิธีใหม่ การใช้โพรไบโอติกเป็นวิธีใหม่ที่รักษาสมดุลของระบบนิเวศของเชื้อจุลินทรีย์ในร่างกาย โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ เชื้อที่ได้รับความสนใจใช้เป็นโพรไบโอติกสำหรับการวิจัยทางทันตกรรมคือ เชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความสามารถของเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลุ่ม มิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค โดยนำผลิตผลของเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรีย 4 สายพันธุ์ (เชื้อสเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส สายพันธุ์ ATCC19258 เชื้อแลคโตบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ ซับสปีชีส์บัลแกริคัส สายพันธุ์ ATCC11842 เชื้อแลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส สายพันธุ์ TUA093L และเชื้อแลคโตบาซิลลัส แรมโนซัส สายพันธุ์ ATCC7469) ที่เลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบเหลว ทดสอบการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลุ่มมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค 5 สายพันธุ์ (เชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ สายพันธุ์ ATCC25175 Ingbritt TPF-1 เชื้อสเตรปโตคอคคัส โซไบรนัส สายพันธุ์ B13 และ 6715) ด้วยวิธีการแพร่ในอาหารเลี้ยงเชื้อแบบวุ้น วัดเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณที่ไม่มีเชื้อขึ้น ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า เชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียที่นำมาทดสอบ 3 สายพันธุ์ ให้ผลิตผลที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลุ่มมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ดังนี้ เชื้อสเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ สายพันธุ์ ATCC25175 เชื้อแลคโตบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส โซไบรนัส สายพันธุ์ B13 เชื้อแลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคคัส มิวแทนส์ สายพันธุ์ Ingbritt และ TPF-1 ได้มากกว่าเชื้อสเตรปโตคอคคัส โซไบรนัส สายพันธุ์ B13 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนเชื้อแลคโต-บาซิลลัส แรมโนซัส ไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลุ่มมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเชื้อสเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส เชื้อแลคโตบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ และ เชื้อแลคโตบาซิลลัส บัลแกริคัส สามารถสร้างสารที่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลุ่มมิวแทนส์ สเตรปโตคอคไค ได้บางสายพันธุ์en_US
dc.description.abstractalternativeDental caries are the most common and costly forms of infections in humans. Due to the concept of changed dental caries causation, the new preventive method is introduced. Probiotic is a new preventive method that maintains the equilibrium of microbial ecology of human’s body by using benefit microorganisms to eliminate pathogenic microorganisms. Lactic acid bacteria (LAB) has been the most interesting probiotic in using in dental research. The aim of the present research was to determine antimicrobial effect of LAB against mutans streptococci. Four strains of LAB (Streptococcus thermophilus ATCC19258, Lactobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus ATCC11842, Lactobacillus bulgaricus TUA093L, Lactobacillus rhamnosus ATCC7469) were cultured in broth. The supernatant from each LAB cultural broth was prepared for testing in order to against 5 strains of mutans streptococci (Streptococcus mutans ATCC25175, Streptococcus mutans Ingbritt, Streptococcus mutans TPF-1 and Streptococcus sobrinus B13 and Streptococcus sobrinus 6715) by well agar diffusion method. The diameter of the bacterial inhibition zone was measured. The present study found that the supernatant from 3 strains of LAB, except L. rhamnosus, significantly inhibited growth of some mutans streptococci; S. thermophilus inhibited growth of S. mutans ATCC25175, L. delbrueckii inhibited growth of S. sobrinus B13, L. bulgaricus inhibited growth of S. mutans Ingbritt and TPF-1 more than S. sobrinus B13 (p<.05). The results suggest that S. thermophilus, L. delbrueckii and L. bulgaricus have some antimicrobial substance againsted some strains of mutans streptococci.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแบคทีเรียกรดแล็กติกen_US
dc.subjectสเตรปโตค็อกคัสen_US
dc.subjectโพรไบโอติกen_US
dc.subjectฟันผุen_US
dc.subjectLactic acid bacteriaen_US
dc.subjectStreptococcusen_US
dc.subjectProbioticsen_US
dc.subjectDental Cariesen_US
dc.titleผลของแลคติกแอซิดแบคทีเรียต่อการเจริญเติบโตของเชื้อสเตรปโตคอคไค : การศึกษาในห้องปฏิบัติการen_US
dc.title.alternativeThe effect of lactic acid bacteria on growth of streptococci : in vitro studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBusayarat.L@Chula.ac.th-
dc.email.advisorem-on.b@chula.ac.th-
dc.email.advisorkjintako@chula.ac.th-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjawan_Le.pdf35.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.