Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58889
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวรรณา สถาอานันท์-
dc.contributor.authorศากุน ภักดีคำ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-05-26T09:54:40Z-
dc.date.available2018-05-26T09:54:40Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58889-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเรื่องอารมณ์ในจริยศาสตร์ของขงจื๊อว่าอารมณ์มีความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ทางจริยศาสตร์อย่างไร และอารมณ์มีบทบาทในจริยศาสตร์ของขงจื๊ออย่างไร จากการศึกษาพบว่า อารมณ์ทางศีลธรรมมีความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ทางจริยศาสตร์ทั้งสาม ได้แก่มนุษยธรรม(เหริน) จารีต(หลี่) และความถูกต้อง(อี้) กล่าวคือมนุษยธรรมเป็นเงื่อนไขจำเป็นต่อการมีอารมณ์ทางศีลธรรมและในฐานะความรักมนุษย์ก็เป็นอารมณ์ทางศีลธรรมในตัวเอง จารีตเป็นวิถีทางในการแสดงออกของอารมณ์โดยกำกับและขัดเกลาอารมณ์ของมนุษย์ให้มีขอบเขตเหมาะสม ความถูกต้องเป็นสิ่งที่ช่วยกำกับให้อารมณ์ของมนุษย์สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทที่หลากหลายอารมณ์ตาม "ธรรมชาติ" จะสามารถพัฒนาไปสู่อารมณ์ทางศีลธรรมได้โดยผ่านการขัดเกลาด้วยกวีนิพนธ์ จารีตและดนตรี ในปรัชญาขงจื๊ออารมณ์ทางศีลธรรมหลักได้แก่ ความรัก ความเกลียด ความโศกเศร้า ความละอายและความยินดีเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิตที่ดีทางจริยธรรมโดยมีบทบาทแตกต่างกัน ความรักมนุษย์เป็นคุณธรรมที่เรียกว่ามนุษยธรรมและเป็นแรงจูงใจในการกระทำทางศีลธรรม ความเกลียดความโศกเศร้าและความละอายทำหน้าที่ในการประเมินคุณค่าของบุคคลและการกระทำทางศีลธรรม ความละอายเป็นความรอบคอบและความรับผิดชอบทางศีลธรรม ความยินดีเป็นอารมณ์ที่แสดงถึงการตั้งมั่นของคุณธรรมของบุคคล อย่างไรก็ตามอาจโต้แย้งได้ว่าอารมณ์ในจริยศาสตร์ของขงจื๊อมีข้อจำกัดโดยเน้นแต่อารมณ์ที่ผ่านการขัดเกลาทางศีลธรรม และไม่ให้ความสนใจกับอารมณ์ตามธรรมชาติของมนุษย์ อีกทั้งละเลยอารมณ์บางอย่าง เช่น อารมณ์ขันซึ่งเป็นอารมณ์ที่ปรัชญาเต๋าให้ความสำคัญen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis is an attempt to explicate how emotions and Confucius' ethical concepts are related and how emotions play important roles in Confucius' ethics. Moral emotion is related to three main ethical concepts, namely, humaneness (ren), propriety (li) and righteousness (yi). Humaneness is the necessary condition of moral emotion and as love, humaneness is itself a moral emotion. Propriety is not only the way to express emotions but also guides and cultivates human emotion. Righteousness leads emotions in various situations and contexts. Moral emotion can be developed and cultivated by poetry, propriety and music. Major moral emotions in Confucian philosophy consist of love, hatred, sorrow, shame and joy. All of these play important parts for the good life. Love or humaneness is a moral virtue; ren is a source of moral motivation. Hatred, sorrow and shame are emotions that form evaluation of persons and moral actions. Shame, especially, is both moral deliberation and moral responsibility. Finally, joy is an emotion which manifests the pleasure of being upright of a person with moral virtues. However, it can be argued emotions in Confucius' ethics are restricted merely to cultivated emotions. Confucius' ethics seems to be unconcerned about natural emotions and also neglects some emotions such as humour, which is a significant emotion for Daoism.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.406-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอารมณ์en_US
dc.subjectปรัชญาขงจื๊อen_US
dc.subjectจริยศาสตร์en_US
dc.subjectEmotionsen_US
dc.subjectPhilosophy, Confucianen_US
dc.subjectEthicsen_US
dc.titleบทบาทของอารมณ์ในจริยศาสตร์ของขงจื๊อen_US
dc.title.alternativeRole of emotion in confucius' ethicsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineปรัชญาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwanna.Sat@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.406-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sakun_pa_front.pdf956.21 kBAdobe PDFView/Open
sakun_pa_ch1.pdf561.52 kBAdobe PDFView/Open
sakun_pa_ch2.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open
sakun_pa_ch3.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open
sakun_pa_ch4.pdf8.47 MBAdobe PDFView/Open
sakun_pa_ch5.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
sakun_pa_back.pdf887.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.