Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58907
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Factors affecting the aspiration for further study in vocational education program among mattayom suksa three students in schools under Phra Nakhon Si Ayutthaya Educational Service Area Office
Authors: สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล
Advisors: พัฒนาวดี ชูโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
Advisor's Email: pattanawadee.x@chula.ac.th
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- การศึกษาต่อ
อาชีวศึกษา
การศึกษา -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
Junior high school students -- Education
Vocational education
Education -- Thailand -- Phra Nakhon Si Ayutthaya
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา และค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง 904 ราย คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน และกลุ่มตัวอย่างกรอกแบบสอบถามด้วยตัวเองผลการศึกษาพบว่า นักเรียนร้อยละ 49.2 มีความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา ด้วยเหตุผลสำคัญ คือ ผู้ปกครองต้องการให้เรียนอาชีวศึกษา เมื่อเรียนจบแล้วหางานทำง่าย และสนใจหรือชอบเรียนทางวิชาชีพ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบง่าย พบว่า เพศ จำนวนพี่น้องในครอบครัว ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ความสนใจในวิชาชีพ ทัศนคติเกี่ยวกับอาชีวศึกษา และการรู้จักโครงการ “คนพันธุ์อา” มีอิทธิพลต่อโอกาสที่จะต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุ พบว่า ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ตัวแปรอิสระทั้งหมด 13 ตัว สามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา ได้ร้อยละ 81.7 นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิภาคแบบพหุขั้นตอน พบว่า การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว เป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายการแปรผันของความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษาได้เป็นลำดับแรก คือ ร้อยละ 70.9 รองลงไปได้แก่ ความสนใจในวิชาชีพ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน การรู้จักโครงการ “คนพันธุ์อา” และทัศนคติเกี่ยวกับอาชีวศึกษา ซึ่งเพิ่มอำนาจการอธิบายการแปรผันของความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา ได้ร้อยละ 6.6, 1.3, 0.9, 0.4 และ 0.5 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรอิสระตัวอื่นๆ ไม่ได้เพิ่มอำนาจการอธิบายการแปรผันของความต้องการศึกษาต่อในระดับอาชีวศึกษา ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Other Abstract: This research is aimed at determining the aspiration for further study in Vocational Education programs among Mattayom Suksa Three (Grade Nine) students in schools affiliated with the Phra Nakhon Si Ayutthaya Educational Service Area Office, and finding out the factors affecting the aspiration. The 904 sampled students are selected with two stages sampling technique. Data collection is conducted by self-administered questionnaires. The results suggest that 49.2 percent of the sampled students wish to study in Vocational Education program. Simple Binary Logistic Regression Analysis reveals that their sex, number of siblings, GPA achievement, influence of peer, encouragement from parents, interest in Vocational Education, attitude toward Vocational Education, and be aware of “Generation R Project” (R comes from R-Chee-Wa = Vocational Education) affect the aspiration at a statistically significant level of 0.05. Multiple Binary Logistic Regression Analysis indicates that all thirteen independent variables together can significantly explain the variation of the aspiration for further study in Vocational Education program at about 81.7 percent. In addition, Stepwise Multiple Binary Logistic Regression Analysis reveals that encouragement from parents is the prime factor in explaining the variation of the aspiration by 70.9 percent, followed by interest in Vocational Education, GPA achievement, influence of peer, be aware of “Generation R Project” and attitude toward Vocational Education, which increase the explanatory power by 6.6, 1.3, 0.9, 0.4, and 0.5 percent, respectively, whereas the remaining independent variables do not increase the explanatory power at the 0.05 significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประชากรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58907
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.686
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.686
Type: Thesis
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
subhachak_sa_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
subhachak_sa_ch1.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
subhachak_sa_ch2.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
subhachak_sa_ch3.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
subhachak_sa_ch4.pdf857.36 kBAdobe PDFView/Open
subhachak_sa_back.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.