Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59032
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | บุญยง ชื่นสุวิมล | - |
dc.contributor.author | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพฯ | - |
dc.date.accessioned | 2018-06-05T09:15:24Z | - |
dc.date.available | 2018-06-05T09:15:24Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59032 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจในโครงสร้างครอบครัวญี่ปุ่น ความเป็นมา จำนวนสมาชิก การอบรมสั่งสอน การปฏิบัติตามประเพณีในรอบปี และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น วิธีการวิจัยเป็นแบบมานุษยวิทยาโดยใช้เครื่องมือวิจัยในการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครอบครัวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในย่านถนนสุขุมวิทจำนวน 27 ครัวเรือน จากการศึกษาพบว่า 1. ครอบครัวญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดี่ยวขนาดเล็ก มีบุตรเพียง 1 หรือ 2 คน และยังคงมีลักษณะ Patrilineal descent กล่าวคือพ่อบ้านยังคงหารายได้เป็นหลัก ส่วนแม่บ้านเป็นผู้ดูแลบ้านและเลี้ยงดูบุตร แต่เมื่อมีเรื่องสำคัญ สามีกับภรรยาจะตัดสินใจร่วมกัน 2. ความคิดที่จะให้บุตรชายสืบทอดกิจการคนเดียวตามระบบครอบครัว อิเอะ เดิมนั้น เริ่มคลายตัวลง ครอบครัวญี่ปุ่นในไทยไม่ได้กำหนดผู้สืบทอดที่ชัดเจน 3. การอบรมเลี้ยงดูสมาชิกเมื่อยังเยาว์อยู่นั้นค่อนข้างเข้มงวด แต่เมื่อเติบโตขึ้นค่อนข้างจะให้อิสระทั้งชายและหญิง แต่จะเข้มงวดกับหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย 4. ชุมชนญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ มีลักษณะ Heterogeneity ประกอบด้วยคนญี่ปุ่นที่หลายหลายด้วย ฐานะ ตำแหน่ง สถานะ อายุ ความพอใจ จะไม่มีความสัมพันธ์ในแนวราบ แต่จะมีความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง เมื่อสังกัดกับกลุ่ม หรือองค์การที่มี ความสัมพันธ์ภายในกลุ่มค่อนข้างอบอุ่น 5. ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สำหรับบุตรก็จะให้การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเช่นกันไม่มีความแตกต่างระหว่างชายหญิง แสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง 6. การปฏิบัติตามประเพณีญี่ปุ่นในรอบปีเริ่มลดน้อยลงกว่าเมื่อตนเองยังอยู่กับครอบครัวเดิมในประเทศญี่ปุ่น 7. วัฒนธรรมประเพณีไทยเริ่มเข้ามามีส่วนในวงจรชีวิตของครอบครัวชาวญี่ปุ่นไม่ว่าในด้านการศึกษา หรือในด้านความเชื่อ ในด้านการศึกษา ครอบครัวญี่ปุ่นส่งบุตรเข้าเรียนโรงเรียนไทย หรือมีการพาบุตรของตนเข้าวัดไทยทำบุญเป็นต้น 8. ครอบครัวชาวญี่ปุ่นยังคงติดต่อกับวัฒนธรรมเดิมของตน คือ พ่อ แม่ พี่น้อง ไม่ได้ตัดขาดจากวัฒนธรรมเดิม ทำให้ครอบครัวยังคงรักษาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research objection is to understand deeply in Japanese family structure, history, membership, socialization, tradition, and any changes to this structure. This research method is an anthropology methodology which collect datas or informations by interviewing. From researchin 27 families in Sukhumvit area, it was found that 1. Japanese family is a nuclear family that have one or two childs average per one family. Moreover, Japanese family is a patrilineal descent characteristic that husband have to responsible for earning income for his family and wife is to take care of their children and home service. However, they both have to decide together in case of a important matter or problems. 2. The unique idea for the first son who is an inherit descendant that is being disappear in Japanese family ; for instance, the model family called IE in japan. Japanese family in Thailand do not limit absolutely for a descendant nowadays. 3. Socialization for Japanese family is still rather strict. When they grow up to be adult, they have own independent lives both women and men. However, it will be more slightly strict for women than men. 4. Japanese community in Bangkok is a heterogeneity which is composed of various kinds of Japanese people : rank, status, social, age, satisfaction, and so on. But it does not a horizontal relationship but is a vertical relationship whenever they always involve or contact with organization or group. 5. Almost all interviewees are educated in university. And it does not have any different education between women and men. It is shown that there is equivalent both women and men. 6. A Japanese behavior or pewrformance as tradition is becoming decrease when comparing with the former family. 7. At present, Thai culture assimilate to Japanese family circle life in education, belief, or others. For instance, most Japanese family educate their children to study in Thai school or take them to go to Thai temple to learn for it. 8. Japanese family always contact to their former culture : father, mother, relatives. This result that they still consere their unique culture up to present. | en_US |
dc.description.sponsorship | เงินอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | ครอบครัว -- ไทย | en_US |
dc.subject | กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ | en_US |
dc.subject | ชาวญี่ปุ่น -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี | en_US |
dc.title | สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร : ระบบครอบครัวญี่ปุ่นกับชุมชนญี่ปุ่นในย่านถนนสุขุมวิท : รายงานผลการวิจัย | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Pol - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonyong Ch_Res_2544.pdf | 2.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.