Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59107
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชลดา เรืองรักษ์ลิขิต-
dc.contributor.authorธานีรัตน์ จัตุทะศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-18T11:14:59Z-
dc.date.available2018-06-18T11:14:59Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59107-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษากลวิธีการสร้างพระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ 2 ในฐานะนิทานปันหยีให้เป็นยอดแห่งวรรณคดีบทละครใน ผลการศึกษาเปรียบเทียบเรื่องอิเหนากับนิทานปันหยี 33 สำนวนพบว่าเรื่องอิเหนาแสดงลักษณะของนิทานปันหยี 3 ประการ กล่าวคือ ยังคงแสดงโครงเรื่องของนิทานปันหยีที่ประกอบด้วย 9 เหตุการณ์หลักและเก็บรักษาเนื้อหาที่แสดงความเป็นนิทานวีรบุรุษของนิทานปันหยี ตัวเอกฝ่ายชายและหญิงแสดงคุณสมบัติและบทบาทของตัวเอกแบบนิทานวีรบุรุษเช่นเดียวกับตัวเอกในนิทานปันหยี และนำเสนอวัฒนธรรมชวามลายูเช่นเดียวกับที่พบในนิทานปันหยี ลักษณะของนิทานปันหยีที่ปรากฏในเรื่องอิเหนาดังกล่าวนี้สอดคล้องกับขนบของวรรณคดีบทละครในเป็นอย่างดีและมิได้ขัดแย้งกับวัฒนธรรมไทย สะท้อนให้เห็นพระอัจฉริยภาพของกวีในการปรับใช้นิทานปันหยีอย่างเด่นชัด นอกจากนี้ ยังพบว่าขณะที่เรื่องอิเหนาสืบทอดความเป็นนิทานปันหยีไว้ก็มีการเพิ่มรายละเอียดที่ช่วยสร้างบรรยากาศไทยและเสริมบรรยากาศชวามลายูแก่เรื่องด้วย และสร้างสีสันแก่ตัวละครโดยการเสริมบุคลิกบางอย่างที่ทำให้ตัวละครมีชีวิตชีวาจับใจผู้อ่านผู้ชมในการรังสรรค์เรื่องอิเหนาเป็นวรรณคดีบทละครในพบว่าขนบวรรณคดีไทยและขนบการแสดงละครในเป็นกรอบสำคัญในการแต่ง ขนบทั้ง 2 ประการนี้ผสานเข้ากับความเป็นนิทานปันหยีอย่างกลมกลืน ทำให้เรื่องอิเหนาเหมาะทั้งแก่การอ่านและการแสดง ในฐานะวรรณคดีเพื่อการอ่านเรื่องอิเหนาใช้ภาษาได้อย่างไพเราะคมคาย นำเสนออารมณ์ความรู้สึกตัวละครอย่างเด่นชัดผ่านบทพรรณนาและการใช้ภาษาแสดงอารมณ์ความรู้สึก สร้างจินตนาการอย่างยอดเยี่ยม โดยใช้คำจินตภาพและคำแสดงนาฏการ ตัวละครมีชีวิตชีวา และผสานความเป็นไทยกับชวามลายูได้อย่างลงตัว ส่วนในฐานะบทสำหรับแสดงละครใน เรื่องอิเหนาสามารถใช้แสดงได้อย่างงดงาม มีช่องทางให้รำอวดฝีมือได้หลายตอน และมีเสน่ห์จากการผสานความเป็นไทยกับชวามลายูในการแสดง เรื่องอิเหนาในฐานะวรรณคดีบทละครในนี้มีลักษณะเด่นต่างจากนิทานปันหยีหลายลักษณะ ที่เห็นได้ชัดคือมุ่งเน้นนำเสนอความรักและอารมณ์อันเข้มข้นของตัวเอกมากกว่าเรื่องการทำศึกสงคราม เน้นภาพนักรักที่มีชีวิตชีวา มีชั้นเชิงและมีพัฒนาการของตัวเอกฝ่ายชาย ให้ความสำคัญแก่การสร้างจินตนาการทั้งฉากและตัวละคร และนำเสนอความเป็นไทยกับชวามลายูควบคู่กัน ความเป็นยอดแห่งวรรณคดีบทละครในของเรื่องอิเหนาดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นพระอัจฉริยภาพของกวีในการรับและรังสรรค์เรื่องที่มาจากต่างชาติจนเกิดสัมฤทธิ์ผลทางสุนทรียะและคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ในฐานะยอดแห่งวรรณคดีบทละครในอย่างแท้จริงen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying how Inao of King Rama II is composed from the Panji cycle to be a masterpiece of Thai court drama literature. From the comparative study of Inao with thirty-three Panji stories, the study reveals that Inao preserves three major characteristics of the Panji stories. First, Inao maintains the plot of the Panji stories which consists of nine main incidents and the content of a heroic tale. Second, Inao preserves the ideal characteristics and the heroic roles of the hero and the heroine of the Panji stories. Third, Inao presents Javanese and Melayu culture as existing in the Panji stores. These characteristics of the Panji stories as represented in Inao are well combined with Thai literary tradition, Thai court drama tradition, and Thai culture, reflecting the poet's ability in choosing and adopting the suitable elements of the Panji stories to compose a Thai literary text. It is also found in the study that the poet colourises and increases the charm of the story by adding certain aspects of Thai, Javanese, and Melayu culture, as well as adapting some characters of the story to be more lively. The poet composes Inao to be a Thai court drama literature by using both Thai literary tradition and Thai court drama tradition. As a result, the story is a masterpiece of Thai court drama literature that is excellent in reading and the performing at the same time. As a Thai literary text, Inao is outstanding for its exquisite language in expressing strong emotions through various descriptions, in arousing imagination through imagery and the words which give details of movement, in describing characters to be lively, as well as in harmonizing Thai, Javanese and Melayu cultures. As a Thai court drama, Inao can be used to beautifully sing and dance at the same time, and it is therefore acclaimed to be the performance that is suitable to reveal the high skill of dancing. Also, as a Thai court drama literature, Inao contains features which are prominent from other Panji stories by emphasizing the romantic elements and the strong emotions of the hero rather than highlighting the battles as in the Panji stories. The various artful descriptions that clearly evoke imagination as well as the creative combination of Thai, Javenese, and Melayu culture are also definitely the factors that make Inao to be unique from the Panji stories. Indo therefore, evidence the ability and the wisdom of the poet in transforming the foreign tales into a masterpiece of Thai court drama literature.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1396-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบทละครไทยen_US
dc.subjectพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2310-2367 -- กวีนิพนธ์en_US
dc.subjectKing Rama II -- Poetryen_US
dc.subjectThai dramaen_US
dc.titleพระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ 2 : การสร้างนิทานปันหยีให้เป็นยอดแห่งวรรณคดีบทละครในen_US
dc.title.alternativeInao of King Rama II : the making of the panji cycle into a masterpiece of Thai court drama literatureen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorCholada.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1396-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thaneerat Jatuthasri.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.