Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5924
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ-
dc.contributor.authorพรเทพ สหชัยรุ่งเรือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-02-20T10:04:02Z-
dc.date.available2008-02-20T10:04:02Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741718659-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5924-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstract"การเดินทางข้ามเวลา" ในวิทยานิพนธ์นี้หมายถึงการเดินทางกลับไปสู่อดีต ซึ่งเป็นปัญหาที่สามารถศึกษาได้หลายแนวทาง แต่ผู้เขียนศึกษาในแง่ของความเป็นไปได้ทางตรรกะเท่านั้น วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์คือเพื่อศึกษามโนทัศน์เรื่อง การเดินทางข้ามเวลา วิเคราะห์ปฏิทรรศน์ต่างๆ ของการเดินทางข้ามเวลา ที่ถกเถียงกันอยู่ในปรัชญา และประเมินความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามเวลา ผู้เขียนจะเริ่มต้นการศึกษาด้วย ปัญหาเชิงปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลา ซึ่งแบ่งเป็นสองรูปแบบหลัก ได้แก่ ปฏิทรรศน์คุณปู่และปฏิทรรศน์ความรู้ ปฏิทรรศน์คุณปู่ได้แสดงว่า การเดินทางข้ามเวลามีนัยไปสู่สถานการณ์ที่ขัดแย้งในตัวเอง เช่น การฆ่าปู่ก่อนการให้กำเนิดพ่อของตัวเอง ดังนั้น การเดินทางข้ามเวลาจึงเป็นไปไม่ได้ทางตรรกะ ลูอิสปฏิเสธการส่อนัยนี้ด้วยการชี้ให้เห็นว่า สถานการณ์เหล่านั้นจะถูกขัดขวางด้วยความบังเอิญ แต่ผู้เขียนเห็นด้วยกับข้อเสนอของฮอร์วิชที่ว่า ความบังเอิญซึ่งทำให้การพยายามฆ่าปู่ต้องล้มเหลว อย่างต่อเนื่องนั้นเป็นเหตุผลเชิงประจักษ์ ที่ทำให้อนุมานได้ว่าการเดินทางข้ามเวลา มีนัยไปสู่สถานการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ดังนั้น การเดินทางข้ามเวลาจึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในโลกที่เป็นอยู่ ส่วนปฏิทรรศน์ความรู้ได้แสดงว่า การเดินทางข้ามเวลามีนัยไปสู่สถานการณ์ที่แปลกประหลาด อันได้แก่ การเป็นพ่อแม่ตัวเองของนักเดินทางข้ามเวลา การเกิดวัตถุทางกายภาพจากความว่างเปล่า และการได้ความรู้โดยปราศจากกระบวนการแก้ปัญหา แต่ผู้เขียนแสดงให้เห็นว่า ปฏิทรรศน์นี้ไม่ได้มีนัยไปสู่ความขัดแย้งในตัวเอง ดังนั้น การเดินทางข้ามเวลาจึงไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ทางตรรกะ แต่ด้วยแนวเหตุผลของฮอร์วิช จากสิ่งที่เรารู้ว่าจริงในโลกของเรา เรามีเหตุผลเชิงประจักษ์ที่จะอนุมานได้เช่นกันว่า การเดินทางข้ามเวลาไม่น่าจะเป็นไปได้ในโลกที่เป็นอยู่ ท้ายที่สุด ผู้เขียนจะพิจารณาข้อเสนอของด๊อทยช์และล็อควูด ที่ใช้การตีความการมีหลายจักรวาล ของกลศาสตร์ควอนตัมเพื่อแก้ปฏิทรรศน์ของการเดินทางข้ามเวลา แม้ว่าจะสามารถเลี่ยงปัญหาเชิงปฏิทรรศน์ได้ แต่ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า จากปัญหาเกี่ยวกับจักรวาลคู่ขนานที่มีเป็นอนันต์ ในการตีความเช่นนั้น แนวคิดดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางญาณวิทยาen
dc.description.abstractalternativeIn this thesis, "time travel" means travelling backward to the past, which is a problem studied in many approaches. But I study only the problem of logical possibility. The purposes of the thesis are to study the concept of time travel; analyze the paradoxes of time travel discussed in philosophy; and evaluate the possibility of time travel. Firstly, I study the paradoxical problems of time travel, which have two main forms: Grandfather paradox and Knowledge paradox. Grandfather paradox showed that time travel entails self-contradictory situations, such as killing grandfather before begetting one's own father-hence it is itself logically impossible. Lewis rejected this entailment by indicating that these situations will be foiled by coincidences. But I agree with Horwich's proposal that the coincidences that make killing-grandfather attempts continuously fail provide empirical reason to infer that time travel entails the improbable situations. Hence time travel is unlikely to occur in the actual world. Knowledge paradox demonstrated that time travel entails bizarre situations, self-parenting of time traveller, creation ex-nihilo of physical objects and deriving knowledge without problem-solving process. But I show that this paradox does not imply any self-contradiction-hence time travel is not logically impossible. But according to Horwich's reasoning we also have empirical reasons, from what known to be true in our world, to infer that time travel is improbable in the actual world. Secondly, I consider the proposition of Deutsch and Lockwood on using many-universe interpretation of quantum mechanics to dissolve the paradoxes of time travel. Though it could avoid the paradoxical problems I point out that this idea is, due to the problem of infinite parallel universes in such interpretation, epistemologically impossible.en
dc.format.extent1165058 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.390-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเวลาen
dc.subjectการเดินทางข้ามเวลาen
dc.titleมโนทัศน์เรื่องการเดินทางข้ามเวลาen
dc.title.alternativeThe concept of time travelen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsiriphen.p@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.390-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornthep.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.