Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปองสิน วิเศษศิริ-
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.authorณันศภรณ์ นิลอรุณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-30T04:39:44Z-
dc.date.available2018-06-30T04:39:44Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59282-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและมีวัตถุประสงค์ย่อย 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ระบบการจัดการความรู้ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) เพื่อสังเคราะห์และออกแบบระบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ 3) เพื่อทดลอง ประเมินผล และนำเสนอระบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา 5 ขั้นตอน คือ 1)การศึกษาเอกสาร กำหนดกรอบแนวคิด 2) การศึกษาสภาพการปฏิบัติงานตามระบบการจัดการความรู้ โดยการสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของเขตพื้นที่การศึกษา 178 แห่ง และสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจัดการความรู้ของเขตพื้นที่การศึกษานำร่องการจัดการความรู้ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 แห่ง ประกอบกับการวิเคราะห์ สังเคราะห์รูปแบบและระบบการจัดการความรู้ตามบทบาทภารกิจของเขตพื้นที่การศึกษา 3) ออกแบบและตรวจสอบคุณภาพของระบบการจัดการความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นำไปใช้โดยการทดลองกับเขตพื้นที่การศึกษาที่สมัครใจ 1 แห่ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน 5) ประเมินผลการดำเนินงานตามระบบการจัดการความรู้ของเขตพื้นที่การศึกษา และนำเสนอระบบการจัดการความรู้ของเขตพื้นที่การศึกษาที่สมบูรณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ระบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ระบบที่สำคัญ 2 ระบบหลัก คือ 1) ระบบทั่วไปของการจัดการความรู้ 2) ระบบเฉพาะของการจัดการความรู้โดยระบบที่ออกแบบระบุความเป็นมาและความสำคัญ ความหมาย วัตถุประสงค์ หลักการ วิธีการดำเนินการ คำอธิบายประกอบ แนวทางและเงื่อนไขของการนำระบบไปใช้ ได้รับการตรวจสอบรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมมากที่สุด จากการทดลองมีผลการดำเนินการจัดการความรู้ในภาพรวมระดับมาก ค่าเฉลี่ยของผลการดำเนินการจัดการความรู้ ระดับบุคคลอยู่ระหว่าง 3.33-4.00 และมีค่าเฉลี่ยผลการจัดการความรู้ระดับกลุ่มและองค์กรอยู่ระหว่าง 3.33-3.70 จากการเปรียบเทียบพบว่า ค่าเฉลี่ยการดำเนินงานตามระบบการจัดการความรู้หลังการทดลองมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งระบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าวมีสาระสำคัญโดยสังเขป ดังนี้ 1. ระบบทั่วไปของการจัดการความรู้มีองค์ประกอบย่อย 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) ด้านสภาพแวดล้อม 1.2) ด้านสิ่งนำเข้า 1.3) ด้านกระบวนการ 1.4) ด้านสิ่งที่ส่งออก และ 1.5) ด้านสิ่งที่ย้อนกลับ 2. ระบบเฉพาะของการจัดการความรู้มีองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน ได้แก่ 2.1) ด้านโครงสร้างการจัดการความรู้ 2.2) ด้านบุคลากรการจัดการความรู้ 2.3) ด้านภารกิจการจัดการความรู้ และ 2.4) ด้านเทคโนโลยีการจัดการความรู้en_US
dc.description.abstractalternativeThis main objective of this research was to develop a knowledge management system in educational service areas. It had three sub-objectives: 1) To develop and analyze the knowledge management of the educational service areas; 2) To synthesize and design a new knowledge management system of the educational service areas; and 3) To test, evaluate and present a knowledge management system of the educational service areas by using the 5-step research and development process. The 5-step process included: Step 1 : Literature review and setting up of research framework; Step 2: Analyzing the current state of knowledge management system by interviewing stakeholders and those involved with knowledge management within 178 educational service areas. This step also involved interviews with top-level and senior-level executives, as well as with staff who implemented knowledge management in 8 pilot educational service areas under the supervision of the Office of Basic Educational Commission. These interviews and data-gathering were used in the analysis, synthesis and systematic management of knowledge based on the missions of educational service areas. Step 3: Design and assess quality of knowledge management systems by experts and qualified persons. Step 4: To role out a test out a test study in a volunteer educational service area for a period of 6 months. Step 5: To evaluate the results of knowledge management in the studied educational area and to present a holistic approach to knowledge management. The research had found that a systematic knowledge management of educational service areas had two types of system, namely: 1) a general system of knowledge management and 2) a specific management of knowledge. The second system was designed to address the origins, significance, objectives, principles and methods, explanations, ways and the conditions when using knowledge management. This method had been tested, assessed and approved by experts and qualified persons, and had achieved a high score in the average among expert opinions. From a trial study, it had been found that most systems fall within the general knowledge management category. The average scores of knowledge management and the human resource management aspect ranged between 3.33-4.00, while the average score of knowledge management by groups and organizations ranged between 3.33 -3.70. A comparison between before- and after- a trial study of knowledge management was conducted, and it had found that after the trial, a knowledge management achieved a score that has a statistically significance of .01. In summary, the knowledge management in educational service areas had the following aspects: 1) A general system of knowledge management had the following 5 factors: 1.1) environmental; 1.2) input analysis; 1.3) process analysis; 1.4) output analysis; and 1.5) a reverse consequence or feedback. 2) A specific knowledge management system had 4 sub factor: 2.1) a knowledge management structure; 2.2) human resources in managing knowledge; 2.3) missions to manage knowledge; and 4) a technology to manage knowledge.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.556-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้ -- เทคโนโลยีสารสนเทศen_US
dc.titleการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a knowledge management system of educational service area officesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.556-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nansaporn Ninarun.pdf185.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.