Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5992
Title: ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
Other Titles: A study for health indicatiors for primary school students
Authors: สุรภา ธีระวานิช
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimutcha.W@chula.ac.th
Subjects: นักเรียน -- สุขภาพและอนามัย
นักเรียนประถมศึกษา -- สุขภาพและอนามัย
เทคนิคเดลฟาย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สร้างดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้วิจัยรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขศึกษาหรือสุขภาพจำนวน 17 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจำนวน 3 รอบ แล้วคำนวณหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพกายที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 14 ดัชนี ได้แก่ มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน มีส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน มีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดี ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ มีการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากโรค ไม่เป็นเหา ไม่เป็นโรคผิวหนัง ไม่เป็นโรคคอพอก ไม่เป็นโรคโลหิตจาง ไม่เป็นโรคขาดสารอาหาร มีการมองเห็นเป็นปกติ มีการได้ยินเป็นปกติ มีบุคลิกภาพที่ดี และมีความสนใจในการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพดีสม่ำเสมอ 2. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพจิตที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 17 ดัชนี ได้แก่ มีพัฒนาการอารมณ์ตามวัย มีอารมณ์แจ่มใส มีการมองโลกในแง่ดี มีความกระตือรือร้น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีการตัดสินใจได้ถูกต้อง ไม่มีอารมณ์หวาดกลัว มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี มีระดับอารมณ์ในการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นปกติ มีการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ มีเป้าหมายในชีวิต มีการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความเอื้ออาทร มีความปรารถนาและยินดีเมื่อเพื่อนมีความสุข มีการให้อภัยความผิดพลาดของผู้อื่น มีความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว มีการยอมรับจุดดี จุดด้อยของตนเอง และมีการปรึกษาพ่อ แม่ ครู เมื่อมีปัญหาไม่สบายใจ 3. ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนในด้านสุขภาพทางสังคมที่ได้รับฉันทามติมีจำนวน 19 ดัชนี ได้แก่ มีความเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น มีความกล้าในการแสดงออก มีความสุภาพไม่ก้าวร้าว มีความซื่อสัตย์ มีน้ำใจ มีคุณธรรม มีค่านิยมทางสุขภาพที่พึงประสงค์ มีการปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสังคมได้ดี มีความรักเพื่อน รักโรงเรียนของตน มีการยอมรับจากเพื่อน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะการสื่อสารทางบวกในเรื่องสุขภาพ มีทักษะในการปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มีการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับผู้อื่นได้ มีความเคารพในสิทธิทางสุขภาพของผู้อื่น มีทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม มีความเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน มีความรู้สึกรับผิดชอบสุขภาพชุมชน และมีความเสียสละเพื่อส่วนรวมในเรื่องสุขภาพ
Other Abstract: To create health indicators for primary school students by using the delphi technique. The 17 experts were purposively selected from all health education or health experts. The constructed questionnaire was used to gather data from the experts in 3 rounds. Medians, modes and interquatile ranges were utilized for interpretation of the data. The major findings were as follows 1.Fourteen physical health indicators were experts' consensus, those indicators were meeting thai standard ; body weight and height; good oral and physical health; good self health care; no head lice ; abstinence of skin diseases, goiter, anemia and malnutrition; normal visual and hearing; having good personality and regularly healthy practice. 2. Seventeen mental health indicators were experts' consensus, those indicators were normally emotional development according to maturity, enjoyment, optimistic, enthusiastic, self confidence, making right decision, no phobia, satisfaction, daily normal temper practicing, setting goal in life, self emotional control, accepting other people's opinions, caring to others, wishes for others' happiness, forgiveness, good family relationship, accepting their good and weak points, consulting teachers or parents when confronting problems. 3. Nineteen social health indicators were experts' consensus, those indicators were generosity to others ; good expression, politeness, honesty, kindness, thoughtfulness, having good health value, good adaptation to society and friends, lovelyness to others and schools, group accepting, good human relationship, positive health communication, having life skills to wrong practices, solving problems, respectfulness to other health rights, having skills in group process working, willing to participate in school activities, responsibility for community health and sacrification in public health.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5992
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.548
ISBN: 9741756909
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.548
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surapa.pdf872.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.