Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช-
dc.contributor.advisorประสาร มาลากุล ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorฤทัยรัตน์ ธรเสนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-02-26T05:15:11Z-
dc.date.available2008-02-26T05:15:11Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741741138-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5994-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบช่วยเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาล และประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดย (1) เปรียบเทียบทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาล ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนตามแบบปกติ และ (2) เปรียบเทียบทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาล ก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ทักษะการคิดขั้นสูงในการวิจัยนี้หมายถึง ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสรุปอ้างอิง ทักษะการสังเคราะห์ และทักษะการประเมิน ดำเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบช่วยเสริมศักยภาพ แนวคิดเกี่ยวกับการสอนการคิดโดยผ่านการประเมิน และวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมการคิดของนักศึกษาพยาบาล นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี จำนวน 59 คน ที่เรียนวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 แบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองมีจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมมีจำนวน 29 คน ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ รวม 30 ชั่วโมง วัดทักษะการคิดขั้นสูงแต่ละประเภทของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งระยะก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ทักษะการคิดขั้นสูงของกลุ่มทดลองและของกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดขั้นสูงของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการคือ ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุน การเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการประเมินแบบมีส่วนร่วมและแทรกอยู่อย่างต่อเนื่องในกระบวนการเรียนการสอน และงานที่มอบหมายให้กับผู้เรียนต้องเหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสรุปอ้างอิง ทักษะการสังเคราะห์และทักษะการประเมิน ขั้นตอนการเรียนการสอนมี 6 ขั้น ได้แก่ 1) การ ตรวจสอบความสามารถในการทำงาน 2) การกำหนดเป้าหมายการเรียนและมอบหมายภาระงาน 3) การวางแผนการทำงานและประเมินคุณภาพของงาน 4) การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ประเมินความเข้าใจ และให้ข้อมูลป้อนกลับ 5) การฝึกปฏิบัติการใช้ความรู้ และ 6) การปฏิบัติงานในสถานการณ์ใหม่อย่างอิสระ การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นการวัดและประเมินผลทั้งระหว่างการเรียนการสอน และภายหลังการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอน 2.ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 2.1 คะแนนเฉลี่ยทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสรุปอ้างอิง ทักษะการสังเคราะห์ และทักษะการประเมิน ของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2.2 คะแนนเฉลี่ยทักษะการวิเคราะห์และทักษะการสรุปอ้างอิง ของกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน แต่คะแนนเฉลี่ยทักษะการสังเคราะห์และทักษะการประเมินของกลุ่มควบคุม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .2.3 คะแนนเฉลี่ยทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสรุปอ้างอิง ทักษะการสังเคราะห์ และทักษะการประเมิน หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4ข้อมูลจากบันทึกการเรียนรู้ของกลุ่มทดลอง แสดงให้เห็นว่าการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สนับสนุนให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดและการปฏิบัติงาน และการทำงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการประเมินในชั้นเรียน ได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกัน และช่วยเหลือการเรียนรู้ซึ่งกันและกันen
dc.description.abstractalternativeTo develop a scaffolded instructional model for enhancing nursing students' higher-order thinking skills (HOT skills) and to study quality of the developed instructional model by (1) comparing HOT skills of nursing students learned through this model to those who learned through regular instruction, and (2) comparing the nursing students' HOT skills between before and after implemented model. The HOT skills of this study were skills in analyzing, inferring, synthesizing, and evaluating. In developing the instructional model, scaffolded instructional and thinking through assessment principles were employed. Moreover, problems and needs to enhance thinking of nursing students were also considered. These analyzed data were concluded and brought to develop the instructional model. For evaluating, the model was implemented to 59 second year nursing students of Boromarajonani Nursing College, Udonthani who studied in the course of mental health and psychiatric nursing I - the first semester of academic year 2003. Matching technique was used to divide the samples into experimental and control groups comprising 30 and 29 students respectively. Duration of experiment was 10 weeks long, three hours per week. The samples were tested HOT skills before and after implementing the model. The data were analyzed by using t-test. Moreover Journal writings of the experimental group students were analyzed by using content analysis. The findings of this study were as follows 1. The developed instructional model consisted of principles, objectives, instructional steps, and measurement and evaluation. Its principles were students' interaction, systematic learning support, participatory and ongoing assessment, and appropriate task assignment. The objectives were to enhance HOT skills of nursing students. Instructional steps of the model were 1) checking working abilities, 2) establishing learning objectives and assigning tasks, 3) planning frame of work and assessing quality of work, 4) supporting work practice, assessing comprehension, and giving feedback, 5) practicing in using studied knowledge, and 6) practicing independently in new situations. For measurement and evaluation, formative and summative assessment were included. 2. The quality of the developed instructional model which obtained from implementing the model were; 2.1 Posttest scores of the experimental group in analysis, inference, synthesis, and evaluation skills were significantly higher than pretest scores at .05 level. 2.2 Posttest and pretest scores of the control group in analysis and inference skills were not different. But posttest scores of the control group in synthesis and evaluation skills were significantly higher than pretest scores at .05 level. 2.3 osttest scores of the experimental group in analysis, inference, synthesis, and evaluation skills were significantly higher than the control group at .05 level. 2.3 The information from journal writings of students in experimental group showed that their thinking, performance, and systematic working were developed due to participating in classroom assessment, interacting, and working and helping together in learning.en
dc.format.extent1773144 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.511-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความคิดและการคิดen
dc.subjectระบบการเรียนการสอนen
dc.subjectการพยาบาล -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบช่วยเสริมศักยภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาพยาบาลen
dc.title.alternativedevelopment of the scaffolded instructional model for enhancing higher-order thinking skills of nursing studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChanpen.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisorprasan@kbu.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.511-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rutairat.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.