Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประพิมพา จรัลรัตนกุล-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ จารุนานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:04:32Z-
dc.date.available2018-09-14T06:04:32Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59994-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractงานวิจัยปัจจุบันต่างให้ความสำคัญกับบทบาทของภาวะผู้นำต่อกระบวนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ในองค์การ ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการนำองค์การในหลาย ๆ ภาคส่วนไปสู่ความสำเร็จ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำ การรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงาน ค่านิยมเชิงอนุรักษ์และความคิดสร้างสรรค์ในงาน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานประจำชายและหญิงจากทั้งรัฐบาลและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอายุงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 200 คน มีการดำเนินการวิจัยโดยให้ผู้ร่วมงานวิจัยตอบแบบสอบถามแบบกระดาษและออนไลน์วัดพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำ การรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงาน ค่านิยมเชิงอนุรักษ์ และความคิดสร้างสรรค์ในงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำมีอิทธิพลทางบวกต่อความคิดสร้างสรรค์ในงาน โดยมีการรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านแบบเต็มรูปแบบ (indirect effect = .60, p < .001) อย่างไรก็ตาม ไม่พบอิทธิพลกำกับของค่านิยมเชิงอนุรักษ์ต่อความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงานและความคิดสร้างสรรค์ในงาน ผลการวิจัยชิ้นนี้สามารถนำไปใช้พัฒนานโยบายในองค์การต่าง ๆ เพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในตัวบุคลากร ทั้งยังสามารถนำไปใช้คัดสรรผู้นำที่มีพฤติกรรมการมอบอำนาจต่อไป-
dc.description.abstractalternativeA number of current studies have put emphasis on the role of leadership in the process of creativity initiation within organizations, as creativity is considered as a key to success for many industrial sectors. The purpose of this study was to examine the relationships among leader empowering behavior, psychological empowerment, conservation value and creativity in organizations. Participants were 200 full-time employees, who had been employed for at least 6 months and worked in public or private organizations located in the Bangkok Metropolitan Area. Each participant took part in the study by completing questionnaires of leader empowering behavior, psychological empowerment, conservation value and work creativity. SEM was performed by Mplus program to examine the study hypotheses. The results demonstrated that leader empowering behavior significantly predicted work creativity and the relationship was fully mediated by psychological empowerment (indirect effect = .60, p < .001). However, the moderating effect of conservation value was not found. The findings of this study can be applied to improve organization policies to bring about more creativity from workers and can also be used to recruit new leaders with empowering behaviors.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.802-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleอิทธิพลของพฤติกรรมการมอบอำนาจของผู้นำที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ในงาน: อิทธิพลส่งผ่านของการรับรู้การเสริมสร้างอำนาจในงาน ที่ถูกกำกับด้วยค่านิยมเชิงอนุรักษ์-
dc.title.alternativeTHE INFLUENCE OF LEADER EMPOWERING BEHAVIOR: THE MEDIATING EFFECT OF PSYCHOLOGICAL EMPOWERMENT AND MODERATING EFFECT OF CONSERVATION VALUE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPrapimpa.J@chula.ac.th,prapimpa.j@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.802-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5777608438.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.