Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60212
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิมพ์มณี รัตนวิชา | - |
dc.contributor.author | ปุณพีร์ สิทธิกิจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T06:11:20Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T06:11:20Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60212 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อของแอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ได้แก่ (1) การรับรู้ความง่าย (2) การรับรู้ประโยชน์ (3) การรับรู้ความสนุกสนาน (4) การรู้สึกจดจ่อ (5) การมีปฏิสัมพันธ์ โดยมีตัวแปรกำกับคือ เจเนอเรชัน และเพศ เพื่อให้ได้ผลที่ครอบคลุมและหลากหลายงาน วิจัยนี้ได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษา ออกเป็น เพศชายและเพศหญิง และ แบ่งตามเจเนอเรชันซึ่งได้แก่ เจเนอเรชัน X, เจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ โมไบล์แอพพลิเคชันเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ข้อมูลเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน ที่ได้ทดลองใช้แอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมและตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดเตรียมไว้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสนุกสนาน การรู้สึกจดจ่อและการมีปฏิสัมพันธ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อ โดยในภาพรวมพบว่า การรับรู้ความง่ายมีความสัมพันธ์มากที่สุดกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำ การรับรู้ประโยชน์ มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับความตั้งใจในการบอกต่อ ในกรณีที่เพศและเจเนอเรชันของผู้ใช้ต่างกันพบว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อเช่นกัน สำหรับเพศชาย พบว่าการรับรู้ความง่ายมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำมากที่สุด และการมีปฏิสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการบอกต่อมากที่สุด ในกรณีเพศหญิงพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์มีความสัมพันธ์มากที่สุดทั้งกับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อ ในแง่ของเจเนอเรชันผู้ใช้พบว่า เจเนอเรชัน X และเจเนอเรชัน Y การรับรู้ความสนุกสนานมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อมากที่สุด เจเนอเรชัน Z พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อมากที่สุด | - |
dc.description.abstractalternative | This research has the main purpose to study factors that may affect intention to reuse and word-of-mouth intention of augmented reality application. These factors are (1) perceived ease of use), (2) perceived usefulness, (3) perceived enjoyment, (4) immersion, and (5) interactivity. This research is an experimental study. The research tools include an augmented reality application for Asian currency exchanges and a questionnaire for data collection. It is found from analysis on the collected data that factors affecting intention to reuse the application are (1) perceived ease of use, (2) perceived usefulness, (3) perceived enjoyment, and (4) interactivity, and factors affecting word-of-mouth intentions include (1) perceived ease of use), (2) perceived usefulness, (3) perceived enjoyment, (4) immersion, and (5) interactivity. It was found that perceived ease of use has the highest positive correlation with Intention to reuse, and perceived usefulness has the highest positive correlation with word-of-mouth intention. For males, perceived ease of use has the highest positive correlation with Intention to reuse, and Interactivity has the highest positive correlation with word-of-mouth intention. For females, perceived usefulness has the highest positive correlation with both intention to reuse and word-of-mouth. For X generation users and Y generation users, perceived enjoyment has the highest positive correlation with both intention to reuse and word-of-mouth. For Z generation users, perceived ease of use has the highest positive correlation with both intention to reuse and word-of-mouth. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.639 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการกลับมาใช้ซ้ำและความตั้งใจในการบอกต่อของแอพพลิเคชันที่ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรณีศึกษา: แอพพลิเคชันอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศในอาเซียน | - |
dc.title.alternative | FACTORS AFFECTING INTENTION TO REUSE AND WORD-OF-MOUTH INTENTION OF APPLICATION USING AUGMENTED REALITY TECHNOLOGY: A CASE STUDY OF ASIAN CURRENCY EXCHANGE APPLICATION | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Pimmanee.R@Chula.ac.th,pimmanee@cbs.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.639 | - |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5981527026.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.