Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60224
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน | - |
dc.contributor.author | พิทยา ระยับศรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T06:11:54Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T06:11:54Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60224 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบสำหรับระบบ ฯ ด้านข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และการนำเสนอผล 2) พัฒนาระบบ ฯ 3) ประเมินคุณภาพของระบบ ฯ และ 4) ศึกษาผลจากการใช้ระบบ ฯ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ แต่ละระยะเก็บข้อมูลกับครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยระยะที่ 1 ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลคือ ครูมัธยมศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 16 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม และประเมินคุณภาพของระบบ ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ ส่วนระยะที่ 2 เก็บข้อมูลกับครูและนักเรียนมัธยมศึกษาที่เป็นอาสาสมัครในการทดลองใช้ระบบ ฯ รวมทั้งสิ้น 50 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจและประสิทธิภาพของระบบ ฯ สำหรับครู และแบบสัมภาษณ์นักเรียนสำหรับการใช้ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปข้อมูลแบบนิรนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบ ฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ระบบลงทะเบียนและการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ สำหรับเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้เพื่อจำแนกและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงและจัดการข้อมูลในระบบ (2) ระบบจัดการรายวิชาและชั้นเรียน ที่มีการเก็บข้อมูลสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่ ประเภทการประเมิน รูปแบบการให้ผลประเมิน ผลป้อนกลับของครู (คุณภาพ จุดเด่นและข้อควรปรับปรุง และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา) และผลสะท้อนกลับของนักเรียนที่มีต่อผลการประเมินและการจัดการเรียนรู้ของครู และ (3) ระบบรายงานผลที่มีการรายงานสารสนเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน และรายบุคคล และมีสารสนเทศเชิงเปรียบเทียบระหว่างผลการประเมินของนักเรียนเป็นรายบุคคลกับภาพรวมทั้งชั้นเรียน จำแนกระบบ ฯ ตามผู้ใช้งานออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบสำหรับครูและระบบสำหรับนักเรียน โดยประกอบด้วย 11 ระบบย่อย ได้แก่ (1) ระบบการลงทะเบียนผู้ใช้และการเข้าสู่ระบบ (2) ระบบการจัดการห้องเรียน (3) ระบบการจัดกลุ่มนักเรียน (4) ระบบการสร้างภาระงานและผลป้อนกลับ (5) ระบบการบันทึกคะแนน (6) ระบบการบันทึกผลป้อนกลับสำหรับครู (7) ระบบการสะท้อนผลการประเมินจากนักเรียน (8) ระบบการกำหนดสัดส่วนภาระงานและการตัดเกรด (9) ระบบ classroom dashboard (10) ระบบแสดงผลคะแนนนักเรียนเป็นรายบุคคล และ (11) ระบบส่งออกไฟล์ข้อมูล 2. ผลการประเมินคุณภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องพบว่า ระบบมีคุณภาพสอดคล้องกับทุกมาตรฐาน (IOC=0.8-1.0) 3. ผลการทดลองใช้ระบบ ฯ ในชั้นเรียน พบว่าครู มีความพึงพอใจต่อภาพรวมของระบบ ฯ ในระดับมากและมากที่สุด (M= 3.58 – 4.67) และมีคะแนนประสิทธิภาพของระบบในระดับสูงมาก (M=3.92-4.33) 4. ระบบสามารถให้ผลป้อนกลับแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลทำให้ทราบจุดที่ควรปรับปรุงตนเอง อีกทั้งยังช่วยพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนได้อีกด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of the research were to: 1) analyze the system components, 2) develop the system, 3) assess the quality of the system and 4) assess the results from using system of customized information system based on teachers' assessment design for learning assessment of secondary school students. This research was divided into 2 phases. Teachers from 8 learning departments under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission and the Office of Higher Education Commissionwere target groups in each phase. In phase I, data were collected by means of group focusing from 16 teachers in 8 learning departments and evaluated system quality by the 5 experts from related fields. Satisfaction and effectiveness from using system were assessed by evaluation form and interviewing form from 48 teachers and students in phase II. Descriptive statistics, i.e., percentage, mean, and standard deviation were employed for quantitative data, whereas content analysis was employed for qualitative data. Research results: 1. The system was comprised of 3 components; (1) user registration and log in system for collecting user data to identify user permission for managing data. (2) course and classroom management which collect learning assessment data such as assessment method, assessment type, teacher’s feedback (3 aspects: quality, pros and cons, and development suggestions), and students’ reflection to their learning assessment results and teacher’s instructional management, and (3) report system containing both classroom and individual information of students’ learning behavior and presenting comparative information between student and their classmates in overall classified by user status(teacher’s system and student’s system). It consists of 11 subsystems: (1) user registration and login system (2) classroom management System (3) student grouping system (4) task and feedback System (5) scoring system (6) feedback system for teachers (7) student feedback system (8) task proportion and grading system (9) classroom dashboard (10) individual scores system and (11) file export system. 2. Experts assessed the system quality in 4 standards which consisted of utility, feasibility, propriety, and accuracy. The consensus showed that the system met the standards (IOC= 0.8-1.0). 3. The results of satisfactory evaluation showed that participants satisfied at high and highest level (M= 3.58-4.67) and effectiveness scores at high level (M=3.92-4.33). 4. The system could provide feedbacks to individual students, making them aware of where they should improve themselves. Moreover, it also developed the learning outcome and learning behavior of students too. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1533 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การพัฒนาระบบสารสนเทศปรับเปลี่ยนตามแบบการประเมินของครูสำหรับการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษา | - |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF CUSTOMIZED INFORMATION SYSTEM BASED ON TEACHERS' ASSESSMENT DESIGN FOR LEARNING ASSESSMENT OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สถิติการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | surasak.kao@chula.ac.th,surasak.kao@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1533 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983383227.pdf | 9.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.