Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60364
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุนันท์ พงษ์สามารถ | - |
dc.contributor.author | อุบลทิพย์ นิมมานนิตย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-10-02T07:17:47Z | - |
dc.date.available | 2018-10-02T07:17:47Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60364 | - |
dc.description.abstract | รำข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว สามารถนำมาแปรรูปได้เป็นน้ำมันรำข้าวและไฟเบอร์ ในนน้ำมันรำข้าวมีส่วนประกอบของวิตามินอี โทโคไตรอีนอล แกมมาออไรซานอล และ ไฟติกแอซิด สารสำคัญเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ส่วนไฟเบอร์จะมีส่วนประกอบของเซลลูโลส เฮมิเซลูโลส และ ลิกนิน อะราบิโนไซแลน เป็นเฮมิเซลลูโลสในไฟเบอร์ของรำข้าว มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เนื้อมะขามประกอบด้วยซิตริกแอซิด มาลิกเอซิด และทาร์ทาริกแอซิด ซึ่งเป็น แอลฟาไฮดรอกซีแอซิด มีคุณสมบัติทำให้ผิวขาวขึ้น และเพิ่มการสร้างเซลล์ใหม่ให้กับผิวหนัง จากคุณสมบัติดังกล่าวจึงนำรำข้าวมาสกัดโดยวิธีต่างๆ เช่น โดยใช้ตัวทำละลาย (SE-RBO) ใช้วิธีบีบเย็น (CP-RBO) หลังจากนั้นนำน้ำมันรำข้าวที่ได้ซึ่งมีสีเข้มมาฟอกสีได้ BSE-RBO และ BCP-RBO ค่า IC₅₀ ของน้ำมัน SE-RBO, BSE-RBO, CP-RBO และ BCP-RBO มีค่า2.23, 2.46, 2.29 และ 2.59 mg/ml ตามลำดับ ปริมาณแกมมาออไรซานอลในน้ำมันรำข้าวมีค่า 14614, 13199, 13918 และ 12850 µg/ml ตามลำดับ ความเข้มข้นของวิตามินอี 442.8, 350.9, 527.8 และ 357.6 µg/ml ตามลำดับ ในขณะที่น้ำมันรำข้าวที่ได้จากโรงงาน RE-RBO มีค่า IC₅₀ = 4.53 mg/ml แกมมาออไรซานอล 3487 µg/ml วิตามินอี 170.6 µg/ml ส่วนไฟเบอร์ที่เหลือจากการสกัด เมื่อนำมาสกัดอะราบิโนไซแลนได้ 0.2% เนื้อมะขามนำมาสกัดได้เยื่อมะขามที่มีส่วนประกอบของโฮโลเซลลูโลส 70.45% ซึ่งเป็น แอลฟาเซลลูโลส 50.61% เฮมิเซลลูโลส 18.0% ส่วนน้ำมะขามมีกรดแอลฟาไฮดรอกซีเอซิดเทียบเท่าทาร์ทาริกแอซิด 11.13% เมื่อนำมาทำให้แห้งโดยวิธีสเปรย์ดรายโดยใช้อะคาเซีย 10% ได้ผลดีที่สุด จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวผสมสารสกัดจากรำข้าวและมะขาม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวและขัดผิวผสมไฟเบอร์และสารสกัดจากรำข้าวและมะขาม ผลิตภัณฑ์พอกหน้าผสมไฟเบอร์และสารสกัดจากรำข้าวและมะขาม ผลิตภัณฑ์พอกหน้าผสมไฟเบอร์และสารสกัดจากรำข้าว มะขามและเคอร์คูมินอยด์ไมโครพาร์ทิเคิล นำผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ตำรับมาทดสอบการระคายเคืองในอาสาสมัคร 200 คนเทียบกับผลิตภัณฑ์ควบคุมที่เป็นครีมเบส เจลเบส และครีมพอกหน้าเบส ผลิตภัณฑ์ทั้ง 4 ชนิดไม่พบการระคายเคือง เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิศักย์โดยทดสอบเป็นชุด ชุดที่1 ใช้ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและขัดผิวผสมไฟเบอร์จากรำข้าวและมะขาม และใช้ครีมบำรุงผิวผสมสารสกัดจากรำข้าวและมะขาม ในอาสาสมัครไทยสุขภาพดีจำนวน 30 คน วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น เทียบกับ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นเบสและครีมเบสเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและขัดผิว และครีมบำรุงผิวสามารถให้ความชุ่มชื้นผิวได้อย่างมีนัยสำคัญ (ค่า p value ≤ 0.05) หลังจากใช้เป็นเวลา 1 สัปดาห์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในสัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 จากค่าความชุ่มชื้น 16.15, 31.53, 30.86, 35.28, 35.22 และ 30.42 ตามลำดับ ส่วนการยืดหยุ่นของผิว พบว่าค่า Young’s modulus ลดลงจากสัปดาห์แรกโดย สัปดาห์ที่ 0, 1, 2, 6 และ 8 มีค่า Young’s modulus 7.24, 6.04, 6.43, 6.86 และ 6.14 ตามลำดับ แสดงว่าผลิตภัณฑ์ทำให้ความตึงผิวเพิ่มขึ้น ส่วนการทดสอบการทำให้ผิวขาว พบว่า สีผิวลดลงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ถึง 8 โดยลดลงจาก 36.51, 35.50, 35.95, 36.06, 35.33 และ 35.60 แสดงว่าผิวขาวขึ้น ส่วนชุดที่ 2 ทดสอบประสิทธิศักย์โดยใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและขัดผิวตามด้วยการใช้ครีมบำรุงผิวเช่นเดียวกับชุดแรก แต่เพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์พอกหน้าผสมไฟเบอร์และสารสกัดจากรำข้าวและมะขาม หลักจากทำความสะอาดและขัดผิวทุกวันเว้นวัน ในตอนเย็นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ในอาสาสมัคร 30 คน พบว่าสามารถเพิ่มความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่นของผิวที่สัปดาห์ที่ 1, 2, 4, 6 และ 8 สัปดาห์ ส่วนชุดที่ 3 ทดสอบเช่นเดียวกันแต่ผลิตภัณฑ์พอกหน้าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเคอร์คูมินอยด์ไมโครพาร์ทิเคิลผสมด้วย ในอาสาสมัคร 30 คน พบว่าสามารถทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิวและทำให้ผิวขาวขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Rice bran is an inexpensive by-product derived from the outer tissue of brown rice in abrasive milling process. Rice bran can produce rice bran oil and fiber. Rice bran oil composes of vitamin E, tocotrienol, γ-oryzanol and phytic acid, these compositions showed anti-free radical properties. Fibers compose of cellulose, hemicellulose and lignin. Arabinoxylan, complex polysaccharide, is one part of hemicellulose in fiber of rice bran. Tamarind pulp composes of citric acid, malic acid, tartaric acid which are alpha hydroxyl acid that posses whitening properties and rejuvenate the skin. Therefore rice bran was extracted to get rice bran oil (RBO) with different methods such as solvent extract method (SE-RBO) and cold pressed method (CP-RBO). The received rice bran oil was decolorized to get bleach solvent extract rice bran oil (BSE-RBO) and bleach cold press rice bran oil (BCP-RBO). The concentrations of substances that can inhibit 50% of oxidation (IC₅₀) of SE-RBO, BSE-RBO, CP-RBO, BCP-RBO were 2.23, 2.46, 2.29 and 2.59 mg/ml, respectively. The concentrations of vitamin E were 442.8, 350.9, 527.8 and 357.6 µg/ml, respectively. While commercial industrial rice bran oil showed IC₅₀ of 4.53 mg/ml, contained 3487 µg/ml of γ-oryzanol, 170.6 µg/ml of vitamin E. the residue from rice bran was further extracted for arabinoxylan, the receiving extracted arabinoxylan was 0.2%. the tamarind pulp was extracted to get water soluble extract and holocellulose 70.45%. The holocellulose composes of 50.61% alphacellulose and 18.0% hemicellulose. The water soluble extracts contained alphahydroxy acid which equal to 11.3% of tartaric acid, using 10% acacia for spray drying. The cosmetic products including 4 products as following; (1) moisturizing cream containing extract from rice bran and tamarind, (2) cleansing gel containing fiber (arabinoxylan), rice bran oil and tamarind extract, (3) mask product containing fiber, rice bran oil and tamarind extract, (4) mask product containing fiber, rice bran oil, tamarind extract and curcuminoid microparticles. All of 4 cosmetic products were tested for irritation using 200 volunteers compared with control cream, gel and mask base. The results showed no irritation on 4 cosmetic products. These products were also tested for efficacy. They divided into 3 set , set 1 composed of cleansing gel(2) and moisturizing cream(1), set 2 composed of cleansing gel(2), moisturizing cream(1) and mask product(3), set 3 composed of cleansing gel(2), moisturizing cream(2) and mask product(4). The volunteers for each group were 30 persons. Each person used each set 2 times a day, in the morning and evening compared to cream, gel or mask base for 8 weeks. The results of set 1 cleansing gel and moisturizing cream gave significant value (p value ≤ 0.05) for moisture to the skin in 1, 2, 4, 6, 8 weeks as 16.15, 31.53, 30.86, 35.28, 35.22 and 30.42, respectively. The elasticity of skin measured as young’s modulus in 0, 1, 2, 6 and 8 was reduced as 7.24, 6.04, 6.43, 6.86 and 6.14 respectively, it indicated that the skin get higher tension when using the set of products. The whitening property was tested by measurement of melanin index in 0, 1, 2, 4, 6 and 8 weeks, the melanin index was reduced as following 36.5, 35.50, 35.95, 36.06, 35.33 and 35.60 respectively, it indicated that the skin was whitening. The results of set 2 cleansing gel (2), moisturizing cream (1) and mask product (3) showed that they can increase moisture and elasticity of the skin from week 1-8. The results of set 3 cleansing gel (2), moisturizing cream (1) and mask product (4) showed that they can increase moisture, elasticity and whitening of the skin in 30 volunteers. | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2550-2551 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เครื่องสำอาง | en_US |
dc.subject | เครื่องสำอางสมุนไพร | en_US |
dc.subject | รำข้าว | en_US |
dc.subject | มะขาม | en_US |
dc.subject | Cosmetics | en_US |
dc.subject | Herbal cosmetics | en_US |
dc.subject | Rice bran | en_US |
dc.subject | Tamarind indica | en_US |
dc.title | การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของรำข้าวและมะขาม | en_US |
dc.title.alternative | Development of Cosmetic Product Formulation Containing Rice Bran and Tamarind | en_US |
dc.title.alternative | แผนงานวิจัยบูรณาการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางยา และเครื่องสำอางจากพืชเศรษกิจไทย | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Pharm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunan Po_Res_2551.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.