Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60418
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSunanta Pongsamart-
dc.contributor.authorSiriporn Konsue-
dc.contributor.otherChulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical sciences-
dc.date.accessioned2018-10-06T09:41:58Z-
dc.date.available2018-10-06T09:41:58Z-
dc.date.issued2011-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60418-
dc.descriptionThesis (M.Sc. in Pharm)--Chulalongkorn University, 2011en_US
dc.description.abstractTamarind seed-coats have long been used in traditional medicine for treatment of burn and chronic wound in diabetic patients. Phenolic compounds in tamarind seed-coat extract have also widely studied for antioxidant activity. This study was designed to evaluate the cytoprotective and wound healing effect of phenolic compounds in the tamarind seed-coat extracts (TSCEs) from the three tamarind cultivars including sweet and sour tamarinds against hydrogen peroxide (H₂O₂)-induced oxidative injury in two human cell lines. Tamarind seed-coat was extracted with boiling water (fraction1) and then the water extract was partitioned with an equal volume of ethyl acetate (fraction 2) and the seed-coat residues were re-extracted with 70% acetone (fraction 3). Three fractions of tamarind seed-coat extracts were dried, the total phenolic contents were analyzed and cytotoxic effect was evaluated on human foreskin fibroblasts (CCD-1064Sk) and human gastric adenocarcinoma epithelial cells (AGS) by MTT and DNA stain assays. The three fractions of tamarind seed-coat extracts composed of various amount of phenolic contents and the ethyl acetate fraction (fraction 2) exhibited the lowest cytotoxic effect in both of the human cells tested. The ethyl acetate fraction (fraction 2) of the tamarind seed-coat extracts (TSCEs) from the three tamarind cultivars were used to evaluated for their cytoprotective and wound healing effects. The phenolic compounds in the sour tamarinds composed of tannin and procyanidin which were higher than the sweet tamarind. The chromatogram of HPLC profile of TSCEs from the three tamarind cultivars showed the peaks that identical with the three standard flavonoids including (+)-catechin, procyanidin B2 and (-)-epicatechin. The cytoprotective effect of TSCEs from the three tamarind cultivars was evaluated by NRU and DCFH-DA assays. The TSCEs exhibited cytoprotective effect by decreasing the number of damaged cells and reducing the intracellular ROS generations against H2O2-induced cells damage in both human cells tested. At the lower concentrations of the three TSCEs were used to evaluate the proliferative effect on the tested human cells by using NRU assay. Wound healing effect of TSCEs at the proliferative concentrations was evaluated by using the scratch assay, TSCEs did not show wound healing effect on both of the treated human cells. However, TSCEs exhibited cytoprotective effect on H₂O₂-induced oxidative stress in the scratch wound of CCD-1064Sk and AGS cells. TSCEs increased the rate of wound closure against H₂O₂–induced the delayed rate of wound closure. The lower concentrations of TSCEs from the sweet tamarind accelerated the rate of wound repair in CCD-1064Sk cells better than H₂O₂–treated cells (untreated with TSCEs), which was due to the scavenging effect of the TSCE against ROS-caused the delay of wound closure. The TSCEs of the sour tamarinds possessed the ROS scavenging effect in AGS cells, a better acceleration the percent wound closure than their H₂O₂-treated cells (untreated with TSCEs) was observed.en_US
dc.description.abstractalternativeเปลือกเมล็ดมะขามใช้เป็นยาแผนโบราณเพื่อรักษาแผลไฟไหม้และแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานมาเป็นเวลานาน มีการศึกษาสารประกอบฟีโนลิคในเปลือกเมล็ดมะขามอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ งานวิจัยนี้ออกแบบเพื่อประเมินฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขาม (TSCEs) สามสายพันธุ์ ทั้งมะขามหวานและเปรี้ยว ในการปกป้องและการรักษาแผลต่อเซลล์เพาะเลี้ยงของมนุษย์ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการถูกทำลายด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H₂O₂) โดยเปลือกเมล็ดมะขามถูกสกัดด้วยน้ำร้อน (สารสกัด 1) จากนั้นนำสารสกัดน้ำมาสกัดแยกต่อด้วยเอธิลอะซิเตดอัตราส่วน 1:1 (สารสกัด 2) ส่วนกากเปลือกเมล็ดมะขามนำมาสกัดต่อด้วย 70% อะซีโตน (สารสกัด 3) นำสารสกัดทั้งสามส่วนไประเหยแห้ง วิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีโนลิกและประเมินความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบร-บลาสต์ของผิวหนังซีซีดี 1064 เอสเคและเซลล์มะเร็งเยื่อบุกระเพาะอาหารเอจีเอสด้วยวิธี MTT และการย้อมสีดีเอ็นเอ พบว่าสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามทั้งสามสารสกัดมีปริมาณสารประกอบฟีโนลิกแตกต่างกันและสารสกัดเอธิลอะซิเตด (สารสกัด 2) ให้ผลความเป็นพิษต่อเซลล์ทดสอบทั้งสองต่ำสุด จึงทำการประเมินผลสารสกัดน้ำที่สกัดแยกต่อด้วยเอธิลอะซิเตด (สารสกัด 2) จากเปลือกเมล็ดมะขามสามสายพันธุ์ต่อการปกป้องและการรักษาแผลในเซลล์ของมนุษย์ทั้งสองชนิดที่ใช้ทดสอบ โดยวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีโนลิกพบว่ามะขามเปรี้ยวมีปริมาณแทนนินและโปรแอนโทไซยานินสูงกว่ามะขามหวาน นอกจากนี้โครมาโทแกรม HPLC profile ของสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามทั้งสามสายพันธุ์ชี้บ่งตรงกับสารฟลาวานอยด์มาตราฐานทั้งสาม ได้แก่ คาเทชิน, เอพิคาเทชินและโปรไซยานิดินบีทู ส่วนผลของการปกป้องเซลล์ของสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามทั้งสามสายพันธุ์ที่ทดสอบวิธี NRU และ DCFH-DA ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามมีผลลดจำนวนเซลล์ที่ถูกทำลายและลดการสร้างสารอนุมูลอิสระในเซลล์ทดสอบทั้งสองชนิดที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายเซลล์ด้วย H₂O₂ นอกจากนี้พบว่าสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามทั้งสามสายพันธุ์ที่ความเข้มข้นต่ำมีผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์ทดสอบทั้งสองชนิดด้วยวิธี NRU โดยความเข้มข้นที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์เมื่อทดสอบด้วยวิธี scratch พบว่าไม่มีผลต่อการเร่งการปิดของแผลในเซลล์ทดสอบชนิดทั้งสอง แต่พบว่าสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามมีผลต่อการปกป้องเซลล์ซีซีดี 1064 เอสเคและเซลล์เอจีเอส ที่ชักนำให้เกิดแผลและมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการทำลายด้วย H₂O₂ โดยช่วยเพิ่มอัตราเร็วการปิดของแผลในเซลล์ทดสอบทั้งสองชนิดที่กระตุ้นให้อัตราการปิดของแผลช้าลงด้วย H₂O₂โดยสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามสายพันธุ์หวานที่ความเข้มข้นต่ำมีผลต่อการเพิ่มอัตราการปิดของแผลในเซลล์ซีซีดี 1064 เอสเคได้ดีกว่ากลุ่มเซลล์ที่ไม่ได้รับสารสกัดและถูกเหนี่ยวนำด้วย H₂O₂ ซึ่งเป็นผลจากการต้านสารอนุมูลอิสระของสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามไปลดปริมาณสารอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการทำให้แผลปิดช้าลง ส่วนสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามสายพันธุเปรี้ยวมีผลต่อการต้านสารอนุมูลอิสระได้ดีในเซลล์ทดสอบเอจีเอส โดยช่วยเร่งอัตราการปิดของแผลได้ดีกว่ากลุ่มเซลล์ที่ไม่ได้รับสารสกัดและถูกเหนี่ยวนำด้วย H₂O₂en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherThesis (M.Sc. in Pharm)--Chulalongkorn Universityen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.59-
dc.rightsChulalongkorn Universityen_US
dc.subjectTamarinds -- Seedsen_US
dc.subjectBurns and scalds -- Treatmenten_US
dc.subjectWound Healingen_US
dc.subjectมะขาม -- เมล็ดen_US
dc.subjectแผลไหม้ -- การรักษาen_US
dc.subjectการสมานแผลen_US
dc.titleCytoprotective and wound healing effects of Tamarindus Indica seed coat extracts on human cell linesen_US
dc.title.alternativeฤทธิ์ปกป้องเซลล์และรักษาแผลของสารสกัดเปลือกเมล็ดมะขามต่อเซลล์เพาะเลี้ยงของมนุษย์en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameMaster of Scienceen_US
dc.degree.levelMaster's Degreeen_US
dc.degree.disciplineBiomedicinal Chemistryen_US
dc.degree.grantorChulalongkorn Universityen_US
dc.email.advisorsunanta.po@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.59-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_Kon.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.