Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60432
Title: การพัฒนากระดาษเคลือบดินเหนียวนาโนสำหรับยืดอายุผลิตผลทางการเกษตร : รายงานการวิจัย
Other Titles: Development of nanoclay-coated paper for shelf life extension of an agricultural product
Authors: อุบลรัตน์ สิริภัทราวรรณ
นุชจรินทร์ เหลืองสอาด
หทัยกานต์ มนัสปิยะ
Email: Ubonratana.S@Chula.ac.th
nuchjarin.y@chula.ac.th
Hathaikarn.Ma@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ดินเหนียว
ผลิตผลเกษตร -- การเก็บและรักษา
บรรจุภัณฑ์
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้พัฒนาบรรจุภัณฑ์แอคทีฟเพื่อใช้ยืดอายุผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้ดินเหนียวนาโนแบบมีรูพรุนที่ผ่านการดัดแปร (porous nanoclay, NC) เคลือบบนกระดาษคราฟต์ขาว (Kraft paper, KP) และใช้พอลิไวนิล แอลกอฮอล์ (PVOH) เป็น binder โดยแปรอัตราส่วนของน้ำต่อ PVOH เป็ น100:20 และ 120:20 พบว่าที่ 120:20 เป็น อัตราส่วนที่เหมาะสม เนื่องจากให้สารเคลือบที่มีลักษณะเป็นชั้นฟิล์มที่มีความสม่ำเสมอ จากนั้นเคลือบ กระดาษด้วยดินเหนียวนาโนแบบมีรูพรุน (Paper+ porous nanoclay, KP+NC) โดยแปรปริมาณ NC เป็นร้อยละ 20, 40 และ 60 ของน้ำหนักกระดาษ วัดประสิทธิภาพในการดูดซับก๊าชเอทิลีนด้วย gas chromatography พบว่าปริมาณของ NC ที่เหมาะสมในการเคลือบคือ 60% โดยน้ำหนักของกระดาษ เพราะสามารถดูดซับเอทิลีนได้ดีที่สุด การศึกษาสมบัติของ KP+NC เปรียบเทียบกับกระดาษที่ไม่ผ่านการเคลือบ (Kraft paper, KP) และกระดาษที่เคลือบด้วยดินเหนียวเบนโทไนท์ (Kraft paper+bentonite, KP+BT) ศึกษาสมบัติทางกายภาพได้แก่ ความหนา แกรม กระดาษ และน้ำหนักของสารเคลือบ ค่าความต้านทานแรงดึง (tensile strength) ความต้านทานแรงดันทะลุ (bursting strength) ความสามารถในการซึมผ่านของอากาศ (air permeability) และศึกษาโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์โดยใช้ scanning electron microscope (SEM) พบว่าบรรจุภัณฑ์ทั้ง KP+NC และ KP+BT มีความสามารถในการต้านทาน การซึมผ่านของอากาศ และความต้านทานแรงดันทะลุเพิ่มขึ้นมากกว่า KP ส่วนค่าดัชนีความต้านทานแรงดึงทั้งแนวตาม เกรนและแนวขวางเกรนของ KP+BT และ KP+NC มีค่าลดลง จากผลการศึกษาโครงสร้างของKP KP+BT และ KP+NC โดยใช้ SEM พบว่าที่ผิวหน้าของ KP+BT มีเบนโทไนต์อยู่บริเวณผิวหน้าของชั้นเคลือบอยู่เป็นจำนวนน้อย เบน โทไนต์ส่วนใหญ่จะแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างระหว่างเส้นใยของกระดาษและถูกปกคลุมด้วยสารเคลือบ PVOH ซึ่งอาจทำ ให้ KP+BT ไม่สามารถดูดซับเอทิลีนได้ ในขณะที่ KP+NC นั้นภาพจาก SEM แสดงให้เห็นว่าอนุภาคของ NC ซึ่งมีการ ปรับปรุงผิวหน้าและหมู่ฟังก์ชั่นมีความสามารถในการยึดติดได้ดีทั้งที่บริเวณเส้นใยของกระดาษและที่ตัวสารเคลือบ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ KP+NC สามารถดูดซับก๊าซเอทิลีนได้ จึงเลือกใช้ KP+NC ในการยืดอายุผลิตผลทางการเกษตรในการ ทดลองขั้นต่อไป การยืดอายุผลิตผลทางการเกษตรทำโดยนำมะเขือเทศพันธุ์ลูกท้อ (Lycopersicon esculentum Mill.) ที่มีระยะการบริบูรณ์ในช่วง breaker-turning มาห่อด้วย KP+NC และเปรียบเทียบกับการห่อด้วยกระดาษคราฟท์ที่ไม่ผ่านการเคลือบ (KP) และมะเขือเทศไม่มีการห่อด้วยกระดาษ (no paper wrapping, NP) เก็บรักษาที่ 10 ± 2°C แล้ว วัดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพ ได้แก่ ค่าสี a*/b* value ความแน่นเนื้อปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ค่า pH ปริมาณ กรดที่ไตเตรตได้ในรูปกรดซิตริก การสูญเสียน้ำหนัก และปริมาณกรดแอสคอบิก ตลอดระยะเวลาการเก็บจนกระทั่ง ผลไม้เกิดการเน่าเสีย จากผลการทดลองพบว่ามะเขือเทศที่เก็บใน KP+NC มีค่าความแน่นเนื้อ และปริมาณกรดที่ไตเตรตได้ในรูปกรดซิตริกลดลงช้ากว่ามะเขือเทศที่เก็บใน KPและ NC ตามลำดับ และยังช่วยชะลอการสูญเสียน้ำ หนัก และการเปลี่ยนแปลงของค่าสี a*/b* และกรดแอสคอบิก เมื่อพิจารณาผลการทดลองของ ค่าสี a*/b* ปริมาณ ของแข็งที่ละลายน้ำได้ และปริมาณกรดแอสคอบิก ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ก ารสุกของมะเขือเทศพบว่า มะเขือเทศใน NP, KP และ KP+NC มีการสุกอย่างสมบูรณ์เมื่อเก็บไว้นานประมาณ 15, 22 และ 33 วัน ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าการ เก็บมะเขือเทศในบรรจุภัณฑ์ KP+NC สามารถช่วยชะลอการสุกของมะเขือเทศโดยดูดซับเอทิลีนไว้ในโครงสร้างแบบมี รูพรุนของ porous nanoclay จึงมีศักยภาพช่วยยืดอายุการเก็บของผลิตผลการเกษตรได้
Other Abstract: This research developed active packaging from paper coated with porous nanoclay (NC) to be used for shelf life extension of fresh produce. Kraft paper (65 gram) was used as packaging base and polyvinyl alcohol (PVOH) was used as binder. The optimum concentration of water:PVOH was 120:20 because it gave a uniformed film layer deposited on the paper. Paper was coated with different amount of NC (Paper+ porous nanoclay, KP+NC) including 20, 40 and 60 % w/w of paper. The ethylene adsorption of the paper coated with NC was determined using gas chromatography. It was found that KP+60%NC could adsorb highest ethylene and thus used for further experiment. Three different packaging treatments were prepared including KP+NC, Kraft paper coated with bentonite (KP+BT), and Kraft paper alone (KP). The paper properties including thickness, gramage, weight of coating material, tensile strength, bursting strength and air permeability were measured. The surface structure of the coated paper was also examine using scanning electron microscope (SEM). The results showed that KP+NC and KP+BT had significantly higher (p<0.05) bursting strength and air permeability than KP. KP+BT had lowest tensile strength. The SEM micrographs revealed that only small amount of BT was found on the surface of KP+BT because BT was in between paper fiber and was covered with PVOH. This may consequently cause KP+BT to be unable to adsorb ethylene. On the other hand, NC particles, which have ability to adsorb ethylene in their structure, were deposited on the surface of the KP+NC paper. Thus, KP+NC was used for further studies. The ability of the KP+NC paper for shelf life extension of fresh fruit was investigated by using tomatoes to represent climacteric fruits. Tomatoes were wrapped with KP+NC, and Kraft paper without coating (KP). Tomatoes without paper wrapping (NP) were used as control samples. All samples were stored at 10 ± 2°C and fruit qualities including a*/b* color value, firmness, total soluble solid, pH, titratable acidity (g of citric acid equivalent 100 g-1), weight loss and ascorbic acid were measured throughout the storage. The results revealed that tomatoes wrapped in KP+NC could maintain firmness and titratable acid better than those in KP and NP, respectively. Moreover, weight loss and changes in a*/b* color values and ascorbic acid of tomatoes in KP+NC were lower than those in other treatments. According to the results of total soluble solid, a*/b* color value, and ascorbic acid, tomatoes in NP, KP, and KP+NC reached fully ripening stage after storage for approximately 15, 22 and 33 days, respectively. It is suggested that KP+NC could extend shelf life of tomatoes probably due to its ability to adsorb ethylene and subsequently slow down the ripening of the tomatoes.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60432
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ubonratana S_Res_2556.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.