Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60516
Title: บทบาทของ MAIT cells ในการควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis : รายงานการวิจัย
Other Titles: Role of MAIT cells in the control of Mycobacterium tuberculosis infection
Authors: กมล แก้วกิติณรงค์
นิพนธ์ อุดมสันติสุข
Email: Rangsima.R@Chula.ac.th
kamonkaw@hotmail.com
nibondh.u@chula.ac.th
Other author: รังสิมา เหรียญตระกูล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: วัณโรค
มัยโคแบคทีเรียมทุเบอร์คุโลซิส
ปอด -- การติดเชื้อ
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัณโรค (Tuberculosis) เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อของประชากรทั่วโลก (1) วัณโรคเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ภูมิต้านทานของร่างกายที่มีต่อเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ประกอบด้วยเซลล์จากส่วนของ innate immunity และ adaptive immunity ในส่วนของ adaptive immunity กลุ่มของ T cells ที่มีส่วนสำคัญ ได้แก่ ทั้ง conventional T cells (ทั้ง CD8+ และ CD4+) และ non-conventional T cells (MAIT, NKT, CD1-restricted T cells) (2) MAIT (Mucosal-associated invariant T) cells จัดอยู่ในกลุ่มของ non-conventional T cells ที่พบได้ปริมาณมากตามเยื่อบุของร่างกาย รวมถึงปอด (3) นอกจากนี้ MAIT cells ยังพบได้ในกระแสเลือดมากถึง 10% ของ T cells ทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่สูงสำหรับ T cells ที่มี specificity ต่อ antigen ชนิดเดียวกัน (โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ classical HLA-restricted T cells) MAIT cells เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีคุณสมบัติ antibacterial activity โดยการหลั่งทั้ง cytokines และ cytotoxicity molecules ออกมาจากกลุ่มเซลล์นี้ การศึกษาเท่าที่มีได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง MAIT cells และเชื้อจุลชีพ Mycobacteriu tuberculosis โดยที่กลุ่มเซลล์นี้สามารถที่จะได้รับการกระตุ้นด้วย Mycobacterium species ได้ และพบปริมาณ MAIT cells ในกระแสดเลือดของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคนั้นลดลงและมีการหลั่ง cytokines ที่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่ปกติ การศึกษาโครงวิจัยในรายงานวิจัยฉบับนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาความสัมพันธ์และบทบาทของ MAIT cells ในการควบคุมและ/หรือ การป้องกัน/การต่อสู้ทำลายเชื้อ Mycobacterium tuberculosis ในมนุษย์ โดยเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงของ MAIT cells เป็นระยะเวลา 6 เดือน กับผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการรักษาที่ รพ. จุฬาลงกรณ์ ตลอดระยะเวลาของการรักษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60516
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rangsima R_Res_2559.pdf851.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.