Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61065
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์ | - |
dc.contributor.author | นันทรัตน์ ศรีสรรค์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-12-12T07:58:15Z | - |
dc.date.available | 2018-12-12T07:58:15Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61065 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | en_US |
dc.description.abstract | ธุรกิจบริการจัดสรรเวลาเข้าใช้สถานที่พักเป็นธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีการ ผสมผสานทั้งในด้านธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว รวมไปถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีความหลากหลายในเรื่องประเภทและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ในธุรกิจบริการจัดสรรเวลา (ไทม์แชร์) ทำให้ธุรกิจบริการจัดสรรเวลาเข้าใช้สถานที่พักมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อการ บังคับใช้เป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีการร้องเรียนจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมากในกรณี ปัญหาการใช้บริการจองที่พักเหล่านี้ ที่พนักงานขายพยายามใช้กลยุทธ์ต่างๆในการขาย เพื่อให้ปิดการ ขายได้ ส่งผลให้ผู้บริโภคเสียเงินทำสัญญาเพื่อใช้บริการธุรกิจการจัดสรรวันพักผ่อนเป็นจำนวนมาก และสัญญาเหล่านี้มักมีผลผูกพันเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน แต่เมื่อผู้บริโภคมีความประสงค์ที่จะขอใช้ สิทธิเข้าใช้บริการดังกล่าว กลับใช้บริการไม่ได้หรือไม่เป็นไปตามที่พนักงานได้โฆษณาไว้ ซึ่งในบางครั้ง สิทธิในการบอกเลิกสัญญาของผู้บริโภคนั้นได้หมดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว จากการศึกษาข้อเท็จจริงและมาตรการทางกฎหมาย ผู้วิจัยพบว่า สำหรับประเทศไทยแม้ว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจ การให้บริการจัดสรรเวลาเข้าใช้สถานที่พักเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2556 แล้วนั้น แต่ยังไม่ สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากมาตรการดังกล่าวเป็นเพียงการคุ้มครองผู้บริโภค ในช่วงระยะเวลาทำสัญญา แต่ยังไม่มีมาตรการที่คุ้มครองผู้บริโภคในช่วงระยะเวลาก่อนทำสัญญาและ ช่วงระยะเวลาหลังทำสัญญาอย่างเหมาะสม ในขณะที่กฎหมายของต่างประเทศทั้งในส่วนของสหภาพ ยุโรป สหราชอาณาจักร และประเทศออสเตรเลีย มีบทบัญญัติในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภคใน ธุรกิจการให้บริการจัดสรรเวลาเข้าใช้สถานที่พักที่ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงระยะเวลาก่อนทำสัญญา ตลอดจนถึงช่วงระยะเวลาหลังทำสัญญา จากผลการศึกษาแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจจัดสรร เวลาเข้าใช้สถานที่พักในประเทศไทย เพื่อให้ปัญหาที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากธุรกิจจัดสรร เวลาเข้าใช้สถานที่พักในประเทศในปัจจุบันได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงและแก้ไขประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจ การให้บริการจัดสรรเวลาเข้าใช้สถานที่พักเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2556 ให้ครอบคลุมตั้งแต่ ช่วงระยะเวลาก่อนการเข้าทำสัญญาตลอดตนถึงช่วงระยะเวลาหลังการเข้าทำสัญญา | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.54 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ที่พักนักท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | อุตสาหกรรมโรงแรม | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจจัดสรรเวลาเข้าใช้สถานที่พักในประเทศไทย | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.author | Wirote.W@Chula.ac.th | - |
dc.subject.keyword | การท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject.keyword | บริการจองที่พัก | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2017.54 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
598 61974 34.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.