Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61066
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไร-
dc.contributor.authorนิภาพร สิงห์มณีสกุลชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-12T07:58:22Z-
dc.date.available2018-12-12T07:58:22Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61066-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractปัญหาขยะถุงพลาสติกเป็นหนึ่งในปัญหาขยะมูลฝอยที่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากถึงพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นเวลานาน และยังไม่มีวิธีทำลายโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่มีอายุการใช้งานสั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียว ถึงแม้ว่าถุงพลาสติกจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ปัจจุบันมีการนำกลับไปรีไซเคิลน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่ผลิตออกไป เนื่องจากในการนำไปรีไซเคิลนั้นมีต้นทุนสูง ถึงพลาสติกจึงกลายเป็นขยะปริมาณมหาศาลทำให้เกิดความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็น และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค อีกทั้งขยะถุงพลาสติกยังถูกทิ้งลงสู่ทะเลในปริมาณมหาศาล ซึ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งผลกระทบในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพของมนุษย์ ด้านระบบนิเวศ ด้านทัศนียภาพ และด้านการระบายน้ำ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถุงพลาสติกจึงเป็นสินค้าที่ควรถูกควบคุมการบริโภคด้วยมาตรการทางกฎหมายด้านการจัดเก็บภาษีโดยการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เนื่องจากวัตถุประสงค์ของภาษีสรรพสามิตคือจัดเก็บเพื่อควบคุมการบริโภคสินค้าและบริการ ดังนั้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดเก็บภาษีจากถุงพลาสติก เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในประเทศและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะถุงพลาสติก อีกทั้งยังสามารถนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้มาใช้ในการจัดการขยะ และฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากขยะถุงพลาสติกได้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่เคยมีการจัดเก็บภาษีจากถุงพลาสติก จึงควรศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกและผลจากการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกของต่างประเทศ เช่น ประเทศไอร์แลนด์ เพื่อนำหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกของประเทศไอร์แลนด์มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติกของประเทศไทย การนำหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีถุงพลาสติกของประเทศไอร์แลนด์มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติกในประเทศไทยนั้น มีทั้งหลักเกณฑ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้และไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ หลักเกณฑ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ ประเภทของถุงพลาสติกที่จัดเก็บภาษีซึ่งจัดเก็บถุงพลาสติกทุกประเภทที่ผลิตจากพลาสติก และการยกเว้นภาษีให้ถุงพลาสติกบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้ อัตราภาษีที่ใช้จัดเก็บต้องเป็นอัตราที่ไม่สูงและไม่ต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับค่าครองชีพและการนำเงินภาษีที่จัดเก็บได้ไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการดูแล ฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ถุงพลาสติกและขยะถุงพลาสติก ในทางกลับกัน หลักเกณฑ์ที่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ คือ การยกเว้นภาษีถุงพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และถูกขายให้กับลูกค้าในราคาไม่น้อยกว่า 70 เซนต์ (cent) ต่อใบ หรือประมาณ 27 บาท ซึ่งเป็นผู้บริโภคคนสุดท้าย แต่ประเทศไทยไม่สามารถยกเว้นให้ได้ เนื่องจากผู้ที่ซื้อถุงไปจากโรงอุตสาหกรรมหรือซื้อจากผู้นำเข้าซึ่งเสียภาษีสรรพสามิตแล้วนั้น ผู้ที่ซื้อไปอาจยังไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายที่เป็นผู้ที่ใช้ถุงพลาสติอย่างแท้จริง ซึ่งหากไม่นำไปใช้ซ้ำแล้วมีการยกเว้นภาษีให้จะเป็นการยกเว้นให้แบบสูญเปล่า หลักเกณฑ์ถัดมาคือ ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี ประเทศไอร์แลนด์จะจัดเก็บภาษีจากลูกค้า ณ จุดชำระเงินของร้านค้าปลีกต่างๆ โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่ในการยื่นนำส่งภาษีเท่านั้น แต่ประเทศไทยผู้ประกอบการต้องชำระภาษีเมื่อนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือผู้นำเข้าต้องชำระภาษีเมื่อนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทยสำเร็จและมีหน้าที่ต้องเสียภาษีศุลกากร ซึ่งมีหลักเกณฑ์แตกต่างกัน และหลักณ์สุดท้ายคือ ฐานภาษี ประเทศไอร์แลนด์จัดเก็บโดยใช้อัตราภาษีเป็นอัตราคงที่ต่อถุงพลาสติก 1 ใบ ซึ่งเท่ากันทุกใบ แต่ประเทศไทยจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าของสินค้า จึงไม่สามารถนำหลักเกณฑ์ของประเทศไอร์แลนด์มาประยุกต์ใช้ได้ ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติกของประเทศไทยนั้น ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะคือ การกำหนดอัตราภาษี ควรคำนวณจากต้นทุนในการจัดการกับขยะถุงพลาสติกและต้นทุนในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบ โดยการจัดเก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณพลาสติกที่ใช้ผลิต และการกำหนดฐานภาษี อาจแบ่งตามปริมาณส่วนผสมของพลาสติกต่อพื้นที่ผิวถุงพลาสติก โดยำกำหนดเป็นช่วงร้อยละของปริมาณพลาสติกของพื้นที่ถุงพลาสติก หรือเป็นช่วงของปริมาณพลาสติกต่อพื้นที่ผิดถุงพลาสติกก็ได้ นอกจากนี้ ควรมีการรณรงค์หรือสนับสนุนการใช้ถุงที่ไม่ได้ผลิตจากพลาสติก และประชาสัมพันธ์หรือให้ความรู้แก่ประชาชนถึงปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติกและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายได้ผลดียิ่งขึ้น และสามารถลดปริมาณใช้ถุงพลาสติกได้อย่างยั่งยืนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.17-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกำจัดขยะen_US
dc.subjectถุงพลาสติกen_US
dc.titleแนวทางการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตถุงพลาสติกen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorTashmai.R@chula.ac.th-
dc.subject.keywordปัญหาขยะen_US
dc.subject.keywordการจัดการขยะen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.17-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 61980 34.pdf23.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.