Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61083
Title: การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด
Authors: ลินดา ลิ้มสกุล
Advisors: วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Wirote.W@Chula.ac.th
Subjects: ไปรษณีย์
ธุรกิจ--การแข่งขัน
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาหัวข้องานเอกัตศึกษาเรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่า บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ควรอยู่ภายใต้กฎหมายการ บังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560หรือไม่ เนื่องจากใน มาตรา 4(2) บัญญัตินั้น มีบทบัญญัติยกเว้น มิให้ใช้บังคับแก่การกระทำของ “รัฐวิสาหกิจ” องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ดำเนินการตามกฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษา ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค ซึ่ง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นหนึ่งในองค์กรรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย การศึกษาดังกล่าวจะช่วยให้เอกชนผู้ประกอบธุรกิจ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ได้รับประโยชน์และ ความเป็นธรรมจากการแข่งขันทางการค้าในตลาดการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และกิจการไปรษณีย์ ทำให้ได้รับการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมที่สุด บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ควรอยู่ภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากการให้บริการของ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ในปัจจุบัน มีความมุ่งหวังตลาดเดียวกับเอกชนผู้ประกอบธุรกิจอย่างเดียวกันในตลาดด้วย ข้อจำกัดและข้อยกเว้นดังกล่าวถึงไม่ควรเหมารวมกิจการไปรษณีย์ ใน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ทั้งหมดว่าเป็นไป เพื่อ “ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือจัดให้มีสาธารณูปโภค”ตามมาตรา 4(2) แห่ง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 อย่างเดียว ควรมีมาตรการในการจำแนกกิจการว่ากิจการใดอยู่ในข่ายที่ควรได้รับยกเว้นตามมาตรา 4(2) และกิจการใดไม่ โดยตีความตามลักษณะ ว่า “เป็นการแข่งขันกับเอกชน” หรือ “เพื่อประโยชน์สาธารณะ” โดยหากบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ดำเนินกิจการในลักษณะการแข่งขันกับเอกชนในตลาด โดยใช้อำนาจเหนือตลาดโดยมิชอบ หรือใช้กำไรจากบริการที่ผูกขาดไปรษณีย์มาสนับสนุนกิจการ undertaking เห็นเป็นการสมควรต้องบังคับตามกฎหมายพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 โดยมิให้ใช้ยกเว้นหรือประโยชน์จากอำนาจสิทธิขาดที่ได้รับตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 มา พิจารณาเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการศึกษาถึงประเด็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ว่าสมควรตกอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย สมมติฐานของการศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 โดยไม่ได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติของกฎหมาย วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อให้ทราบถึงแนวทางและหลักเกณฑ์ในการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรมในธุรกิจไปรษณีย์ 2. เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความไม่เหมาะสมในการแข่งขันทางการค้าในธุรกิจไปรษณีย์ในประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาแนวทาง นโยบาย และบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้าเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาและกำหนดเงื่อนการแข่งขันทางการค้าในบริษัท ไปรษณีย์ไทย จากัด กับเอกชนคู่แข่ง 4. เพื่อศึกษาแนวทางให้กับภาคธุรกิจเอกชนผู้ประกอบการขนส่งด่วนและธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับไปรษณีย์ของเอกชน กับของรัฐ ให้การแข่งขันทางการค้ากันอย่างเป็นธรรมในตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค 5. เพื่อจัดทำแนวทางข้อเสนอแนะและวางแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อการแข่งขันทางการค้าอย่างยุติธรรมในภาคธุรกิจไปรษณีย์ในประเทศไทย 6. เพื่อศึกษาแนวทาง มาตรการทางกฎหมาย หลักการ และข้อกำหนดต่างๆของต่างประเทศในเรื่องการแข่งขันทางการค้า เพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้ากับกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้าในประเทศไทย โดยศึกษาพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 และ ศึกษากรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และพัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้าในประเทศไทย
Description: เอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61083
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.36
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2017.36
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62420 34.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.