Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61332
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์-
dc.contributor.advisorจรรยา ฉิมหลวง-
dc.contributor.authorมะลิวรรณ กระโพธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-02-26T13:31:12Z-
dc.date.available2019-02-26T13:31:12Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61332-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ได้แก่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคา การรับรู้ความสามารถของตนเอง และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามวัยผู้ใหญ่ที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 212 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามภาระที่ค้างคา แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถของตนเอง แบบสอบถามสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว และแบบสอบถามการยอมรับความตาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86, .72, .74, .74, .89 และ .70 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย และค่าสัมประสิทธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีการยอมรับความตายในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ31.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.47 2. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.61, r= -.39) ตามลำดับ 3. ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตายและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .41, r =.38) ตามลำดับ และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.20)-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to investigate factors related to death acceptance of advanced cancer patients, including death anxiety, Buddhist beliefs about death, unfinished task, self-efficacy and family relationship. The paticipants comprised two hundred and twelve adult advanced cancer patients who had received services  from cancer clinics in King Chulalongkorn Memorial Hospital, Ramathibodi Hospital and Thai National Cancer Institute. The research instruments included the Demographic Questionnaire, Death Anxiety Questionnaire, Religious Belief about Death Questionnaire, Unfinished task Questionnaire, The General Self-Efficacy Scale, Family Relationship Questionnaire and Death Acceptance Scale.These instruments were tested for their content validity by a panel of experts. Instrument was tested by using Cronbach's alpha coefficient reliability obtained at .86, .72, .74, .74, .89, and .70, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The major findings were as follows: 1. The advanced cancer patients had high levels of death acceptance (mean= 31.37; SD= 3.47). 2. Death anxiety and unfinished task were significantly negative correlated with death acceptance of advanced cancer patients  (r = -.61, r = -.39), respectively. 3. Buddhist beliefs about death, perceived self-efficacy, and family relationship were significantly positive correlated with death acceptance of advanced cancer patients (r = .41, r =.38, r =.20), respectively.  -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.994-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectมะเร็ง -- การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ-
dc.subjectความตาย-
dc.subjectความเศร้า-
dc.subjectการรับรู้ตนเอง-
dc.subjectCancer -- Palliative treatment-
dc.subjectDeath-
dc.subjectSadness-
dc.subjectSelf-perception-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม-
dc.title.alternativeFactors related to death acceptance of advanced cancer patients-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorJanya.C@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordการยอมรับความตาย-
dc.subject.keywordผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม-
dc.subject.keywordความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย-
dc.subject.keywordความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตาย-
dc.subject.keywordภาระที่ค้างคา-
dc.subject.keywordการรับรู้ความสามารถของตนเอง-
dc.subject.keywordสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว-
dc.subject.keywordDEATH ACCEPTANCE-
dc.subject.keywordADVANCED CANCER-
dc.subject.keywordDEATH ANXIETY-
dc.subject.keywordBUDDHIST BELIEFS ABOUT DEATH-
dc.subject.keywordSELF-EFFICACY-
dc.subject.keywordFAMILY RELATIONSHIP-
dc.subject.keywordUNFINISHED TASK-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.994-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877189936.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.