Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61508
Title: ประเภท ปริมาณ และการกระจายตัวของขยะพลาสติกจากกิจกรรมของมนุษย์ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
Other Titles: Types, quantity and distribution of plastic debris from anthropogenic sources inintertidal zone, Sichang Island, Chonburi province, Thailand
Authors: ศรุต ข่ายแก้ว
Advisors: สมฤดี จิตประไพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ขยะพลาสติกในทะเล -- ไทย -- ชลบุรี
ขยะในทะเล
Plastic marine debris -- Thailand -- Chonburi
Marine debris
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาประเภท ปริมาณ และการกระจายตัวของขยะพลาสติกจากกิจกรรมของมนุษย์ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ในสามพื้นที่ศึกษา คือ หาดท่าวัง ทางฝั่งตะวันออกของเกาะสีชัง หาดถ้ำพัง ทางฝั่งตะวันตกของเกาะสีชัง และหาดด้านเหนือของเกาะค้างคาว ซึ่งเป็นเกาะบริวารที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะสีชัง รวมทั้งศึกษาการเปลี่ยนแปลงทิศทางลม ทิศทางกระแสน้ำ รูปร่างของหาด ความชันของหาด ลักษณะพื้นทะเล และคุณลักษณะของพลาสติก ซึ่งเป็นปัจจัยทางกายภาพร่วมกับปัจจัยจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นบนเกาะสีชังและโดยรอบเกาะสีชัง โดยเฉพาะจากจำนวนประชากร กิจกรรมการประมง การท่องเที่ยว และการขนถ่ายสินค้า ซึ่งสัมพันธ์กับรูปแบบของขยะพลาสติกที่พบในแต่ละบริเวณ ผลการศึกษาพบขยะทะเลทั้งหมด 6,137 ชิ้น หนัก 132.3 กิโลกรัม คิดเป็นความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 11.36 ± 4.44 ชิ้น/100 ตารางเมตร จำแนกขยะทั้งหมดตามประเภทและปริมาณตามลำดับได้ดังนี้ แก้ว (ร้อยละ 40.24) พลาสติก (ร้อยละ 31.93) ฟอยล์ (ร้อยละ 7.57) พลาสติกแข็ง (ร้อยละ 5.74) เชือก (ร้อยละ 5.65) โลหะ/อลูมิเนียม (ร้อยละ 3.02) ไม้ (ร้อยละ 2.37) ยาง (ร้อยละ 1.46) กระดาษ (ร้อยละ 0.31) และอื่นๆ (ร้อยละ 1.71) และเมื่อรวมขยะพลาสติก 3 ประเภทเข้าด้วยกันคือ พลาสติก พลาสติกแข็ง และเชือก พบว่าขยะประเภทพลาสติกมีปริมาณมากที่สุดในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,674 ชิ้น และหนัก 31.77 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 43.32 ของขยะทะเลที่พบทั้งหมด ประเภทของขยะทะเลที่พบนี้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทั้งระหว่างบริเวณและฤดูกาลที่เก็บตัวอย่าง ประเภทของขยะพลาสติกที่พบในปริมาณมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ถุงพลาสติก (LDPE) พบร้อยละ 71 เชือกไนลอน (PA) ร้อยละ 11 และพลาสติกแข็ง (HDPE) ร้อยละ 8 ของขยะทะเลพลาสติกทั้งหมด ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ประเภทขยะเด่นตามปริมาณของขยะทะเลพลาสติกพบว่า ขยะพลาสติกประเภท LDPE เป็นประเภทเด่นของทั้งสามบริเวณ และปริมาณที่พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างฤดูกาล โดย LDPE ซึ่งมีคุณสมบัติลอยน้ำ และนิยมใช้ในหมู่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปมีปริมาณมากที่สุดในฤดูกาลที่บริเวณนั้นๆ ได้รับอิทธิพลจากลม และกระแสน้ำโดยตรง จึงพบว่าขยะพลาสติกประเภท LDPE มีปริมาณมากที่สุดในรอบปี จากการเก็บตัวอย่างบริเวณหาดท่าวังเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่หาดนี้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากเทศกาลตรุษจีน และงานนมัสการเจ้าพ่อเขาใหญ่ และหาดได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรง ส่วนพลาสติกประเภทขวดน้ำดื่ม (PETE) พบในปริมาณมากในบริเวณหาดด้านเหนือของเกาะค้างคาว เนื่องจากเป็นพื้นที่ศึกษาเดียวที่เป็นแหล่งดำน้ำดูปะการัง แต่ไม่มีน้ำจืด และไม่มีระบบกำจัดขยะ การกระจายตัวของขยะพลาสติกในเขตน้ำขึ้นน้ำลงในแต่ละบริเวณพบว่าขึ้นกับปัจจัยหลักทางกายภาพ 3 ประการ คือ รูปร่างของหาด ความชันของหาด และลักษณะพื้นทะเล โดยบริเวณหาดถ้ำพังซึ่งมีรูปร่างโค้ง มีหัวแหลมผาชันช่วยลดความรุนแรงของคลื่นและลม จึงพบขยะพลาสติกกระจายตัวสม่ำเสมอทั่วบริเวณ ฤดูกาลสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงความชันของหาดในทั้งสามบริเวณ และพบว่าขยะพลาสติกมักสะสมตัวในตำแหน่งที่หาดมีการเปลี่ยนแปลงความชันอย่างรวดเร็ว และลักษณะพื้นทะเลที่หินขรุขระหรือแนวปะการัง เช่น ที่หาดถ้ำพังและหาดด้านเหนือของเกาะค้างคาว พบว่าขยะพลาสติกประเภทถุงพลาสติก (LDPE) และเชือก (PA) มักเกี่ยวพันและถูกดักจับไว้กับพื้นหินในปริมาณมากกว่าพื้นทราย ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามของนักท่องเที่ยวที่พบที่เกาะสีชังจำนวน 150 คนพบว่า แม้นักท่องเที่ยวมากกว่าร้อยละ 80 ตอบว่าจะกลับมาเที่ยวเกาะสีชังอีกเพราะความสวยงามของเกาะ แต่มีนักท่องเที่ยวถึงร้อยละ 70 มีความพึงพอใจที่ลดลง เนื่องจากปัญหาความสะอาดและขยะของแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะสีชัง รวมทั้งความไม่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะของร้านค้าท้องถิ่น ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีสภาพธรรมชาติทางทะเลที่สวยงาม จะต้องควบคู่ไปกับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นโดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติกด้วย ผลการศึกษานี้สามารถใช้นำเสนอแนวทางจัดการปัญหาขยะบกและขยะทะเลที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ศึกษา และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้
Other Abstract: Types, quantity and distribution of plastic debris from anthropogenic sources in intertidal zone, Sichang Islands, Chonburi Province was conducted during February to December 2016. Three study areas were Tawang Beach on the east coast of Sichang Island, Tumphang Beach on the west coast of Sichang Island, and the north coast of Kang Kao Island. Study on wind and current direction, shape of shoreline, beach profile, seafloor types, and specific characteristics of plastics in relation to pattern of marine plastic debris was carried out. These physical parameters were examined along with human activity on and around Sichang Island, particularly, number of local population, fishing activities, tourism and cargo loading. The study found 6,137 pieces or 132.3 kg. of marine debris. Average density of the debris was 11.36 ± 4.44 pieces/100 square meters. The debris was classified into types and quantity as follow: glass (40.24%), plastics (31.93%), foil (7.57%), hard plastics ( 5.74%), rope (5.65%), metal / aluminum (3.02%), wood (2.37%), rubber (1.46%), paper (0.31%) and others (1.71%). Plastics, hard plastics, and nylon rope were combined to make 2,674 pieces, 31.77 kg. or 43.32% of all marine debris. Temporal and spatial differences in the debris types were no significant. The top three types of plastic marine debris found were plastic bags (LDPE) 71%, nylon rope (PA) 11% and hard plastics (HDPE) 8%, respectively. The Index of Relative Importance (IRI) analysis showed that LDPE is the dominant plastic type found in each study sites. Temporal difference in the number of LDPE was significant. LDPE was found at the greatest amount in late February on Tawang Beach because the beach directly faced the NE monsoon wind. Also, it was due to the floating character and popularity of LDPE among tourists and locals during annual local festivals during that time of year. PETE was one of the top three plastic debris found in the north coast of Kang Kao Island. This site was the only study site with coral reef that offered snorkelling opportunity. However, there was no potable water and waste management system in place. Distribution pattern of plastic marine debris found in each study site depended on three major physical parameters. These included shape of shoreline, beach profile and seafloor types. On Tumphang Beach, a pocket beach located between two headlands with no strong wind and current, debris was found in even pattern all over the beach. As the beach profile changed with the seasons, plastic debris was accumulated where beach slope steeply changed. Rocky shore and coral reef were rugged seafloor that trapped LDPE and PA in greater amount compared with smooth sandy beach. Analysis of questionnaire surveys on 150 tourists who visited Sichang Island found that 80% of tourists said that they would return to the area due to its natural beauty. However, 70% of tourist had less satisfaction level after they visited the island. This was due to cleanliness and waste management issues of the island. Also, the lack of awareness on the waste issue among locals was concerned. The study emphasized that, in order to successfully promote tourism in natural settings, local environment management, especially plastic waste, should be among top priority. Results from this study will not only benefit waste management planning specifically for each study site but will also applicable for other sites with similar characteristics.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61508
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.830
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.830
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772159023.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.