Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61796
Title: ผลของปริมาณมอนต์มอริลโลไนต์ต่อการเกิดนิวเคลียสผลึกของพอลิโพรพิลีน
Other Titles: Effects of montmorillonite content on nucleation of polypropylene
Authors: พนิตนันท์ ศรีสุวรรณ
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: อรอุษา สรวารี
วรรณี ฉินศิริกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sonusa@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: Nucleation
Polypropylene
Montmorillonite
โพลิโพรพิลีน
มอนต์มอริลโลไนต์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของปริมาณมอนต์มอริลโลไนต์และมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรต่อการเกิดนิวเคลียสผลึกของพอลิโพรพิลีน โดยนำพอลิโพรพิลีนผสมกับมอนต์มอริลโลไนต์หรือ มอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรปริมาณ 0.075%-3.0% โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องผสมแบบปิด จากนั้น นำพอลิโพรพิลีนคอมพอสิตที่เตรียมได้ไปขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน โดยกระบวนการแบบอัดและแบบหล่อแผ่นสกรูเดี่ยว นำชิ้นงานไปตรวจสอบประสิทธิภาพในการเป็นสารก่อนิวเคลียสผลึกของมอนต์- มอริลโลไนต์และมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปร ด้วยเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงคาลอริเมทรีและเทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน ศึกษาสมบัติทางความร้อนและสมบัติเชิงกลของชิ้นงานตัวอย่าง จากการทดลองพบว่า การใส่มอนต์มอริลโลไนต์หรือมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรแม้ปริมาณเพียงเล็กน้อย มีผลทำให้พอลิโพรพิลีนมีอุณหภูมิการเกิดผลึกและดีกรีความเป็นผลึกเพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้สเฟียรูไลต์พอลิโพรพิลีนมีขนาดเล็กลง ชี้ให้เห็นว่า ทั้งมอนต์มอริลโลไนต์และ มอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรสามารถทำหน้าที่เป็นสารก่อนิวเคลียสผลึกของพอลิโพรพิลีนได้ โดยมอนต์มอริลโลไนต์มีประสิทธิภาพสูงกว่ามอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปร จากเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกโตแกรมแสดงให้เห็นว่า มอนต์มอริลโลไนต์ชักนำให้พอลิโพรพิลีนเกิดผลึกแบบแอลฟา ในขณะที่มอนต์- มอริลโลไนต์ดัดแปรชักนำให้เกิดผลึกแบบแอลฟาส่วนใหญ่และมีผลึกแบบบีตาปะปนอยู่ในปริมาณต่ำ ผลการทดสอบสมบัติทางความร้อนและสมบัติเชิงกลพบว่า การใส่มอนต์มอริลโลไนต์ทั้งชนิดที่ไม่ผ่านและผ่านการดัดแปรในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้เสถียรภาพทางความร้อน ความทนแรงดึงและความทนแรงกระแทกของพอลิโพรพิลีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการพิจารณาประสิทธิภาพการเป็นสารก่อนิวเคลียสผลึกและความสามารถในการกระจายตัวในพอลิโพรพิลีนเมทริกซ์ของมอนต์มอริลโลไนต์หรือมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปร รวมทั้งเสถียรภาพทางความร้อนและสมบัติเชิงกลของชิ้นงานพอลิโพรพิลีน ทำให้สรุปได้ว่า ปริมาณมอนต์มอริลโลไนต์และมอนต์มอริลโลไนต์ดัดแปรที่เหมาะสมในการผสมกับพอลิโพรพิลีนทั้งกระบวนการขึ้นรูปแบบอัดและแบบหล่อแผ่นสกรูเดี่ยวคือ 1.0% และ 0.1% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ
Other Abstract: In this research, the effects of montmorillonite (MMT) and organomodified-montmorillonite (OMMT) content on nucleation of polypropylene (PP) were investigated. The PP/MMT and PP/OMMT composites containing different MMT or OMMT content (0.075-3.0 wt%) were prepared by a melt blending process using an internal mixer, followed by compression molded or single-screw casted into sheets. The nucleation effect of MMT and OMMT was characterized by differential scanning calorimetry and x-ray diffraction (XRD) technique. The thermal and mechanical properties of the PP composites were also studied. It was found that the addition of even a very small amount of MMT or OMMT into PP resulted in a higher crystallization temperature, a higher degree of crystallinity, and a smaller size of spherulites. This indicated that both MMT and OMMT are able to nucleate PP in which MMT is more efficient. The XRD patterns showed that the addition of MMT did not affect the crystal structure of PP, i.e. the crystallites are α-phase. However, the crystallites of PP with OMMT addition are mostly α-phase with a minority of β-phase. Thermogravimetric analysis and mechanical properties test revealed that the thermal stability and the tensile and impact strengths of PP tended to be better with the optimum concentration of MMT or OMMT addition. Considering the nucleating efficiency and the dispersibility in PP matrix of MMT or OMMT, the thermal stability, and the mechanical properties, it can be concluded that the optimum content of MMT and OMMT to be used as nucleating agent for PP in both compression molding and extruder sheet process were 1.0 and 0.1 wt% , respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61796
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2166
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2166
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5072662723_2552.pdf18.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.