Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61911
Title: การตกแต่งหน่วงไฟและต้านการหลอมหยดผ้าพอลิเอสเทอร์โดยใช้ไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต เบนโทไนต์ และอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์
Other Titles: Flame retardant and antidripping of polyester fabric using diammonium hydrogen phosphate, bentonite and aluminium hydroxide
Authors: ปนิษฐา เลิศขจรสุข
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: สิรีรัตน์ จารุจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sireerat.c@chula.ac.th
Subjects: เส้นใยโพลิเอสเทอร์
แอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต
เบนทอไนต์
อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์
Polyester fibers
Diammonium hydrogen phosphate
Bentonite
Aluminium hydroxide
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการปรับปรุงสมบัติหน่วงไฟและการต้านหลอมหยดของผ้าพอลิเอสเทอร์โดยใช้สารแขวนลอยที่ประกอบด้วยเบนโทไนต์ปริมาณร้อยละ 10, 15, 20 และ 25 โดยน้ำหนัก สารละลายไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟตร้อยละ 3 โดยน้ำหนัก และ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ในปริมาณร้อยละ 5 และ 10 โดยน้ำหนัก ด้วยเทคนิคจุ่มอัด-อบด้วยความร้อน เนื่องจากสารแขวนลอยเบนโทไนต์ปริมาณตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป มีความหนืดสูงมากทำให้ยากต่อกระบวนการตกแต่ง ดังนั้นจึงเติมโซเดียมคลอไรด์ร้อยละ 4 ลงไปในสารแขวนลอยเบนโทไนต์ตั้งแต่ร้อยละ 10 ถึง 25 ซึ่งทำให้ความหนืดลดลงและการตกแต่งหน่วงไฟง่ายขึ้น จากนั้นนำผ้าพอลิเอสเทอร์ที่ผ่านและไม่ผ่านการตกแต่งหน่วงไฟมาทดสอบพฤติกรรมการติดไฟ พบว่าภายหลังการซัก 5 รอบ ผ้าพอลิเอสเทอร์มีสมบัติหน่วงไฟที่ดีกว่าก่อนนำไปซัก กล่าวคือสารตกแต่งหน่วงไฟที่ประกอบด้วยไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟตร้อยละ 3 หรืออะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ในปริมาณร้อยละ 5 และ 10 เพียงอย่างเดียวยังคงหน่วงไฟได้ดีโดยไฟดับเองได้หลังนำแหล่งจุดไฟออกและต้านการหลอมหยดผ้าพอลิเอสเทอร์ได้ (ไม่มีการหลอมหยดเกิดขึ้น)เช่นเดิม และเช่นเดียวกันสารแขวนลอยเบนโทไนต์ร้อยละ 10 ขึ้นไปผสมกับโซเดียมคลอไรด์ร้อยละ 4 และที่นำไปผสมกับไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟตร้อยละ 3 หรือผสมกับอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ร้อยละ 5 และ 10 สามารถหน่วงไฟได้ดีโดยไฟดับเองได้หลังนำแหล่งจุดไฟออกและต้านการหลอมหยดผ้าพอลิเอสเทอร์ได้ทั้งๆที่ก่อนซักผ้าพอลิเอสเทอร์ยังคงติดไฟและลามไฟหลังจากนำแหล่งจุดไฟออกและมีการหลอมหยดเกิดขึ้น อาจเนื่องจากโซเดียมคลอไรด์ที่ทำให้ความหนืดของสารแขวนลอยเบนโทไนต์ลดลงและที่ติดไฟง่ายได้ถูกขจัดออกไปในขั้นตอนการซักนั่นเอง จากภาพถ่าย SEM ก็ได้บ่งชี้ว่าหลังการซัก 5 รอบ อนุภาคที่เกาะแทรกอยู่ระหว่างเส้นใยได้ถูกขจัดออกไปแต่ยังมีชั้นของสารหน่วงไฟเคลือบอยู่บนผิวเส้นใย อีกทั้งผลของ EDX ได้ยืนยันว่ายังคงมีองค์ประกอบเคมีของสารหน่วงไฟ (เบนโทไนต์ ไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต หรืออะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์) บนผิวเส้นใยดังกล่าว นอกจากนี้สารหน่วงไฟที่ตกแต่งบนผ้าพอลิเอสเทอร์ยังไม่มีผลต่อความขาวของผ้าอีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this research was to improve flame retardancy and antidripping of polyester fabric by using 10, 15, 20 and 25%wt bentonite (BNT), 3%wt diammonium hydrogen phosphate (DA) and 5 and 10%wt aluminium hydroxide (Al(OH)₃) via pad-dry technique. The slurry of BNT (>10%wt) exhibited high viscosity leading to the difficulty for finishing process. Thus, the addition of 4%wt of sodium chloride (NaCl) to the suspension of BNT (up to 25%wt) resulted in lower and suitable viscosity of the slurry for finishing process. After 5 cycles washing, the burning behavior of the treated polyester fabric showed better performance than that of before washing. That is, 3%wt DA or 5 and 10%wt Al(OH)₃ alone could remain flame extinguishment after removal of the ignition source and also impart antidripping (no melt drips) as before washing. Similarly, after washing, the slurry of 10%wt BNT alone and 10%wt BNT mixed with 4%wt NaCl and also mixed with 3%wt DA or 5 and 10%wt Al(OH)3 could better promote flame extinguishment after removal of the ignition source and also better impart antidripping than before washing. This may be due to NaCl which lower the viscosity of the slurry of bentonite and also easy to ignite has been removed by washing. SEM images indicated the layer of flame retardants coated on the fiber surface whereas FR particles existed between fibers were removed. Furthermore, EDX results confirmed the presence of the composition of flame retardants (BNT, DA or Al(OH)3) remaining on the fiber surface. In addition, these flame retardants treated on polyester fabrics had no effect on fabric whiteness.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61911
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1723
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1723
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5172349423_2553.pdf17.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.