Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62970
Title: | อิทธิพลของคุณประโยชน์ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ต่อความเชื่อมั่นและความยึดมั่นในแบรนด์ : ตัวแปรคั่นกลางของการมีส่วนร่วม |
Other Titles: | Effect of facebook fanpage benefit on brand trust and brand commitment : mediating effect of active participation |
Authors: | ศตวรรษ จำเพียร |
Advisors: | ณัฐพล อัสสะรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
Advisor's Email: | Nuttapol.A@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณประโยชน์ที่ได้จากเฟซบุ๊กแฟนเพจที่มีต่อความเชื่อมั่นในแบรนด์และความยึดมั่นในแบรนด์ การศึกษานี้เลือกเฟซบุ๊กเป็นตัวแทนเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์ การเก็บข้อมูลทําโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ตามสัดส่วนประชากรศาสตร์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจร้านอาหาร จํานวน 380 คน ผลการศึกษาพบว่า ประโยชน์ทางด้านสุนทรียะมีอิทธิพลต่อความยึดมั่นในแบรนด์สูงที่สุด ตามด้วย ประโยชน์ทางด้านการใช้งานและประโยชน์ทางด้านจิตวิทยาสังคมตามลําดับ โดยผ่านจากการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นและความเชื่อมั่นในแบรนด์ ยกเว้นประโยชน์ทางด้านการเงินที่ไม่พบอิทธิพลดังกล่าว การวิจัยนี้ได้นําเสนอแบบจําลองที่แสดงถึงคุณประโยชน์ของแบรนด์ ความเชื่อมั่นในแบรนด์ และความยึดมั่นในแบรนด์ ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่นําไปสู่การเจริญเติบโตของธุรกิจที่สามารถปรับใช้ได้กับทั้งองค์กรที่มีขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งจะช่วยให้องค์กรธุรกิจของไทยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และเติบโตในตลาดได้อย่างยั่งยืน |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the effect of Facebook fan page benefits on brand trust and brand commitment. Facebook was selected as a representative of social network sites. Online questionnaires were used in data collection process. The questionnaires were distributed proportionately to Thailand Facebook users’ demography. The questionnaires survey collected from 380 Thai customers who joined restaurants Facebook fan page. The result of the empirical research found that hedonic benefits had the greatest impact on brand commitment following by functional benefits and social-psychological benefits respectively through active participation and brand trust, but monetary benefits do not significantly impact. This research also proposed a model to brand benefits, brand trust and brand commitment. This is key factors that lead to business growth which can be adapted to both small and large firm especially restaurant firm. This will help Thai businesses to advance their competitiveness and sustainably grow in the market. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62970 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.927 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.927 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Acctn - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5981541726.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.