Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63122
Title: ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ
Other Titles: Violence in workplace : a case study of officer staffs in police general hospital
Authors: รมิดา แสงสวัสดิ์
Advisors: สุมนทิพย์ จิตสว่าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: ความรุนแรงในที่ทำงาน
สภาพแวดล้อมการทำงาน
ความรุนแรงในโรงพยาบาล
Violence in the workplace
Work environment
Violence in hospitals
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง “ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน: ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน สาเหตุของความรุนแรงในสถานที่ทำงาน และเพื่อแสวงหาแนวทางในการป้องกันและการแก้ไขความรุนแรงในสถานที่ทำงานของเจ้าหน้าที่และบุคลากรในโรงพยาบาลตำรวจ ระเบียบวิธีวิจัย คือ วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือเจ้าหน้าที่และบุคลากรของโรงพยาบาลตำรวจ รวมทั้งสิ้น 204 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบออนไลน์และแบบกรอกข้อมูลลงกระดาษสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ คือ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว    จากผลการวิจัย พบว่า ด้านผลกระทบและรูปแบบของความรุนแรงในสถานที่ทำงานกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พบเจอกับความรุนแรงทางวาจามากที่สุด ในลักษณะของการใช้น้ำเสียงตะคอก และการกล่าวตำหนิ/กล่าวโทษ ผู้กระทำความรุนแรงทั้งทางวาจาและร่างกายที่พบในสถานที่ทำงานมากที่สุด คือ ผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานเดียวกัน ผลกระทบที่ได้รับจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ไม่ได้รับบาดเจ็บใดๆ และยังคงทำงานปกติ แต่ในบางรายกระทบต่อความรู้สึก จิตใจ และเลือกที่จะหยุดงาน ย้ายหน่วยงานหรือลาออก ด้านการจัดการกับความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้วิธีพูดคุยหรือบอกเล่าให้บุคคลอื่นรับฟัง และในกรณีที่ไม่บอกเล่าเหตุการณ์ต่อบุคคลอื่น พบว่าเห็นเป็นเรื่องไม่สำคัญและกลัวถูกมองในแง่ลบ ด้านสาเหตุของความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า ปัจจัยที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมทางสังคมมีโอกาสส่งผลให้เกิดความรุนแรงได้มากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย ความกดดันจากสภาวะเร่งรีบในการปฏิบัติงาน สภาวะแวดล้อมในการทำงานที่มีความเครียด และความกดดันที่เกิดจากความผิดพลาด ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าความแตกต่างทางศาสนาและความเชื่อส่งผลต่อความรุนแรงในสถานที่ทำงานน้อยที่สุด แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงควรยึดความแตกต่างเฉพาะบุคคล รูปแบบหรือลักษณะของความรุนแรงที่เกิดขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีสำหรับการป้องกันความปลอดภัยมาใช้ นอกจากนี้ผู้บริหารขององค์กรสามารถนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดตั้งโครงการอบรมเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงภัยและผลกระทบของปัญหา และยังเป็นส่วนช่วยในการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการ หรือการรับมือกับปัญหาความรุนแรงในสถานที่ทำงาน
Other Abstract: The study of “Violence in workplace: a case study of officer staffs in Police General Hospital” has the objective to study the effects of violence in workplace, the causes of violence in workplace, and to search for guidelines for preventing and solving the issue of violence in workplace of officer staffs at Police General Hospital. The methodology of this study is mixed. Samples and significant informants are 204 officer staffs at Police General Hospital. Tools in this study are online questionnaires, hard copies of the completed form for the quantitative part of the study, and semi-structured interviews for the qualitative part of the study. The statistics in this study are percentage, mean, S.D., and One-way ANOVA.    From the study, for the effects and types of violence in the workplace, the most common form of violence which most of the sample respondents face is verbal violence in the manner of using the tone of snapping, blaming, or accusing. The most common verbal and physical violence users in the workplace are associates within the same agency. The most common effect of the violent incident is no injury and a continuation of normal work. However, there are mental and emotional effects in some cases, and people might choose to stop working, to move to other agencies, or to resign. For the management of violence, most of the sample respondents choose to talk with others. In the case of their choosing to be silent it is usually because they think it is not important or they are afraid that they will create a negative image. For the causes of the violence, most of the sample respondents agree that the social environment factor is the most significant factor which creates violence. This consists of the pressure from the hustle of work, the stressful work environment, and pressure from mistakes. At the same time, respondents agree that religious differences and beliefs have the least effect on violence in the workplace. Guidelines for the prevention and solution of this problem include consideration of the tolerance of individual differences, the type and nature of violence, and technological applications for prevention and safety. Moreover, agency executives can use the results of this study to organize training projects to create awareness of the disadvantages and effects of the problem. Moreover, the results can support the readiness of the management to deal with violence in the workplace through suitable approaches.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63122
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1480
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1480
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080989524.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.