Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63794
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorมณีรัตน์ ปานจันทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-10-29T09:53:47Z-
dc.date.available2019-10-29T09:53:47Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63794-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การรับรู้และพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องต่อนโยบายการใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน (2) ศึกษาผลของพฤติกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนที่เกิดกับครู ชุมชน และการเรียนรู้ของนักเรียน และ (3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม เก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ (1) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 15 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 265 คน ครู จำนวน 394 คน และนักเรียน จำนวน 427 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย (2) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างครูกรณีศึกษา 5 คน และนักเรียน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้เกี่ยวข้องมีการรับรู้นโยบายการใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนด้านความต้องการนโยบาย ความชัดเจนของนโยบาย และการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ในด้านความต้องการนโยบายผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยว่าแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนมีความสำคัญนักเรียนควรที่จะได้เรียนรู้ ด้านความชัดเจนของนโยบายเห็นด้วยว่าพระราชบัญญัติการศึกษามีการกำหนดและส่งเสริมให้ใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนสำหรับจัดการศึกษา และในด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยว่าโรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการส่งเสริมให้จัดการศึกษาโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน 2. พฤติกรรมที่สนองต่อนโยบายฯ พบว่า (2.1) ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีพฤติกรรมด้านการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษา และด้านการนิเทศติดตาม อยู่ในระดับมาก (2.2) ผู้บริหารสถานศึกษา มีพฤติกรรมด้านการส่งเสริมสนับสนุนครูผู้สอน ด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ด้านการนิเทศติดตาม และด้านการกำหนดแผนกิจกรรม อยู่ในระดับมาก (2.3) ครู มีพฤติกรรมด้านการเรียนรู้ของตนเองและด้านการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก 3. ผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายฯ พบว่าครูมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนมากขึ้น ชุมชนมีความรักและความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน และนักเรียนได้รับความรู้ที่หลากหลาย สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4. แนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษาโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน คือ ควรมีการสนับสนุนด้านงบประมาณ และส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to (1) analyze the perception and behavior of stakeholders of the policies on the utilization of community learning resources in enhancing student’s learning (2) study the effects of utilizing community learning resources on teachers, community and student’s learning and (3) study the means to support the utilization of community learning resources. The methodology of research is a mixed-method research. Data gathering is divided into 2 steps: (1) collecting quantitative data by using questionnaires on sample groups of 15 Office of Education Service Area executives, 265 schools executives, 394 teachers and 427 students, and analyzing the data with descriptive statistics (2) collecting qualitative data by interviewing sample groups of 5 case-study teachers and 15 students, and analyzing the data by analyzing the content. The research can be concluded as follows: 1. The stakeholders have a high level of perception of the utilization of community learning resources in terms of the need for policy, the clarity of policy, and the application of policy. In terms of the need for policy, the stakeholders agree that the community learning resources are important and suggested for students. In terms of clarity of policy, the Education Act has stipulated that the utilization of community learning resources be supported. In terms of the application of policy, the stakeholders agree that schools and the Office of Education Service Areas should encourage the utilization of community learning resources in conducting education. 2. Corresponding behaviors with the policy are as follows: (2.1) The Office of Education Service Area executives have a high level of corresponding behaviors with supporting schools and supervision (2.2) School executives have a high level of behaviors to support teachers in building learning networks, supervision, and formulating activity plans. (2.3) Teachers have a high level of behaviors in terms of self-learning and learning network building. 3. The impacts of the policy are better relationships between teachers and the community, love and pride in local wisdom from the community, and diverse knowledge which is applicable in everyday life for the students. 4. The directions to encourage education conducting by utilizing community learning resources are support in funding and support in conducting local curriculum.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2259-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศูนย์สังคมen_US
dc.subjectการเรียนรู้en_US
dc.subjectนักเรียนen_US
dc.subjectครูกับชุมชนen_US
dc.subjectCommunity centersen_US
dc.subjectLearningen_US
dc.subjectStudentsen_US
dc.subjectTeachers and communityen_US
dc.titleผลของนโยบายการใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนที่มีต่อการรับรู้และพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน : การวิจัยแบบผสมen_US
dc.title.alternativeEffects of the policies on the utilization of community learning resources on the perceptions and behaviors of stakeholders in enhancing students’ learning: mixed-method researchen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwimon.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.2259-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maneerath Panchan.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.