Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64065
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์-
dc.contributor.authorภารดี เตชะศิระประภากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-12-06T02:30:27Z-
dc.date.available2019-12-06T02:30:27Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64065-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน ในกรณีของผู้ป่วยนอกหากจำเป็นต้องใช้ยาและเวชภัณฑ์เกี่ยวกับยา แพทย์ผู้ทำการรักษาจะส่งใบสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ไปที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้ผู้เข้ารับบริการมีภาระผูกพันที่จะต้องรับยาที่โรงพยาบาลระบบดังกล่าว นอกจากจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีสิทธิเลือกชื่อทางการค้าของยา ในกรณีที่ยาชนิดหนึ่งผลิตขึ้นโดยมีชื่อทางการค้ามากกว่า 1 ชื่อ ยังนำมาซึ่งปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับยากในโรงพยาบาลเอกชนราคาสูงเกินจริง และเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคในการไปซื้อยานอกสถานพยาบาล จากการศึกษาพบว่า แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 จะให้การรับรองสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และสิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ แต่เนื่องจากยารักษาโรคเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างจากสินค้าเศรษฐกิจชนิดอื่น คือ ยารักษาโรคเป็นสินค้าที่จำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ สามารถต่อชีวิตให้ยืนยาวได้ ในขณะเดียวกันหากบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็เกิดโทษได้เช่นกัน ประกอบกับผู้บริโภคอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถกำหนดชนิด และปริมาณที่จะควรจะได้รับยารักษาโรคได้ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา ดังนั้นการออกไปซื้อยานอกสถานพยาบาล ซึ่งเป็นสิทธิในการเลือกซื้อสินค้า จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้บริโภคได้รับใบสั่งยา ที่มีลักษระเป็นคำสั่งหรือรายละเอียดในการให้ยาที่ออก และลงชื่อรับรองโดยแพทย์ผู้ตรวจรักษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงยังไมเพียงพอที่จะนำมารับรองสิทธิของผู้บริโภคในการไปซื้อยานอกสถานพยาบาลได้ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับใบสั่งยา ผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถออกใบสั่งยา ผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถส่งมอบยาได้ รวมถึงรายละเอียดอื่นที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการออกใบสั่งยา และมีบทบัญญัติที่ให้การรับรองสิทธิของผู้บริโภคในการได้รับใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยานอกสถานพยาบาลไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาครัฐควรมีมาตรการเข้ามากำกับดูแลร้านขายยาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน มีระบบการจัดทำบันทึกเกี่ยวกับการจ่ายยาตามใบสั่งยา ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.10-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectยาen_US
dc.subjectแพทย์en_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคen_US
dc.titleแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในการได้รับใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยานอกสถานพยาบาล : ศึกษากรณีโรงพยาบาลเอกชนen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwirote.w@chula.ac.th-
dc.subject.keywordใบสั่งยาen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลเอกชนen_US
dc.subject.keywordยารักษาโรคen_US
dc.subject.keywordบริการทางการแพทย์en_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2018.10-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086217834.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.