Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64129
Title: การปรับปรุงสภาวะที่ใช้ในการอบแห้งข้าวเปลือกโดยใช้เครื่องอบแห้งฟลูอิไดซ์เบดแบบต่อเนื่อง
Other Titles: Improve Conditions of Drying Paddy Rice Using Continuous Fluidization Bed Dryer
Authors: กัญจน์ สินธุพันธ์เดชา
พัทค์พศิณ สัมประสิทธิ์
Advisors: สุชญา นิติวัฒนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Suchaya.N@Chula.ac.th
Subjects: ข้าวเปลือก -- การอบแห้ง
เครื่องอบแห้ง
ฟลูอิไดเซชัน
Paddy -- Drying
Drying apparatus
Fluidization
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงสภาวะในการอบแห้งข้าวเปลือก โดยตัวแปรที่ศึกษาคือน้ำหนักที่ป้อนเข้าของข้าวเปลือก 100-300 กิโลกรัม อุณหภูมิลมร้อน 90-120 องศาเซลเซียส และความเร็วลม 10.3 และ 11.1 เมตรต่อวินาที รวมถึงการคำนวณประสิทธิภาพ ความสิ้นเปลืองในการใช้พลังงาน ของเครื่องอบแห้งฟลูอิไดซ์เบดแบบต่อเนื่อง ที่ศูนย์วิจัยชีวมวลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตัวแปรที่กำหนดให้คงที่คือความชื้นเริ่มต้นของข้าวเปลือกประมาณร้อยละ 20 ถึง 22 และอัตราการป้อนข้าวเปลือก 6.21 กิโลกรัมต่อนาที ผลการทดลองพบว่าสภาวะที่ทำให้ความชื้นของข้าวเปลือกอยู่ระหว่างร้อยละ 13-15 คือเมื่อน้ำหนักของข้าวเปลือกที่ป้อนเข้า 100 กิโลกรัม อุณหภูมิลมร้อน 110 องศาเซลเซียส และความเร็วลม 11.1 เมตรต่อวินาที เมื่อพิจารณาการสูญเสียข้าวเปลือกขณะทำการทดลอง พบว่าเครื่องอบแห้งฟลูอิไดซ์เบดแบบต่อเนื่องมีจุดรั่วไหล 5 ตำแหน่ง คิดปริมาณการรั่วไหลของข้าวเปลือกรวมร้อยละ 12.38 ตำแหน่งที่เกิดการรั่วไหลมากที่สุดคือบริเวณสายพานที่นำข้าวเปลือกจากเบดลมร้อนไปสู่เบดลมเย็น (สายพาน 2) เมื่อคำนวณประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งฟลูอิไดซ์เบดแบบต่อเนื่องนี้พบว่ามีค่าร้อยละ 77.30 ความสิ้นเปลืองพลังงานโดยคิดจากการจดบันทึกมิเตอร์ไฟฟ้าคิดเป็นเงิน 33.31 บาทต่อชั่วโมง งานวิจัยนี้ได้ปรับปรุงวิธีการดำเนินการอบแห้งใช้อุณหภูมิลมร้อนต่ำลงจาก 120 องศาเซลเซียส 110 องศาเซลเซียส ในการทำให้ข้าวเปลือกมีความชื้นในช่วงที่ต้องการ
Other Abstract: This research was aimed to study the conditions of drying paddy rice (RD 49). Parameters studied were the amount of feed in the range of 100-300 kgs, hot air temperature in the range of 90–120°C and hot air velocity at 10.3 and 11.1 m/s. The efficiency and the energy consumption of continuous fluidized bed dryer, the Center of Fuels and Energy for Biomass, Chulalongkorn University, Kaeng Khoi District, Saraburi Province, were also calculated. The initial moisture content of paddy and mass flow rate were fixed between 20 - 22 % and 6.61 Kg/min. The results showed that the best conditions for reducing moisture of 100 kg paddy to 13-15 percent were using 110 °C hot air at velocity of 11.1 m/s. Consider the loss of paddy rice during operation, there are 5 points of leakage accumulated to 12.38 percent. The most leakage position was at the belt conveying paddy from hot bed to cold bed (belt no.2). The efficiency of continuous fluidized bed dryer was 77.30 percent and the energy consumption, calculated from the electricity meter record was 33.31 baht/hr. In conclusion, this research has improved the operating procedure for proper paddy rice moisture content by decreasing lower hot air temperature from 120°C to 110°C.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64129
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kan_S_Se_2561.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.