Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64202
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรทิพย์ รอดทัศนา-
dc.contributor.advisorศศิธร พ่วงปาน-
dc.contributor.authorอริญชัย นิลสนธิ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-02-19T08:58:30Z-
dc.date.available2020-02-19T08:58:30Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64202-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561-
dc.description.abstractระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made ecosystem) เกิดจากแนวคิดในการสร้างพื้นที่สีเขียวทดแทนพื้นที่ธรรมชาติที่ลดลง การหมุนเวียนคาร์บอนและธาตุอาหารมีส่วนสำคัญทำให้ระบบนิเวศสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องพึ่งพาการจัดการของมนุษย์มากนัก การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาอิทธิพลของซากพืชที่ร่วงหล่นต่ออินทรียวัตถุในดินและสภาพดินในระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น 2 รูปแบบ คือ ไบโอโทป (Biotope) และป่านิเวศ (Ecoforest) ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นของทั้งสองระบบนิเวศ โดยในไบโอโทปมีปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นและซากพืชที่สะสมบนพื้นป่ารายเดือนมากกว่าในป่านิเวศ เนื่องจากมีองค์ประกอบด้านชนิดของพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกัน ขณะที่อัตราการย่อยสลายของซากพืชไม่แตกต่างกัน (0.007 กรัม/วัน) ในไบโอโทปพบว่าความสูงของชั้นซากพืชมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน และพบความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของชั้นซากพืชกับปริมาณอินทรียวัตถุในดินในเชิงบวก แต่ไม่พบความสัมพันธ์เหล่านี้ในป่านิเวศ นอกจากนี้เมื่อสิ้นสุดการศึกษาค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของดินลดลงจาก 1.56 เป็น 1.10 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตรและไม้ต้นในระบบนิเวศทั้งสองมีพื้นที่หน้าตัดลำต้นรวมเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.013 ตารางเมตร สรุปได้ว่าปริมาณซากพืชที่ร่วงหล่นมีอิทธิพลต่อปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่ช่วยปรับให้สภาพดินเหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืช แต่ระบบนิเวศทั้งสองมีกลไกทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกันขึ้นกับชนิดพันธุ์ไม้และวิธีการปลูก ดังนั้นเพื่อสร้างระบบนิเวศทดแทนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจึงต้องคำนึงถึงวิธีการปลูก และการจัดการที่เหมาะสมที่อาศัยหลักการทางนิเวศวิทยาen_US
dc.description.abstractalternativeA concept of man-made ecosystems was developed to increase urban green spaces as a compensation for natural area loss. Carbon and nutrient cycles are important processes that sustain man-made ecosystems with less required management. This study aims to investigate the influences of litterfall on soil organic matter and soil condition in two man-made ecosystems including Biotope and Ecoforest at Chachoengsao province. The results showed that precipitation was an important factor controlling litterfall quantity. There was greater monthly litterfall in Biotope compared to that of Ecoforest because of the different tree species compositons. While the average rates of litter decomposition in the wet season were not significantly different (0.007 g/day). There was a negative correlation of litter layer depth with soil organic matter and litter layer depth significantly correlated to soil organic matter in Biotope. However, these were not found in Ecoforest. Moreover, at the end of this study the average bulk density values in both man-made ecosystems decreased from 1.56 to 1.10 g/cm³ in average. In conclusion, litterfall quantity has an influence on soil organic matter that improves a suitable soil condition for plant growth. However, two different man-made ecosystems showed different ecological mechanisms according to tree species and planting methods. Therefore, a practical design, planting method and management are necessarily considered to build sustainable man-made ecosystems.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleอิทธิพลของซากพืชที่ร่วงหล่นต่ออินทรียวัตถุในดินและสภาพดินในระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นen_US
dc.title.alternativeEffects of accumulated litterfall on forest floor organic matter and soil conditions in two man-made ecosystemsen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorchadtip.r@chula.ac.th-
dc.email.advisorSasitorn.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arinchai_N_Se_2561.pdf18.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.