Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/643
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวภา เวชสุรักษ์-
dc.contributor.advisorอนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์-
dc.contributor.authorนิรมล เจริญหลาย, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-07T08:34:32Z-
dc.date.available2006-07-07T08:34:32Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741768532-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/643-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาชีวประวัติ และกระบวนท่ารำของครูทองเจือ โสภิตศิลป์เพื่อให้เห็นถึงประวัติผลงานรวมถึงกระบวนท่ารำลิเกที่มีความสมบูรณ์แบบที่ครูทองเจือ โสภิตศิลป์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูลิเกอาวุโส อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตามแบบของครูทองเจือ โสภิตศิลป์โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ การสัมภาษณ์ครูทองเจือ โสภิตศิลป์และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ลูกศิษย์ ผู้ร่วมแสดงในคณะ ผลการวิจัยพบว่าครูทองเจือ โสภิตศิลป์เป็นศิลปินที่มีความสามารถในด้านศิลปะการแสดงลิเกทั้งตัวพระเอก ตัวนางเอก ตัวกษัตริย์ และยังสามารถขับร้องเพลงไทยเดิม และเพลงออกภาษาที่ใช้ในการแสดงลิเกได้หลายเพลง ซึ่งเป็นเพลงที่หาฟังได้ยากในปัจจุบัน รวมทั้งผลงานด้านการประพันธ์ทั้งบทลิเกที่ใช้แสดง 68 เรื่อง และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการแสดงลิเกอีกมากมาย จากการศึกษากระบวนท่ารำพบว่า ครูทองเจือ โสภิตศิลป์ เป็นศิลปินลิเกที่อนุรักษ์กระบวนท่ารำที่รับสืบทอดมาจากศิลปินลิเกอาวุโสหลายท่าน ได้แก่ 1) กระบวนท่ารำเพลงเชิดตัวพระและตัวนาง ถือได้ว่าเป็นกระบวนท่ารำที่มีความสำคัญสำหรับตัวแสดงที่เป็นกษัตริย์ ใช้แสดงเป็นเพลงแรกเมื่อตัวละครขึ้นเวที 2) กระบวนท่ารำเพลงเสมอ ตัวพระและตัวนาง เป็นกระบวนท่ารำที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับเพลงเชิด แต่ใช้ประกอบการเดินทางในระยะทางใกล้ 3) กระบวนท่ารำเพลงโอด ตัวพระและตัวนาง ศึกษาพบลักษณะการรำที่เรียกว่า ดอกไม้ไหวเป็นลักษณะการรำสะดุ้งตัว ถือเป็นลักษณะเฉพาะที่สืบทอดจากครูเต็ก เสือสง่า 4) กระบวนท่ารำไม้รบไทย หรือไม้รบดาบ 5 ไม้ 5 กระบวนท่ารำไม้รบจีน หรือไม้รบทวน 7 ไม้ ซึ่งพบว่ากระบวนท่ารำบางท่า ลิเกคณะอื่นๆ ยังคงใช้แสดงอยู่ ส่วนลักษณะการแสดงกระบวนท่ารำไม้รบไทยและไม้รบจีนของครูทองเจือ โสภิตศิลป์ จะแสดงต่อเนื่องกันตั้งแต่ไม้รบที่ 1 ถึงไม้รบสุดท้าย ในแต่ละไม้รบจะมีกระบวนท่ารำหลัก 1 ท่าที่แตกต่างกันในแต่ละไม้และมีท่ารำเชื่อมที่เหมือนกันทุกไม้ ซึ่งกระบวนท่ารำเหล่านี้ไม่พบในการแสดงลิเกในปัจจุบัน ครูทองเจือ โสภิตศิลป์ เป็นทั้งนาฏยศิลปินและนักวิชาการ ที่มีบทบาทสำคัญอีกท่านหนึ่งต่อวงการลิเกในการอนุรักษ์และสืบทอดการแสดงพื้นบ้าน และสร้างสรรค์งานวรรณกรรมนาฏยศิลป์ให้เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยen
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying Life and Likay performance of Thongjure Sopitsin. In order to find out the history of his performance and Likay dance postures, which is completely perfect and unique style of Likay performance that Thongjure has received from older performers. The research methodology is based upon the documents, interviewing of Thongjure and others concerned which are his students and co-performers. The research found out that Thongjure Sopitsin is the capable artist in Likay performance. He is able to performed as a leading man, a leading lady and a king, not only that, he can sing traditional Thai songs and many wording songs that use when performing Likay, which the songs are now, hardly find to listening. Also, Including his article of Likay's stage play 68 chapter and a lot of issues that concerns with Likay performance. From the studying of Likay dance postures, Thongjure Sopitsin is a conservative artist which he received from older Likay artists such as 1) The dance posture of Cherd song, for male and female, is very important for the performer who performs as a king, it is the first song to use performance when the dance perform on stage. 2) The dance posture of Sa-mer song, also, is important as well as Cherd song but use in performance as traveling in short distance. 3) The dance posture of Oad song, found that performance called a "flower move", which dance posture is to shake body. This dance posture can indicate that descended from Tek Saer-sa-nga. 4) The dance posture of Thai fight stick or fighting sword 5 sets. 5) The dance posture of Chinese fight stick or fighting lances 7 sets, which found out that some of his Likay dance styles still use in some other groups of Likay performance. Here, Thongjure Sopitsin's performance character of dance posture of Thai fight stick and Chinese fight stick is to perform continuously from first set to the last. In each set there will be a main posture which is different from others and joining postures are the same is every set. These dance postures style have disappeared from the Likay performance, nowadays. Thongjure Sopitsin is an artist of dramatics, theatricals and expertise who is one of very important person for the Likay performance that conserves, descends the traditional performance and creates dramatics issues for Thai people and society.en
dc.format.extent65077865 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectทองเจือ โสภิตศิลป์en
dc.subjectลิเกen
dc.titleชีวประวัติและกระบวนท่ารำลิเกของทองเจือ โสภิตศิลป์en
dc.title.alternativeLife and Likay performance of Thongjure Sopitsinen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
niramol.pdf63.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.