Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64665
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.authorวิวัฒน์ เหล่าชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T05:04:32Z-
dc.date.available2020-04-05T05:04:32Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64665-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยแบบสหสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ การเสพติดบุหรี่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ กิจกรรมทางกาย ภาวะซึมเศร้า ความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ ความเข้มข้นของการช่วยเลิกสูบบุหรี่ ระดับการศึกษาทางโลก และระดับการศึกษาทางธรรมกับการเลิกสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ จำนวน 136 รูป ซึ่งสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 มวนต่อวัน ได้รับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม และได้รับการให้คำปรึกษาจากคลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลสงฆ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและ ข้อมูลเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ แบบประเมินการเสพติดบุหรี่ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ แบบประเมินกิจกรรมทางกาย แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามความเข้มข้นของการช่วยเลิกสูบบุหรี่และแบบสัมภาษณ์การเลิกสูบบุหรี่ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคอยู่ระหว่าง .68 - .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ Point-biserial correlations และสถิติ Chi-square ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อประเมินที่ 3 เดือน หลังได้รับคำแนะนำให้เลิกบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ 50 รูป (ร้อยละ 36.80) ระบุว่าเลิกสูบบุหรี่ได้ตลอด 7 วันที่ผ่านมา โดยพบว่าพระสงฆ์ในกลุ่มนี้มากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 66.0) มีแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ คือ เพื่อสุขภาพของตนเอง 2. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ การเสพติดนิโคติน การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ ความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ และกิจกรรมทางกาย ส่วนระดับการศึกษาทางโลก ระดับการศึกษาทางธรรม ภาวะซึมเศร้า และความเข้มข้นของการช่วยเลิกสูบบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive correlation study was to examine smoking cessation among Buddhist monks with non-communicable diseases and to study the relationships among nicotine dependence, self-efficacy, physical activity, depression, intention to smoking cessation, intensity of smoking cessation intervention, education and Dharma education, and smoking cessation. A total of 136 Thai Buddhist monks were purposively recruited for this study. Inclusion criteria included Thai Buddhist monks smoking at least 1 cigarette per day, having at least one non-communicable diseases related to smoking and having received counselling to quit smoking from health professionals. The research instruments comprised the demographic data form, the Fagerström test for Nicotine dependence, the Autonomy over smoking scale, the Self-Efficacy for smoking cessation, Thai version of short format International Physical activity questionnaire, the Center for epidemiological Studies-depression scale, the Intensity of smoking cessation intervention questionnaire, and the Quit smoking questionnaire. All questionnaires were assessed for content validity by a panel of experts and the Cronbach's alpha coefficients ranged from .68 - .93. Data were analyzed using Point-biserial correlations and Chi-square. The study findings were as follows: 1. Fifty Thai Buddhist monks (36.80%) reported 7-day point prevalence abstinence at 3-month follow-up. About two-thirds of the participants (66.0%) indicated health concern as motivation to quit smoking. 2. Nicotine dependence, self-efficacy for smoking cessation, physical activity, and intention to quit smoking were significantly related to smoking cessation among Buddhist monks with non-communicable diseases. However, education, Dharma education, depression and intensity of smoking cessation intervention were not related to smoking cessation among these participants.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1021-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการเลิกบุหรี่-
dc.subjectสงฆ์-
dc.subjectSmoking cessation-
dc.subjectPriests, Buddhist-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการเลิกสูบบุหรี่ในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคไม่ติดต่อ-
dc.title.alternativeSelected factors relating to smoking cessation among buddhist monks with non communicable diseases-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1021-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077312236.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.