Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64666
Title: ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศ
Other Titles: Factors predicting human papillomavirus vaccination intention among men who have sex with men receiving sexual health services
Authors: สุจิตรา หัดรัดชัย
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Ratsiri99@Gmail.com
Subjects: รักร่วมเพศชาย
ทวารหนัก -- โรค
ทวารหนัก -- มะเร็ง
Male homosexuality
Anus -- Diseases
Anus -- Cancer
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศ จากปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV ความคาดหวังผลลัพธ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การควบคุมตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การรับรู้สถานการณ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศ ในสถานบริการสุขภาพ 3 แห่ง ในกรุงเทพมหานครที่มีบริการสุขภาพทางเพศให้กับชายรักชาย จำนวน 140 คน อายุ 18-40 ปี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV แบบสอบถามความคาดหวังผลลัพธ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการควบคุมตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการรับรู้สถานการณ์ในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และแบบสอบถามความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1.00, .87, 1.00, 1.00, 1.00 และ1.00 ตามลำดับ และมีค่าสัมประสิทธิ์ KR-20 และครอนบาคแอลฟาเท่ากับ .82, .81, .81, .94, .94 และ.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศในสถานบริการสุขภาพมีค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV อยู่ในระดับสูง (mean=11.39, SD=2.39)  2) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (Beta=.419) การรับรู้สถานการณ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (Beta=.231) และความรู้เกี่ยวกับเชื้อ HPV (Beta=.148) สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ของชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศได้ ร้อยละ 40.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 สำหรับปัจจัยความคาดหวังผลลัพธ์การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และการควบคุมตนเองในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ไม่สามารถร่วมทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในชายรักชายที่มารับบริการสุขภาพทางเพศได้ (p>.05) ผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ให้กับชายรักชายเพื่อลดอุบัติการณ์ของมะเร็งปากทวารหนักต่อไป            
Other Abstract: This descriptive predictive research aimed at identifying significant predictors of human papillomavirus vaccination intention among men who have sex with men (MSM) receiving sexual health services from five factors: HPV knowledge, outcome expectations, self - efficacy to get HPV vaccine, self - control to get HPV vaccine and situational perception. Subjects were 140 MSM who came to receiving sexual health services from 3 places in Bangkok using convenience sampling technique. Data were collected using HPV knowledge questionnaire, outcome expectations questionnaire, self - control to get HPV vaccine questionnaire, situational perception questionnaire, self - efficacy to get HPV vaccine questionnaire, and the intention to take HPV vaccine questionnaire. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of experts. Their CVIs were 1.00, .87, 1.00, 1.00, 1.00, and 1.00, respectively. Their KR-20 =.82 and Cronbach’s alpha coefficients were .81, .81, .94, .94, and .90, respectively. Data were analyzed using stepwise multiple regression. The results revealed that: 1) The mean score of intention to take HPV vaccine was at high level (mean=11.39, SD=2.39).  2) Self - efficacy to get HPV vaccine (Beta=.419), situational perception (Beta=.231), and HPV knowledge (Beta=.148) were significant predictors of intention to take HPV vaccine among MSM receiving sexual health services. These significant predictive variables accounted for 40.1% of the total variance in intention to take HPV vaccine (p<.05). However, outcome expectations and self - control to get HPV vaccine could not significantly predict intention to take HPV vaccine (p>.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64666
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1023
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1023
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077316836.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.