Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64757
Title: ผลการใช้กลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Effects of using analogy strategy incorporated with 5e learning cycle on analytical thinking ability and chemistry learning achievement of upper secondary school students
Authors: รัตนเกล้า ประดิษฐ์ด้วง
Advisors: ปริณดา ลิมปานนท์ พรหมรัตน์
พร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Parinda.L@Chula.ac.th
Prompong.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้กลยุทธ์ด้วยแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 53 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเที่ยงฉบับก่อนเรียนเท่ากับ 0.64 ฉบับหลังเรียนเท่ากับ 0.67  และ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.46 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การศึกษาพัฒนาการ (normalized gain) และขนาดของผล (effect size) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This study was quasi-experimental research using a two-group pretest-posttest design. The purposes of this study were to (1) compare the students’ analytical thinking ability before and after learning by using analogy strategy incorporated with 5E learning cycle (2) compare the students’ analytical thinking ability between a group learning with analogy strategy incorporated with 5E learning cycle and another group learning with 5E learning cycle and (3) compare the students’ chemistry learning achievement between a group learning with analogy strategy incorporated with 5E learning cycle and another group which learning by 5E learning cycle. The population was upper secondary students of large schools in Bangkok. The sample was 100 of twelfth-grade students consisting of the experimental group with 53 students and the control group with 47 students. This research was conducted in the first semester of the academic year 2019 for 7 weeks. The research instruments were analytical thinking ability test with reliability at 0.64 for pretest, at 0.67 for posttest and chemistry learning achievement test with reliability at 0.46. The collected data was analyzed using the arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, independent sample t-test, and dependent sample t-test. The study revealed that:  1. After learning by using an analogy strategy incorporated with the 5E learning cycle, students had an average score of analytical thinking ability higher than before learning at a 0.5 level of significance. 2. Students who learned by using analogy strategy incorporated with the 5E learning cycle had an average score of analytical thinking ability higher than those who learned by the 5E learning cycle at a 0.5 level of significance. 3. Students who learned by using analogy strategy incorporated with the 5E learning cycle had an average chemistry learning achievement score higher than those who learned by the 5E learning cycle at a 0.5 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64757
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.747
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.747
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983405427.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.